EN / TH

อีซูซู ส่งเครื่องดีเซล 2.2 ลุยตลาด

20 พฤศจิกายน 2567

เช็ครายค่ายมหกรรมยานยนต์ 2024(1)

17 พฤศจิกายน 2567

วิเคราะห์เครื่องยนต์ใหม่ ISUZU คาด..ยังไม่ทิ้งเครื่อง 1.9 และ 3.0 เพราะ..?

16 พฤศจิกายน 2567

GEELY Holding ซื้อหุ้น ZEEKR เพิ่ม..ปรับโครงสร้างการบริหาร มองการแข่งขันระยะยาว

16 พฤศจิกายน 2567

เวียตนาม ส่งออกเข้าไทย"สัญญาณเตือนครั้งใหญ่" หากรัฐไม่ตื่นมีล่ม

9 พฤศจิกายน 2567

ไทยยานยนตร์เปิดตัวคาราเวล Comfortline NGZ

8 พฤศจิกายน 2567

ฮอนด้า ยืนราคา เอชอาร์-วีอี:เอชอีวี รุ่นไมเนอร์เชนจ์

8 พฤศจิกายน 2567

จูนเหยา แอร์ ดึงมือดีเอ็มจี นั่งหัวเรือบุกตลาดไทย

7 พฤศจิกายน 2567

เปิดวาร์ป 4 แบรนด์น้องใหม่ค่ายจีนบุกไทยปลายปี

6 พฤศจิกายน 2567

จูนเหยา แอร์ บุกตลาดอีวีไทย

5 พฤศจิกายน 2567

โตโยต้าจับมือซูซูกิ ส่งรถยนต์SUVไฟฟ้าโต้ค่ายจีน

4 พฤศจิกายน 2567

เผยโฉมแล้วดีแมคซ์"เบลด"ใหม่ ฉายาแรพเตอร์ คิลเลอร์

29 ตุลาคม 2567

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า บทความ

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 3: ไม่แถมไม่แจก Scarcity Strategy กระบะ TFR ประสู่ยุคทอง

16 มกราคม 2567| จำนวนผู้เข้าชม 1,178

 

ยุคทองของอีซูซุนั้นถือว่าเริ่มจากการแนะนำรถยนต์กระบะ TFR มังกรทอง หรือโกลเดน ดาร์กอน เริ่มปี 1991 -1997 ก่อนจะไมเนอร์เชนจ์เป็นดาร์กอนอาย TFR เป็นจุดเริ่มต้นที่อีซูซุครองเจ้าตลาดปิคอัพเมืองไทยแบบมั่นคง ในยุคนั้น..ความต้องการรถมีมากกว่ากำลังการผลิต ก่อนหน้านี้อีซูซุมีส่วนแบ่งตลาดไม่มากนักเพราะติดปัญหาการผลิต เพราะซัพพลาย ไม่เพียงพอต่อคำสั่งซื้อ แต่หลังจากการขยายกำลังการผลิตของโรงงานสำโรงทำให้อีซูซุพุ่งทะยานขึ้นมา

 

ในตลาดรถยนต์ขณะนั้นเศรษฐกิจของไทยเริ่มเติบโต ไม่ว่ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์กระบะ ต่างมีความต้องการเพิ่ม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ กำลังการผลิตทุกค่ายปรับเพิ่มไม่ได้ เพราะรัฐบาลเรายังอยู่ในช่วงบังคับให้ผู้ประกอบรถต้องใช้ โลคอล คอนเทนท์ ตามกฏหมายเพื่อทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์แข็งแกร่ง การเพิ่มแต่ล่ะชิ้นส่วนต้องวางแผนกันยาวๆ

 

ความต้องการที่สูงทำให้จึงเกิดธุรกิจซื้อ-ขายใบจอง ราคาซื้อขายกันใบล่ะ 5,000-10,000 บาท มีขายกันตามหน้าหนังสือพิมพ์ ทั่วไป ถ้าไม่ใช้วิธีลัดนี้อาจต้องรอรถ 4- 6 เดือน การซื้อขายใบจองเกิดจากการเกร็งกำไรของคนขายที่รู้กันกับเจ้าของโชว์รูม ความจริงรถบางยี่ห้ออาจไม่ได้ขาดแคลนจริงๆ ภาวะตลาดเช่นนี้ เรียกว่า Scarcity Strategy คือ การปรับการผลิตหรือการจำกัดปริมาณสินค้า ทำให้สินค้าที่เข้าสู่ตลาดนั้นมีจำนวนจำกัด ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าสินค้านั้นใครๆ ก็ต้องการ จนเกิดความต้องการเพิ่มสูงขึ้นผู้บริโภครู้สึกว่าสินค้านั้นๆ เป็นสินค้ายอดนิยม

 

มังกรทอง แจ้งเกิดในยุคนี้พอดี ผมไม่ได้หมายความว่าตรีเพชรใช้ Scarcity Strategy เพราะเท่าที่ผมทราบ กำลังการผลิตเขาจำกัดจริงๆ แต่ในสถานการณ์ตอนนั้นมันสอดคล้องกับกลยุทธ์สำคัญคือ "ไม่ลด ไม่แจก ไม่แลก ไม่มีโปร" เข้าใจได้ว่า ตลาดมีความต้องการมากอยู่แล้ว ของแถมของแจกเหล่านี้ไม่จำเป็น เพราะไม่แจกไม่ลดคนก็ซื้ออยู่แล้ว

 

การตลาดของอีซูซุในประเทศไทยถูกถอดบทเรียนเป็นโมเดลความสำเร็จ และถูกนำไปสอนบรรดาดีลเลอร์อีซูซุทั่วโลก การใช้กลยุทธ์ยุคแรก เราจะพบว่า อีซูซุ เน้นนโยบาย ไม่ร่วมสงครามราคา ส่วนช่วงหลังเน้นการยกระดับ ‘คุณค่าของแบรนด์ "อีซูซุย้ำเสมอว่าตลอด 60 ปีที่ผ่านมา คือการมีคุณค่าของแบรนด์ที่แข็งแกร่ง พยายามสร้างการรับรู้ถึงคุณภาพ ในหมู่ผู้ใช้รถเพื่อการพาณิชย์ ว่า อีซูซุคือรถที่มีความคุ้มค่าเงินสูงสุด คุณภาพสินค้าดีที่สุด ประหยัดน้ำมันมากที่สุด เครือข่ายโชว์รูม ศูนย์บริการและศูนย์อะไหล่มีประสิทธิภาพสูง"

 

ต้องบอกว่าบรรดาดีลเลอร์ที่เชื่อมโยงอยู่ในเครือข่ายของตรีเพชรอีซูซุฯ ซึ่งปัจจุบันมีเครือข่ายโชว์รูมกว่า 300 แห่ง เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญของความสำเร็จ อีซูซุได้คัดดีลเลอร์คุณภาพระดับเทียร์ 1 ไปเกือบหมดเมืองไทย ดีลเลอร์เหล่านี้ค้าขายรถกับอีซูซุมาช้านาน พวกเขามีพื้นฐานการเงินดี มีความพร้อม มีชื่อเสียงและคอนเนคชั่นในท้องถิ่น

 

บทความโดย: ยุทธพงษ์ ภาษี


แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

วิเคราะห์เครื่องยนต์ใหม่ ISUZU คาด..ยังไม่ทิ้งเครื่อง 1.9 และ 3.0 เพราะ..?

16 พฤศจิกายน 2567

เวียตนาม ส่งออกเข้าไทย"สัญญาณเตือนครั้งใหญ่" หากรัฐไม่ตื่นมีล่ม

9 พฤศจิกายน 2567

BYD ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าตลาดรถไทย และบทเรียนของผู้เร่งซื้อBEV

3 กรกฏาคม 2567

ซูซูกิ ปิดโรงงานนัยยะแฝงที่มากกว่าหยุดผลิต

7 มิถุนายน 2567

ผ่าเนื้อในรถยนต์ไทย ทำไมร่วงเละ ไตรมาส 2 ยังไร้แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

7 พฤษภาคม 2567

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 เมษายน 2567

MAZDA ก้าวข้ามอีวีด้วยพันธมิตรจีน

16 เมษายน 2567

เจาะลึกช่วงล่างเบื้องหลังความดุดันบนทุกเส้นทางของ Ford Ranger Raptor

1 มีนาคม 2567

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว+

ยอมรับ