EN / TH

ข่าวร้ายส่งท้ายปี รง.เนต้าไทย เลิกจ้าง" เมื่อบริษัทแม่อ่อนแอ บริษัทลูกขาดอากาศหายใจ"

26 ธันวาคม 2567

กระหึ่มโลก ฮอนด้า นิสสัน มิตซูบิชิ ตกลงผนวกกิจการ

24 ธันวาคม 2567

ฮอนด้า นิสสัน เจรจาควบรวมกิจการ

18 ธันวาคม 2567

MOTOR EXPO 2024 ปิดฉากสวยยอดจองกว่า 5 หมื่นคัน

11 ธันวาคม 2567

สำรวจหน้างาน มหกรรมยานยนต์เวทีร้อน โปรฉ่ำลุ้นยอดก่อนปิดงาน

6 ธันวาคม 2567

โฟตอน มอเตอร์ ผนึก คัมมินส์ เปิดโรงงานเครื่องยนต์ในไทย

6 ธันวาคม 2567

เปิดสเปค กระบะโพเออร์ ซิงเกิลแคป ดีเซลตัวแรกบุกไทย

5 ธันวาคม 2567

เนต้า ส่งสาส์นสร้างความมั่นใจ หลังหนานหนิงฯเข้าถือหุ้นใหญ่

3 ธันวาคม 2567

เปิดสเปก กระบะไฟฟ้า FOTON eTUNLAND หนึ่งชาร์จวิ่ง 350 กิโลเมตร

1 ธันวาคม 2567

โตโยต้า ส่ง GR ซีรี่ส์ เจาะตลาดเก๋งสมรรถสูง

30 พฤศจิกายน 2567

อีซูซุยกขบวนยนตรกรรมโชว์ขุมพลังดีเซล2.2L แห่งอนาคต 

30 พฤศจิกายน 2567

มาสด้า เปิดตัวกระบะ BT-50 ดีเซล 2.2

29 พฤศจิกายน 2567

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า บทความ

ข่าวร้ายส่งท้ายปี รง.เนต้าไทย เลิกจ้าง" เมื่อบริษัทแม่อ่อนแอ บริษัทลูกขาดอากาศหายใจ"

26 ธันวาคม 2567| จำนวนผู้เข้าชม 149

"เนต้าไม่ใช่ค่ายใหญ่ เนต้าไม่ใช่ค่ายที่มีรากเง่า วิศวกรรมยานยนต์ ไม่ได้รับแรงบันดาลใจด้านรถยนต์โดยตรงหรือเกิดเพราะเพนพอยท์ด้านยานยนต์ เนต้าเป็นเพียงสต๊าทอัพด้านซอฟแวร์ที่เล็งเห็นโอกาส เข้าสู่
อุตสาหกรรมรถยนต์ที่เปลี่ยนแปลงสู่พลังงานใหม่ เนต้าจึงเป็นแค่รถจีน ผู้ถูกขจัดโดยรถจีนที่แข็งแกร่งกว่า

Neta (หรือ Nezha Auto)หนึ่งในแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าจีนที่ได้รับความนิยมในช่วงแรกของการเติบโตของตลาด EV ในจีน แต่ในปัจจุบันเผชิญความท้าทายที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะในตลาดจีนที่มีการแข่งขันสูง การขยายตลาดระหว่างประเทศ เช่น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในระยะสั้นได้เพิ่มภาระต้นทุนโดยไม่สร้างรายได้มากเพียงพอ ทำให้มีรายงานการขาดทุนต่อเนื่องหลายปี การที่เนต้ามีปัญหาทางการเงินในจีนในที่สุดก็ส่งผลกระทบต่อแผนธุรกิจและการลงทุนในไทยอย่างชัดเจน และนำมาซึ่งบททดสอบที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่า เนต้าจะไปต่อหรือหยุดแค่นี้

เมื่อวันนี้ 25 พ.ย.2567 -รายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจในเครือเนชั่น ระบุว่า โรงงานผลิตเนต้า ที่นิคมบางชัน เตรียมปลดพนักงาน 400 คน หลังจากยอดขายร่วง 45.8 % สำหรับโรงงานประกอบรถยนต์บางชัน เยนเนอเรล เอเซมบลี เป็นโรงงานที่รับจ้างผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้เนต้า แม้ว่า เนต้า ออโต้ ไทยแลนด์ จะยืนยันว่าไม่มีพนักงานของตนเองถูกเลิกจ้างอย่างไรก็ตาม แต่ปฏิเศษไม่ได้ว่า การที่บางชันเลิกจ้างSub-contractor (พนักงานบริการรับจ้างเหมาแรงงาน) จำนวนมากถึง 400 ตำแหน่งนั้น  ย่อมส่งผลต่อความสามารถในการผลิตเพราะ Sub-contractor เหล่านั้นแม้ไม่ใช่คนของเนต้าโดยตรงแต่ เขาก็ทำให้งานเพื่อให้เนต้ามีผลผลิตป้อนตลาด  ดังนั้น การลดคนงานของบางชันฯ จึงสะท้อนความจริงที่ว่า ยอดผลิตเนต้า จะต้องลดลง และไม่มีข้ออ้างใดๆ เกี่ยวกับการใช้หุ่นยนต์เพราะโรงงานเพิ่งเปิดสายการผลิตได้ 9 เดือนนั้นหากจะใช้หุ่นยนต์มาร่วมผลิตต้องวางระบบตั้งแต่แรกแล้ว

จากยอดขายเนต้า 11 เดือน(ม.ค.-พ.ย.67) ลดลง 45.8 % อย่างไรก็ตามยอดขายของเนต้าในไทย
มีอัตราลดลงมาก อาจเกิดจาก ตัวเลขฐานลูกค้าที่เติบโตมากในช่วง 2 ปีแรกที่เนต้า ส่งรถราคาถูกเข้าตลาด ซึ่งในขณะนั้นเนต้า คือ ผู้จำหน่ายรถที่มีราคาประหยัดที่สุดในตลาดและเศรษฐกิจของประเทศภาพรวมยังมีความผันผวนไม่รุนแรง ประกอบกับตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเป็นตลาดเกิดใหม่ ความต้องการจึงมีมาก ข่าวการปลดคนงานของบางชันฯ ต้องยอมรับว่า เป็นไปในแนวทางเดียวกับรายงานก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า โฮซอน ออโต้ บริษัทแม่ของ บริษัท เนต้า ออโต้ (ไทยแลนด์) จำกัด กำลังปรับโครงสร้างทางธุรกิจ จากปัญหาปัญหาขาดสภาพคล่องจนต้องหยุดสายการผลิตที่โรงงานเจ้อเจียง ประเทศจีน ซึ่งเป็นโรงงานหลัก


เนต้า ออโต้ (ไทยแลนด์) จำกัด เดินสายการประกอบรถแบบ CKD ที่ บางชันเยนเนอเรลเอเซมบลีเป็นที่แรกของโลกที่อยู่นอกประเทศจีน
โดยในปี 2566 บริษัท เนต้า ออโต้ (ไทยแลนด์) จำกัด ได้ร่วมมือกับ บางชันเยนเนอเรลเอเซมบลี ของตระกูลจึงสงวนพรสุข เปิดสายการผลิต Neta VII เป็นรุ่นแรก (เร่มส่งมอบรถ CKD เมื่อเมษายน 2567) หลังจากผ่านไป 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.67) เนต้า ทำยอดขายจากรถยนต์ไฟฟ้า EV 2 รุ่นคือ Neta V Neta VII และ Neta X รวมกันได้ 6,534 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 1.3% มีอัตราการเติบโตของยอดขายลดลง 45.8 % เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว


ในขณะที่ ฐานเศรษฐกิจยังรายงานว่า ดีลเลอร์เนต้า หลายรายได้บอกเลิกสัญญาเพื่อย้ายไปขายรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์อื่นส่วนหนึ่งมาจากยอดขายที่ลดลงและการบริหารจัดการสต๊อก ที่เนต้า ออโต้ ไทยแลนด์ ผลักดันให้ดีลเลอร์รับภาระอีก ทั้งจ่ายอินเทนซีฟ ให้ดีลเลอร์เป็นรถยนต์แทนเงิน อีกด้วย


ภาพลวงตา
เนต้า เน้นทำตลาดในกลุ่มลูกค้าระดับเริ่มต้น (entry-level EV) ซึ่งเป็นตลาดสำคัญในไทย ดูเหมือนเริ่มเป็นกลุ่มลูกค้าที่ได้รับกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจเป็นกลุ่มแรกๆ ในขณะที่ข้อมูลของเนต้าที่พูดถึงตัวเอง เผยแพร่ต่อสื่อมวลชนยังคงมีแต่ภาพสวย ทั้งที่ในเวลานี้สื่อจีนต่างออกมา รายงานถึงความตกต่ำของเนต้า จำนวนมาก สำหรับข้อมูลที่เนต้า เผยแพร่ในไทย คือ NETA AUTO เป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์อัจฉริยะพลังงานใหม่ที่ให้บริการในตลาดมวลชนทั่วโลก โดยเป็นแบรนด์ภายใต้บริษัท Hozon New Energy Automobile จำกัด (Hozon) ในฐานะผู้ผลิตนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะชั้นนําของอุตสาหกรรม ด้วยมาตรฐานคุณภาพระดับสากลและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย

บริษัทฯ มุ่งเน้นปรัชญาในการ “สร้างการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียมสําหรับทุกคน” และการ “สร้างยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะที่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของได้”ปัจจุบันมีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ทำตลาดรวม 5 รุ่น ได้แก่ NETA GT, NETA S, NETA X, NETA V-II และ All-New NETA L โดยมียอดจำหน่ายรถยนต์รวมกว่า 400,000 คัน อีกทั้งยังอยู่ในกลุ่มบริษัทรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ที่มียอดขายที่เติบโตสูงอย่างต่อเนื่องในตลาดรถยนต์ประเทศจีน โดยในปี 2564 ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่เติบโตสูงสุดในกลุ่มบริษัทรถยนต์เกิดใหม่ หรือ สตาร์ทอัพ และในปี 2566 ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่มียอดการจำหน่ายในต่างประเทศสูงสุดในกลุ่มบริษัทสตาร์ทอัพในจีน ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ขยายธุรกิจสู่ตลาดประเทศไทยในปี 2565 ในนามบริษัท เนต้า ออโต้ (ไทยแลนด์) จำกัด โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนไทยได้เป็นเจ้าของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่มาพร้อมนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ผสานเทคโนโลยีล้ำสมัยในราคาที่ทุกคนเป็นเจ้าของได้ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กรคือ“สรรสร้างนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า…เพื่อทุกคน”


โซนอันตราย
สิ่งที่น่าสนใจคือ สถานการณ์ของเนต้า นั้นไม่ได้เกิดปัญหาเฉพาะการลดลงของยอดขายในไทย แต่เนต้าไม่สามารถขายรถแข่งขันได้กับ ค่ายรถจีนด้วยกันเองในแดนแม่สื่อจีนรายงานอย่างตรงไปตรงมาว่าเนต้า อยู่ระหว่างการหาเงินทุน แม้ว่าจะได้มาจากการโอบอุ้มของรัฐบาลท้องถิ่นหนานหนิง เพื่อฟื้นฟูสายการผลิตหลักในจีนเป็นการเร่งด่วนก็ตาม แต่ตลาดของเนต้าในจีนก็ตกต่ำมากท่ามกลางภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ส่งผลต่อแบรนด์รถยนต์เกิดใหม่อย่างเนต้าไม่สามารถทนทานต่อไปได้ เนต้าจีนจึง เข้าสู่โซนอันตรายมาระยะหนึ่งแล้ว และถ้าดูจากรายงานของบรรดาสื่อในจีนได้กล่าวถึงความล้มเหลวของยอดขายของแบรนด์รถยนต์พลังงานใหม่ที่เกิดจากสต๊าทอัพ ซึ่งเนต้าเป็นหนึ่งในแบรนด์เหล่านี้ที่ไม่สามารถทำยอดขายและดำเนินธุรกิจ
ให้เป็นไปตามเป้าหมายได้

เมืองแม่เคลื่อนไหวเร่งผลิต
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม เว็บไซต์ Gasgoo ได้รายงานว่า  การผลิตชุดเล็กของเนต้าในจีนได้ทะยอยกลับมาดำเนินการต่อ เพื่อคำสั่งซื้อจากต่างประเทศหลายร้อยรายการ เตรียมจัดส่งเป็นที่เข้าใจกันว่า ที่งานมหกรรมยานยนต์ 2567 
เมืองทองธานี ที่เพิ่งจบไป เนต้า ได้รับคำสั่งซื้อ 2,016 คัน ซึ่งถือเป็นแถวหน้าของรถยนต์พลังงานใหม่ในตลาดไทย ข่าวข้างต้นถือเป็นข่าวที่น่าตื่นเต้นอย่างไม่ต้องสงสัยสำหรับเนต้าในปัจจุบัน มีรายงงานว่า เนต้า กำลังสำรวจตลาดต่างประเทศอย่างแข็งขัน เช่นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2567 เนต้า ประกาศว่าเพิ่งลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับ PT Luxury Trans Indonesia ซึ่งเป็นบริษัทท่องเที่ยวด้วยรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำในอินโดนีเซีย เพื่อสร้างความสัมพันธ์เชิงลึกอย่างเป็นทางการ นี่เป็นหลักชัย สำคัญสำหรับทั้งสองฝ่ายในการสนับสนุน การเปิดตัวโซลูชั่นการขนส่งที่สะอาดและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในอินโดนีเซีย ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤศจิกายน เนต้า พันธมิตร PT Surya Mobil Abadi ได้เปิดตัวตัวแทนจำหน่าย ในพื้นที่ ของPluit ซึ่งตั้งอยู่ในจาการ์ตาตอนเหนือ ถือเป็นสาขาที่ 11

ความหวังที่ไทยหัวใจ EVอาเซียน
ความอ่อนแอของเนต้าได้ทำให้ต้องเผชิญปัญหาของลูกค้า ที่เกิดจากสาเหตุบางอย่างที่ทำให้ลูกค้าไม่ชอบหรือทำให้ใช้ชีวิตลำบากขึ้น จนทำให้ลูกค้าต้อง แก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยตัวเอง เช่น ปัญหาทางด้านวิศวกรรมซึ่งฝ่ายเทคนิคของเนต้า ยังไม่สามารถนำไปแก้ไขในระดับ OEMได้ รวมถึง การซื้อสินค้าหรือใช้บริการบางอย่างที่ยังไม่สมบูรณ์ การที่เนต้าประสบปัญหาในการดำเนินงาน เช่นนี้ ได้ส่งผลต่อตลาดไทยในหลายแง่มุม โดยเฉพาะเรื่องความเชื่อมั่นในคุณภาพ การบริการหลังการขาย ของรถยนต์สัญชาติจีนโดยรวม และในส่วนของแบรนด์เนต้าเอง ซึ่งในระยยาว การจะฟื้นความเชื่อมั่นในแบรนด์นั้นกลับมายากมาก ซึ่งจุดยืนของเนต้าจะเหมือนกับจุดยืนของค่ายรถยนต์จีนทั่วไปคือ มีจุดเด่นในด้านเทคโนโลยีและราคา
ที่คุ้มค่า แต่การจะประสบความสำเร็จในตลาดไทย จำเป็นต้องมีการสร้าง สร้างความน่าเชื่อถือทุกมิติ  สำคัญกว่านั้นคือ กรณีเนต้าได้ทำให้ผู้บริโภคไทยได้บทเรียนเพื่อรู้ว่า การยอมรับแบรนด์ใหม่ๆ เร็วเกินไป โดยไม่ดูให้ดีมีผลเสียมากกว่าผลดีที่ได้ในระยะสั้นๆ

 


แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

วิเคราะห์เครื่องยนต์ใหม่ ISUZU คาด..ยังไม่ทิ้งเครื่อง 1.9 และ 3.0 เพราะ..?

16 พฤศจิกายน 2567

เวียตนาม ส่งออกเข้าไทย"สัญญาณเตือนครั้งใหญ่" หากรัฐไม่ตื่นมีล่ม

9 พฤศจิกายน 2567

BYD ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าตลาดรถไทย และบทเรียนของผู้เร่งซื้อBEV

3 กรกฏาคม 2567

ซูซูกิ ปิดโรงงานนัยยะแฝงที่มากกว่าหยุดผลิต

7 มิถุนายน 2567

ผ่าเนื้อในรถยนต์ไทย ทำไมร่วงเละ ไตรมาส 2 ยังไร้แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

7 พฤษภาคม 2567

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 เมษายน 2567

MAZDA ก้าวข้ามอีวีด้วยพันธมิตรจีน

16 เมษายน 2567

เจาะลึกช่วงล่างเบื้องหลังความดุดันบนทุกเส้นทางของ Ford Ranger Raptor

1 มีนาคม 2567

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว+

ยอมรับ