จำนวนการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าล้วน (BEV)ในปี 2567 อยู่ที่ 68936 คัน ลดลง 9.67 % จากปี 2023 ที่มีรวม 76,314 คัน ในบรรดาแบรนด์ที่ขายดีที่สุด 10 อันดับแรก มี 7 แบรนด์ที่เป็นแบรนด์จีนโดยมีค่ายรถยนต์ ไฟฟ้า ขายดี 10 อันดับแรกได้แก่
1.BYD มียอดขาย 27,021 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 39.2 %
2.MG มียอดขาย 9,080 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 13.2%
3 NETA 7,969 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 11.6%
4 CHANGAN มียอดขาย 5,902 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 8.6%
5 AION มียอดขาย 5,184 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด7.5%
6 TESLA มียอดขาย 4,120 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 6%
7 ORA มียอดขาย 3,231 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 4.7%
8 VOLVO มียอดขาย 1,662 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 2.4%
9 BMW มียอดขาย 1,485 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 2.2%
10 WULING มียอดขาย 711 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 1%
BYD ยังคงเป็นรถยนต์ไฟฟ้ายอดนิยม สามารถครองอันดับหนึ่งในด้านยอดขายตลอดทั้งปี โดยมีส่วนแบ่งการตลาด 39.2% ทั้งนี้BYD เริ่มเปิดรถในเดือนตุลาคม 2565 และเริ่มส่งมอบ Atto 3 ในประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน ทำให้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 BYD ครองแชมป์ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า ในประเทศไทยเป็นเวลาอย่างน้อย 18 เดือน ปัจจุบัน รถยนต์ไฟฟ้า 1 ใน 3 คันที่จำหน่ายในประเทศไทยมาจาก BYD
ส่วนอันดับ 2. ได้แก่ เอ็มจี (MG) เป็นรถที่มีพื้นฐานเข้าตลาดไทยด้วยรถเครื่องยนต์สันดาปภายในก่อนจะขยายตลาดรถยนต์ไฟฟ้า MGได้รับการยอมรับในแง่ของ ความคุ้มค่าและการมีเครือข่ายที่แข็งแรง รวมถึงมีลูกค้าเก่าเป็นฐานตลาดจำนวนมากอย่างไรก็ตาม รถไฟฟ้าของเอ็มจีก็ได้รับความนิยมรุ่นขายดีได้แก่ เอ็มจี 4 อิเลคทริค
ค่ายที่ 3 ได้แก่ค่าย เนต้า ซึ่งเคยเป็นผู้นำตลาดก่อนหน้า BYD จะเข้าตลาด เนต้ายังคงได้รับการยอมรับแม้ว่าจะมีข่าวร้ายของบริษัทแม่ เกี่ยวกับปัญหาการเงินสาเหตุที่เนต้ายังเป็นที่นิยมเนื่องจาก เนต้าทำตลาดรถแบบแมส มีระดับราคาไม่สูงมากนักทำให้ผู้บริโภคที่ต้องการรถยนต์ไฟฟ้า เป็นเจ้าของได้ง่าย
อันดับ 4. คือ ฉางอานมียอดขายเป็นอันดับ 4 คือ 5902 คัน ฉางอาน มีรถยนต์ 2 แบรนด์ในตลาดคือ ดีพอล กับ ลูมิน รถที่ได้รับความนิยมมากสุดคือ DEEPAL S07 รถครอสโอเวอร์ ขนาดใหญ่ ราคา 1.39 ล้านบาท
อันดับ 5.ได้แก่ ไอออน ซึ่งทำได้ 5184 คันและครองตลาด7.5% รถยอดนิยมได้แก่ ไอออน Y Plus ที่มียอดขายรวมเกือบ 4 000 คันในขณะที่ไอออน ยังได้ส่วนแบ่งตลาดรถแทกซี่และรถนั่งเชิงพาณิชย์ ที่ทำยอดไปได้รวม H1088 คัน ส่วนแบรนด์ HYPTEC ที่มีเอกลักษ์ ประตูปีกนก ทำยอดรวมได้ 222คัน
ทั้งนี้ แบรนด์รถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น เช่น ฮอนด้า โตโยต้า นิสสัน ยังไม่สามารถครองส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในไทยได้ โดยในปี2567 ที่ผ่านมา โตโยต้า ส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นBZ4X จำนวน 66 คัน ฮอนด้า ส่งมอบรถไฟฟ้า e:N1 จำนวน 265 คัน และมีผู้นำเข้ารายย่อยนำเข้ารถรุ่น E จำนวน 1 คันและรุ่น E ADVANCE จำนวน 1 คัน ก่อนหน้านี้ฮอนด้า ทำการเปิดสายการผลิต e:N1 ในไทยแต่ล่าสุดมีรายงานว่า ฮอนด้าได้นำเข้ารถยนต์ดังกล่าวจากประเทศจีนแท้ ส่วนนิสสัน ทำการส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้า LEAF จำนวน 14 คันเท่านั้น
ในขณะที่ฝั่งรถยนต์ไฟฟ้าจากยุโรป บีเอ็มดับเบิลยู มียอดจำหน่าย รวม1,485 คัน และเมอร์เซเดส-เบนซ์ 221 คัน ซึ่งอยู่ในอันดับ 9 และ16 ตามลำดับ ส่วนออดี้่ มียอดขาย 43 คัน อันดับที่ 23 ในตลาด นอกจากนี้ ยอดขายของเทสลา รถจากอเมริกา สามารถทำยอดขายได้อันดับ ที่ 6 ของตลาด คือมียอดรวม 4,120 คัน ครองตลาด 6%