EN / TH

อีซูซู ส่งเครื่องดีเซล 2.2 ลุยตลาด

20 พฤศจิกายน 2567

เช็ครายค่ายมหกรรมยานยนต์ 2024(1)

17 พฤศจิกายน 2567

วิเคราะห์เครื่องยนต์ใหม่ ISUZU คาด..ยังไม่ทิ้งเครื่อง 1.9 และ 3.0 เพราะ..?

16 พฤศจิกายน 2567

GEELY Holding ซื้อหุ้น ZEEKR เพิ่ม..ปรับโครงสร้างการบริหาร มองการแข่งขันระยะยาว

16 พฤศจิกายน 2567

เวียตนาม ส่งออกเข้าไทย"สัญญาณเตือนครั้งใหญ่" หากรัฐไม่ตื่นมีล่ม

9 พฤศจิกายน 2567

ไทยยานยนตร์เปิดตัวคาราเวล Comfortline NGZ

8 พฤศจิกายน 2567

ฮอนด้า ยืนราคา เอชอาร์-วีอี:เอชอีวี รุ่นไมเนอร์เชนจ์

8 พฤศจิกายน 2567

จูนเหยา แอร์ ดึงมือดีเอ็มจี นั่งหัวเรือบุกตลาดไทย

7 พฤศจิกายน 2567

เปิดวาร์ป 4 แบรนด์น้องใหม่ค่ายจีนบุกไทยปลายปี

6 พฤศจิกายน 2567

จูนเหยา แอร์ บุกตลาดอีวีไทย

5 พฤศจิกายน 2567

โตโยต้าจับมือซูซูกิ ส่งรถยนต์SUVไฟฟ้าโต้ค่ายจีน

4 พฤศจิกายน 2567

เผยโฉมแล้วดีแมคซ์"เบลด"ใหม่ ฉายาแรพเตอร์ คิลเลอร์

29 ตุลาคม 2567

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า บทความ

MAZDA ก้าวข้ามอีวีด้วยพันธมิตรจีน

16 เมษายน 2567| จำนวนผู้เข้าชม 1,050

 

มาสด้า กำลังสร้างเส้นทางใหม่ที่มั่นคงและยั่งยืน ด้วยการเร่งสปีดการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้รถยนต์ในยุคปัจจุบัน ที่ผ่านมามาสด้าได้รับการยอมรับด้านความเป็นเลิศในการออกแบบและประสิทธิภาพขับเคลื่อนซึ่งแคมเปญ Zoom Zoom ยังคงเป็นภาพจำของรถยนต์มาสด้าทั่วโลกเมื่อมองไปในอนาคต

 

มาสด้ามุ่งหวังที่จะเป็นผู้นำในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าเช่นเดียวกับผู้ผลิตรถยนต์ระดับโลกอื่นๆ แม้ว่าคู่แข่งในกลุ่มรถพลังงานใหม่ได้ผ่านจุดเริ่มต้นไปสู่เป้าหมายระยะกลางกันแล้ว แต่มาสด้าเริ่มช้าๆ จนเกือบถูกลืมไปว่า ยังมีมาสด้าอยู่ในตลาดรถยนต์ไฟฟ้า

 

ในปัจจุบันเมืองหลวงของโลกยานยนต์ได้ย้ายจากยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น ไปสู่จีนดังนั้นกระบวนการพัฒนาต่างๆในจีนจึงเป็นสิ่งสะท้อนความเป็นไปในอนาคตของทุกค่าย ในจีนนั้นมีแบรนด์รถยนต์ญี่ปุ่นเข้าไปทำตลาดมากมายแต่หลังจากที่จีนแข็งแกร่งอย่างมากหลังปี 2000 เป็นต้นมา แบรนด์ญี่ปุ่นเหล่านั้นก็ประสบปัญหาในประเทศจีน โดยเฉพาะปัญหาจากการขาดแคลนโปรดักซ์ที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งเป็นตลาดใหม่ ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นบางราย เช่น มิตซูบิชิ และซูซูกิ ได้ตัดสินใจละทิ้งตลาดจีนไป ส่วนบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง เช่น โตโยต้า มีกลยุทธ์ที่แตกต่างออกไป โดยโตโยต้าและอีกหลายค่ายบอกว่า "หากคุณไม่สามารถเอาชนะพวกเขาได้ ก็เข้าร่วมกับพวกเขา" โตโยต้า จึงพัฒนารถไฟฟ้า รุ่น bZ3 ใหม่ จากการร่วมทุนกับค่ายรถ FAW และใช้มอเตอร์และแบตเตอรี่ จากค่าย BYD

 

สำหรับมาสด้า มีกิจการร่วมค้ากับ ฉางอาน ออโตโมบิล นานมาแล้ว อย่างไรก็ตาม มาสด้า-ฉางอาน มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกันเพียงคันเดียวเท่านั้น คือรุ่น CX-30 EV ซึ่งก็ขายช้ามาก ล่าสุดมีรายงานข่าวว่า ในงานปักกิ่ง ออโต้โชว์ 2024 (Beijing Auto Show2024) จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ระหว่างมาสด้ากับฉางอาน โดยมาสด้าจะเปิดตัวรถซีดานรุ่นใหม่ที่ติดตั้งขุมพลังทั้งรถยนต์ไฟฟ้า( EV) และ EREV-Extended Range Electric Vehicle หรือรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าเป็นหลัก แต่มีเครื่องยนต์เบนซินหรือเครื่องยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้สามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมให้แก่แบตเตอรี่ รถซีดานดังกล่าว รายงานระบุว่าจะ ใช้แพลตฟอร์ม EPA1 ของ ฉางอาน ซึ่งเป็นพื้นฐานของรถซีดาน ดีพอล (Deepal) SL03 และรถรถตรวจการณ์ (SUV) Deepal S7

 

 

สำหรับรถเก๋งใหม่ของมาสด้า จะใช้รหัสชื่อ J90A ถือได้ว่าเป็นผู้สืบทอดมรดกจากรถเก๋ง Mazda6 มีรายงานว่า มาสด้าได้ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 2 รายการในจีน ได้แก่ Mazda EZ-6 และ Mazda EZ-60 ในกรณีนี้คาดว่า ระหัส EZ-6 น่าจะเป็นรถซีดาน และ EZ-60 น่าจะเป็น SUV ในเรื่องของไทม์ไลน์มีรายงานว่าในปี 2568 ฉางอาน-มาสด้า จะเปิดตัวมาสด้าใหม่เพิ่ม 1 รุ่น โดยใช้แพลตฟอร์มของฉางอานรหัส J90K คาดว่าจะเป็นรถซีดานระดับไฮเอนด์ที่จะวางตำแหน่งเหนือ J90

 

ในปี 2569 ฉางอาน-มาสด้า จะเปิดตัวรถยนต์ใหม่อีก 2 คัน โดยจะใช้แพลตฟอร์มฉางอานอีกครั้ง โดยคันหนึ่งจะเป็น SUV ดังนั้นภายในปี 2569 มาสด้าจะมีรถจำหน่ายรถยนต์ โดยใช้แพทฟอร์มจากฉางอานอย่างน้อย 4 คันในจีน เป็นที่น่าสังเกตุว่า 10 ปีที่แล้วฉางอานเป็นผู้ที่ใช้แพทฟอร์มเก่าของมาสด้าทำตลาดรถยนต์ ราคาประหยัด แต่ล่าสุด ฝ่ายการตลาดของมาสด้า ได้ปล่อยภาพทีเซอร์ของรถยนต์รุ่นใหม่ J90A ที่มีสัดส่วนใกล้เคียงกับดีพอล SL03ในอนาคตเราอาจจะได้เห็นมาสด้า ฉางอานวิ่งในเมืองไทยเรา

 

ต้องติดตามกันว่า ความร่วมมือระหว่างมาสด้ากับพันธมิตร มาสด้าจะยังคงรักษาคุณภาพและความเป็นตัวตนของตนเอง และก้าวข้ามไปในอนาคตด้วยความเร็วและความก้าวหน้าที่ไม่เหมือนใครได้หรือไม่

 

บทความโดย: ยุทธพงษ์ ภาษี


แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

วิเคราะห์เครื่องยนต์ใหม่ ISUZU คาด..ยังไม่ทิ้งเครื่อง 1.9 และ 3.0 เพราะ..?

16 พฤศจิกายน 2567

เวียตนาม ส่งออกเข้าไทย"สัญญาณเตือนครั้งใหญ่" หากรัฐไม่ตื่นมีล่ม

9 พฤศจิกายน 2567

BYD ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าตลาดรถไทย และบทเรียนของผู้เร่งซื้อBEV

3 กรกฏาคม 2567

ซูซูกิ ปิดโรงงานนัยยะแฝงที่มากกว่าหยุดผลิต

7 มิถุนายน 2567

ผ่าเนื้อในรถยนต์ไทย ทำไมร่วงเละ ไตรมาส 2 ยังไร้แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

7 พฤษภาคม 2567

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 เมษายน 2567

เจาะลึกช่วงล่างเบื้องหลังความดุดันบนทุกเส้นทางของ Ford Ranger Raptor

1 มีนาคม 2567

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 3: ไม่แถมไม่แจก Scarcity Strategy กระบะ TFR ประสู่ยุคทอง

16 มกราคม 2567

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว+

ยอมรับ