EN / TH

Pakelo Lubricants แบรนด์น้ำมันหล่อลื่นแท้จากอิตาลีแท้ เผยกลยุทธ์เด็ดมัดใจคนไทย ชูจุดเด่นด้านสมรรถนะ และพันธมิตรทั่วประเทศ

29 เมษายน 2567

Lexus เผยโฉม NX 2024 MNC พร้อม NX 450h+ Overtrail สำหรับสายลุย ราคา 4,180,000 บาท

29 เมษายน 2567

VinFast ทำการบ้านมาดี ปรับแผนเต็มที่เพื่อบุกตลาดบ้านเราโดยเฉพาะ โดยเข้าใจถึงสถานการณ์สำคัญอย่าง "ราคา"

29 เมษายน 2567

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 เมษายน 2567

NEW MG4 ELECTRIC ไตรมาสแรกของปียอดพุ่ง 45% รถ EV ดีไซน์สปอร์ต ในราคาเริ่มต้น เพียง 709,900 บาท

26 เมษายน 2567

NEW Yamaha XMAX CONNECTED 2024 ไฟหน้า-ท้าย LED ดีไซน์ใหม่ เรือนไมล์แบบใหม่ แสดงผล 2 หน้าจอ Digital LCD 3.2” พร้อมจอสี TFT 4.2 ในราคา 191,100 บาท

26 เมษายน 2567

มิตซูบิชิ ไทรทัน คว้ารางวัลความปลอดภัยสูงสุด 5 ดาว จาก ANCAP กลายเป็นรถกระบะดับเบิ้ลแค็บรุ่นแรก ที่ทำได้ในรอบ 2 ปี

26 เมษายน 2567

สแกนเนียเตรียมเปิดตัวรถบรรทุก ยูโร 5 กลางปี พร้อมเผย ยูโร 3 ล็อตสุดท้าย เหลือไม่ถึง 30 คันแล้ว

26 เมษายน 2567

New ISUZU D-Max 2024 ปรับไมเนอร์ฯในออสเตรเลียขาย 25 รุ่น ท็อปสุดรุ่น X-Terrain 1.7 ล้านบาท

26 เมษายน 2567

ISUZU Australia แถลงยืนไม่ออกจากตลาดนี้ พร้อมปรับตัวสู่มาตรฐานไอเสียที่เข้มงวดด้วยรถรุ่นใหม่ (NVES)

26 เมษายน 2567

Lamborghini Urus SE ซุปเปอร์คาแบบ PHEV SUV รุ่นแรกของแบรนด์ พลัง 800 แรงม้า ทำ 0-100 km/h ได้ใน 3.4 วินาที

25 เมษายน 2567

ประวัติศาสตร์สู่อนาคต MG EXE 181 อีกหนึ่งไฮเปอร์คาร์ มอเตอร์ไฟฟ้า 4 ตัว ทำ 0-100 km/h ได้ในไม่ถึง 1 วินาที Top speed อยู่ที่ 415 km/h

25 เมษายน 2567

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า บทความ

สำรวจภาพไทยกับทุนใหม่ ในวันที่รถญี่ปุ่นอ่อนแรง

9 ธันวาคม 2566| จำนวนผู้เข้าชม 1,020

 

 

ต้องบอกว่าไทยเรานั้นเคยมีความแข็งแกร่งในการผลิตรถยนต์ ติด 1 ใน 10 ของโลก เป็นผลมาจากปัจจัยในอดีต คือการย้ายทุนออกนอกประเทศของญี่ปุ่น ซึ่งถูกกดดันให้เงินเยนแข็งค่าจนการผลิตรถในประเทศมีต้นทุนสูง แข่งขันไม่ได้ ต้องมองหาแหล่งผลิตแห่งใหม่ที่มีราคาถูก และเป็นโอกาสของไทยเราที่สามารถจูงใจทุนเหล่านั้นให้มาตั้งฐานการผลิตได้ เวลานั้นเทียบกันประเทศอื่นๆ สภาพแวดล้อมของไทยเรายังดีอยู่ ส่วนปัจจุบันไทยเป็นอย่างไร ผมสรุป ไว้เป็นข้อๆ ให้ดู

 

1. ไทยเป็นประเทศที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ (ใกล้เคียงฝรั่งเศษ) ในปี 2534 มีประชากร 63 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 80 ล้านคน หรือ 100 ล้านคนใน 20-30 ปีข้างหน้า ซึ่งเวลาผ่านไปไทยมีปัญหาเรื่องอัตราการเพิ่มของประชากรเสียแล้ว ข้อนี้เลยจบไป

 

2. ขนาดของตลาดรถยนต์และความต้องการภายในประเทศตอนปี 2534 คาดว่าตลาดจะเพิ่มขึ้นจาก 6 แสนคันเป็น 1-1.3 ล้านคันใน 10-15 ปี เราก็คิดว่าไทยนั้นใหญ่สุดในอาเซียน ซึ่งขนาดตลาดเพียงพอที่ค่ายรถ จะลงทุนในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพราะมีตลาดขนาดใหญ่รองรับ และสามารถขยายสายผลิตภัณฑ์ไปสู่การส่งออกเพิ่มขึ้นได้ ข้อนี้ผ่านมาจะ 30 ปีแล้วตลาดเรายังขึ้นๆ ลงๆ ปี 2566 ก็ถอยลงมาต่ำกว่า 1 ล้านคันตลาดใหญ่ย้ายไปที่อินโดนีเซีย

 

3. ไทยมีระบบคมนาคมและถนนครอบคลุมพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากมายด้วยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลอย่างชัดเจน มีการสร้างถนนที่มีผลต่อความต้องการใช้รถยนต์ข้อนี้เราทำได้ 25 ปีกับจำนวนความยาวของถนนลาดยาง พื้นฐานนี้ดีมาก

 

4. บรรยากาศที่ดีในการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในเรื่องเงื่อนไขจูงใจด้านภาษีเงินได้และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ส่วนนี้ไทยก็ทำได้ดี แต่คู่แข่งอย่างอินโดฯ มาเลฯ 2 คู่แข่งของเรา เขาก็เสนอเงื่อนไขส่งเสริมการลงทุนแข่งกับเราทุกปีโดยเฉพาะอินโดฯ ในเรื่องการแข่งขันเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า

 

5. คนไทยเป็นมิตรและไม่ต่อต้านต่างชาติ ขยันขันแข็ง หัวอ่อน สอนง่าย ทำให้คนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนและทำงานในไทย มีความสุข สบายใจ และมักจะพาครอบครัวมาพำนักในไทย ข้อนี้..เวลาเปลี่ยนไปทุกคนเรียนรู้ว่าควรทำอย่างไร เวียตนามก็พัฒนาฝีมือแรงงานไปมาก อย่าไปแข่งกันจีนและอินเดีย เพราะคุณภาพคนเราอาจสู้เขาไม่ได้

 

6. รัฐบาลไทยมีเสถียรภาพมีความต่อเนื่องในนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของต่างชาติ ข้อนี้ เห็นทีต้องละเว้นเพราะไว้ใจอะไรไม่ได้เกี่ยวกับการเมือง แต่ความต่อเนื่องในการส่งเสริมการลงทุนของไทยเรา ถือว่าทำได้ดีมาตลอดยกเว้นตอนมีรถยนต์ไฟฟ้าที่เราต้องเปลี่ยนเป้าหมายคนที่เคยลงทุนไว้ก็อาจเคืองนิดหน่อย เช่นอีโค คาร์

 

7. มีค่าครองชีพและเงินเดือนค่าจ้างที่ยังต่ำ แม้จะไม่ถูกที่สุดในอาเซียน แต่เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพของคนทำงานและความรู้ของคนทำงานแล้ว คุ้มค่าแข่งขันได้ ข้อนี้ผมว่าผิดนะครับ เพราะค่าครองชีพต่ำก็จริงแต่รายได้เราก็ต่ำมาก สรุปแล้วของกินของใช้ในไทยพวกเรายังคงจ่ายแพงมาก เมื่อเทียบกับรายได้

 

8. "รถยนต์ที่นิยมในจีนก็แตกต่างจากรถยนต์ที่นิยมในไทย รถยนต์ที่ผลิตในจีนในอนาคต แม้อาจจะส่งมาขายในประเทศไทยก็อาจจะไม่ได้รับความนิยม" ข้อนี้ เห็นได้ชัดว่า ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ รถจีนก้าวออกมาสู่ตลาดโลก และได้รับการยอมรับมากมาย

 

9. ในอดีตเราต้องการเพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ลดการขาดดุลการค้า ทำให้เรามีการพัฒนาความสามารถของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์อย่างต่อเนื่อง จนสามารถผลิตชิ้นส่วนขั้นพื้นฐานต่างๆได้ แต่ยังขาดชิ้นส่วนหลักที่มีมูลค่าเพิ่มสูงๆ และที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและเงินลงทุนสูงมากๆ ดังนั้นต้องพยายามส่งเสริม การผลิตชิ้นส่วนหลักๆ เช่นเครื่องยนต์ เกียร์ ระบบบังคับเลี้ยว ระบบไฟฟ้า เป็นต้น ใช่ครับในเวลานั้นเราต้องการส่งเสริมเทคโนโลยีแพงๆหรือกลุ่มชิ้นส่วนที่เรายังไม่สามารถเข้าถึงได้ แต่วันนี้เทคโนโลเปลี่ยนไป เราไม่ได้ต้องการเครื่องยนต์ เราต้องการมอเตอร์ และแบตเตอรี่ เราต้องการระบบบริหารจัดการไฟฟ้า ไม่ได้ต้องการแค่บริษัทผลิตสายไฟ ชิ้นส่วนหลักของรถเปลี่ยนไปเราจะเพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้อีกหรือไม่..?

 

แนวคิดของโลกยานยนต์เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เงื่อนไขที่เคยได้เปรียบในอดีตของเราแทบไม่เหลืออะไรที่เป็นข้อได้เปรียบมากนัก ยุคหนึ่งรถญี่ปุ่นนำพาเราแข็งแกร่งพอมายุคใหม่ญี่ปุ่นเคลื่อนช้าเหมือนอ่อนล้าลงไป ไทยนั้นต้องหันไปดูดเม็ดเงินจากทุนใหม่คงมองเห็นว่าผมหมายถึงใคร การพึ่งพาทุนใหม่เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยก้าวไปข้างหน้าทำได้ ทำแล้ว ส่วนระยะยาว ในแง่ของการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ไปจากเราจะมากน้อยแค่ไหน และไว้ใจได้หรือเปล่าเป็นอีกเรื่องนึง....ที่ต้องรอดูกันต่อไป

 

บทความโดย: ยุทธพงษ์ ภาษี


แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 เมษายน 2567

MAZDA ก้าวข้ามอีวีด้วยพันธมิตรจีน

16 เมษายน 2567

เจาะลึกช่วงล่างเบื้องหลังความดุดันบนทุกเส้นทางของ Ford Ranger Raptor

1 มีนาคม 2567

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 3: ไม่แถมไม่แจก Scarcity Strategy กระบะ TFR ประสู่ยุคทอง

16 มกราคม 2567

อีซูซุ ซีรีย์ ตอนที่ 2: เมืองหลวงข้าใครอย่าแตะ

8 มกราคม 2567

อีซูซุ ซีรีย์: ตอน1 ก่อนจะมีวันที่ดีของตรีเพชรฯ

4 มกราคม 2567

รถชาวจีน ยุคสอบไม่ผ่านการออกแบบ

7 ธันวาคม 2566

IMV - เมด บาย โตโยต้า ตอนที่ 3: อีซูซู - โตโยต้า..กว่าจะมาถึงวันนี้

28 พฤศจิกายน 2566

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว+

ยอมรับ