EN / TH

Pakelo Lubricants แบรนด์น้ำมันหล่อลื่นแท้จากอิตาลีแท้ เผยกลยุทธ์เด็ดมัดใจคนไทย ชูจุดเด่นด้านสมรรถนะ และพันธมิตรทั่วประเทศ

29 เมษายน 2567

Lexus เผยโฉม NX 2024 MNC พร้อม NX 450h+ Overtrail สำหรับสายลุย ราคา 4,180,000 บาท

29 เมษายน 2567

VinFast ทำการบ้านมาดี ปรับแผนเต็มที่เพื่อบุกตลาดบ้านเราโดยเฉพาะ โดยเข้าใจถึงสถานการณ์สำคัญอย่าง "ราคา"

29 เมษายน 2567

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 เมษายน 2567

NEW MG4 ELECTRIC ไตรมาสแรกของปียอดพุ่ง 45% รถ EV ดีไซน์สปอร์ต ในราคาเริ่มต้น เพียง 709,900 บาท

26 เมษายน 2567

NEW Yamaha XMAX CONNECTED 2024 ไฟหน้า-ท้าย LED ดีไซน์ใหม่ เรือนไมล์แบบใหม่ แสดงผล 2 หน้าจอ Digital LCD 3.2” พร้อมจอสี TFT 4.2 ในราคา 191,100 บาท

26 เมษายน 2567

มิตซูบิชิ ไทรทัน คว้ารางวัลความปลอดภัยสูงสุด 5 ดาว จาก ANCAP กลายเป็นรถกระบะดับเบิ้ลแค็บรุ่นแรก ที่ทำได้ในรอบ 2 ปี

26 เมษายน 2567

สแกนเนียเตรียมเปิดตัวรถบรรทุก ยูโร 5 กลางปี พร้อมเผย ยูโร 3 ล็อตสุดท้าย เหลือไม่ถึง 30 คันแล้ว

26 เมษายน 2567

New ISUZU D-Max 2024 ปรับไมเนอร์ฯในออสเตรเลียขาย 25 รุ่น ท็อปสุดรุ่น X-Terrain 1.7 ล้านบาท

26 เมษายน 2567

ISUZU Australia แถลงยืนไม่ออกจากตลาดนี้ พร้อมปรับตัวสู่มาตรฐานไอเสียที่เข้มงวดด้วยรถรุ่นใหม่ (NVES)

26 เมษายน 2567

Lamborghini Urus SE ซุปเปอร์คาแบบ PHEV SUV รุ่นแรกของแบรนด์ พลัง 800 แรงม้า ทำ 0-100 km/h ได้ใน 3.4 วินาที

25 เมษายน 2567

ประวัติศาสตร์สู่อนาคต MG EXE 181 อีกหนึ่งไฮเปอร์คาร์ มอเตอร์ไฟฟ้า 4 ตัว ทำ 0-100 km/h ได้ในไม่ถึง 1 วินาที Top speed อยู่ที่ 415 km/h

25 เมษายน 2567

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า บทความ

IMV - เมด บาย โตโยต้า ตอนที่ 3: อีซูซู - โตโยต้า..กว่าจะมาถึงวันนี้

28 พฤศจิกายน 2566| จำนวนผู้เข้าชม 1,383

 

ผมคงไม่เขียนถึงยุค IMV 2 หรือ รีโว่มากนัก เพราะว่าคงหาข่าวร่วมสมัยอ่านกันได้ แต่อยากพูดถึงบรรยากาศศึกรถกระบะยุคแรกๆ ก่อนมี IMV น่าจะอธิบายแนวการแข่งขันของ กระบะในอดีตกว่า "กว่าจะมาถึงวันนี้" เขาผ่านอะไรกันมาบ้าง

 

วงการรถกระบะของไทยนั้น น่าจะเกิดขึ้นราวปี พ.ศ. 2510 หรือมากกว่า 50 ปีมาแล้ว ยุคนั้นกระบะยี่ห้อ ดัทสัน (DATSAN) จำหน่ายโดยสยามกลการ นำเอารถกระบะมาจำหน่ายเป็นรายแรกของประเทศ และดัทสันก็ครองตลาด ตามมาด้วยกระบะโตโยต้า, มาสด้า ตามลำดับ โดยวงการรถกระบะใช้แต่เครื่องยนต์เบนซินอย่างเดียวไม่มีดีเซล ขนาดเครื่องยนต์ มีตั้งแต่ 1,000 cc แล้วขยับมาเป็น 1,300 cc โดยมีมาสด้าที่มีการขยายตลาดต่างไปกว่าคนอื่น คือมีขนาดเครื่องยนต์หลายขนาดให้เลือก เช่น 1,000 cc 1,100 cc และ 1,300 cc แล้วมาสด้า ก็เป็นผู้เริ่มใช้เครื่องเบนซินที่ใหญ่ขึ้นคือ 1,600 cc ในมาสด้ากระบะหน้าเก๋ง รุ่นโปรซีด (PROCEED) หรือ B1600

 

ต่อมาราวปี 2516 อีซูซุเข้ามา เปิดตลาดรถกระบะจากเดิมขายแต่รถบรรทุกใหญ่ อีซูซุ ใช้จุดเด่นของตนเองในฐานะผู้เชี่ยวชาญ เครื่องยนต์ดีเซล นำเอาเครื่องยนต์ดีเซล 1,600 ซีซี. ที่ใช้กับรถยนต์บรรทุกขนาดเล็กรุ่น ELF มาใส่ลงไปในรถกระบะของตนเอง บวกกับขณะนั้นอีซูซุได้ผลิตรถยนต์ รถกระบะให้กับเชฟโรเลตด้วย จึงมีรถกระบะเครื่องยนต์ดีเซลของเชฟโรเลตรุ่น LUV ที่มีรูปลักษณ์เดียวกันกับอีซูซุออกมาจำหน่าย แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไร

 

ความสำเร็จของกระบะ มาถึงจุดเปลี่ยน เมื่อราคาน้ำมันเป็นตัวแปร สถานการณ์ราคาน้ำมันทวีความมรุนแรงขึ้น ผู้ผลิตรถยนต์รถกระบะยี่ห้ออื่นๆ เริ่มหันมาให้ความสนใจกับเครื่องดีเซล เพราะว่าประหยัดน้ำมัน ผู้นำตลาดในยุคนั้นอย่างดัทสัน มีการนำเอาเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1,600 ซีซี. ที่ใช้ในรุ่น CABALL มาวางในกระบะของตนเอง พร้อมโฆษณาถึงเทคโนโลยี "ควิกกรูว์" คือไม่ต้องเผาหัวก่อนติดเครื่อง เพราะในยุคนั้น เครื่องยนต์ดีเซล ก่อนติดเครื่องต้องเผาหัวก่อน ซึ่งกลยุทธ์ของดัทสัน ได้ผลดีมาก และถือเป็นยุคสุดท้ายที่ดัทสันได้ครองความเป็นเจ้าตลาดรถรถกระบะในเมืองไทย เพราะหลังจากนั้นยี่ห้ออื่นๆ ก็เร่งพัฒนาขึ้นมาเบียดตลาดดัทสัน โดยเฉพาะโตโยต้าที่คว้าแชมป์ไปครองหลายปี

 

ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อ อีซูซุที่มีความชำนาญเรื่องเครื่องยนต์ดีเซล เปลี่ยนระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง แบบอินไดเร็คอินเจ็คชั่น หรือสเวิร์ลแชมเบอร์ (swirl chamber) มาเป็นแบบไดเร็คอินเจ็คชั่น พร้อมทั้งเป็นเจ้าแรกที่มีเครื่องยนต์แรงถึง 90 แรงม้า ซึ่งนับจากนั้นมา อีซูซุก็ครองตลาดอันดับหนึ่งในการจำหน่ายของตลาดรถยนต์รถกระบะในเมืองไทยอย่างเบ็ดเสร็จมายาวนาน

 

มีอีซูซุยี่ห้อเดียวที่ยืนหยัดใช้เครื่องยนต์แบบไดเร็คอินเจ็คชั่น และชูจุดเด่นด้านความประหยัดมาเป็นจุดขาย ตอกย้ำซ้ำแล้วซ้ำอีกตลอดระยะเวลานานนับสิบปี ในขณะที่ยี่ห้ออื่นใช้เครื่องยนต์แบบอินไดเร็คอินเจ็คชั่น

 

ตลาดรถยนต์กระบะมีค่ายหลักๆ ทำตลาดอยู่ 7 ค่ายคือ อีซูซู โตโยต้า นิสสัน มิตซูบิชิ มาสด้า ฟอร์ด และเชฟโรเลต แต่ตลอดเวลาถูกยึดครองโดยอีซูซุ ยาวนานต่อเนื่อง ทำให้คู่แข่งอย่างโตโยต้า ต้องลุกขึ้นมาสู้ครั้งใหญ่ จนเป็นที่มาของ IMV Project อย่างที่เห็นกันอยู่นั้่นเอง

 

IMV-0 ถือเป็นโปรเจคลำดับ 3 แผนงานเบื้องหลังการพัฒนารถยนต์ที่ใช้คนไทยเข้ามามีส่วนร่วมมากกว่า IMV อื่นๆ ลองดูครับการเปลี่ยนครั้งใหญ่โดยเฉพาะแพคเก็จจิ้งของ IMV-0 โตโยต้าจะสร้างเกมเชนจ์อีกครั้งได้หรือไม่..? กับกระบะรุ่นใหม่ที่มีชื่อทางการตลาดว่า "TOYOTA HILUX CHAMP"

 

บทความโดย: ยุทธพงษ์ ภาษี


แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 เมษายน 2567

MAZDA ก้าวข้ามอีวีด้วยพันธมิตรจีน

16 เมษายน 2567

เจาะลึกช่วงล่างเบื้องหลังความดุดันบนทุกเส้นทางของ Ford Ranger Raptor

1 มีนาคม 2567

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 3: ไม่แถมไม่แจก Scarcity Strategy กระบะ TFR ประสู่ยุคทอง

16 มกราคม 2567

อีซูซุ ซีรีย์ ตอนที่ 2: เมืองหลวงข้าใครอย่าแตะ

8 มกราคม 2567

อีซูซุ ซีรีย์: ตอน1 ก่อนจะมีวันที่ดีของตรีเพชรฯ

4 มกราคม 2567

สำรวจภาพไทยกับทุนใหม่ ในวันที่รถญี่ปุ่นอ่อนแรง

9 ธันวาคม 2566

รถชาวจีน ยุคสอบไม่ผ่านการออกแบบ

7 ธันวาคม 2566

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว+

ยอมรับ