
บริษัท นิสสัน มอเตอร์ จำกัด ได้ประกาศแผนการฟื้นฟูธุรกิจภายใต้ชื่อ Re:Nissan ซึ่งเป็นแนวทางเชิงกลยุทธ์ในการยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันและเสริมสร้างความยั่งยืนขององค์กรในระยะยาว ภายใต้การบริหารงานชุดใหม่ บริษัทฯ ได้ดำเนินการทบทวนเป้าหมายเชิงกลยุทธ์อย่างรอบด้าน พร้อมทั้งประเมินโครงการสำคัญอย่างครอบคลุม และได้กำหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้การฟื้นตัวของธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
สำหรับแผน Re:Nissan บริษัทฯ ตั้งเป้าลดค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 500,000 ล้านเยน เมื่อเปรียบเทียบกับปีงบประมาณ 2024 โดยครอบคลุมทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างกรอบการดำเนินงานที่มุ่งสู่การฟื้นฟูความสามารถในการทำกำไรและการสร้างกระแสเงินสดอิสระในธุรกิจยานยนต์ภายในปีงบประมาณ 2024
ลดต้นทุนผันแปร
นิสสันตั้งเป้าลดต้นทุนผันแปรจำนวน 250,000 ล้านเยน ผ่านการยกระดับประสิทธิภาพในกระบวนการทางวิศวกรรมและการบริหารต้นทุน โดยใช้ระบบการกำกับดูแลที่เข้มงวดและมีความโปร่งใส เพื่อสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าว บริษัทฯ ได้จัดตั้ง สำนักงานทรานส์ฟอร์เมชันแบบบูรณาการ (Cross-Functional Transformation Office) ภายใต้การกำกับดูแลของ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่าย TdC โดยมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญกว่า 300 คน ซึ่งได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้ตัดสินใจหลักด้านต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ บริษัทฯ จะดำเนินการ ชะลอการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขั้นสูง และโครงการที่มีกำหนดหลังปี 2026 เป็นการชั่วคราว เพื่อนำทรัพยากรบุคลากรจำนวนกว่า 3,000 คน ไปสนับสนุนโครงการลดต้นทุน โดยการจัดลำดับความสำคัญใหม่ในครั้งนี้เกิดขึ้นจากการเร่งรัดกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งช่วยลดระยะเวลาการพัฒนาโดยไม่กระทบต่อกำหนดการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของการปรับโครงสร้างครั้งนี้ คือ ห่วงโซ่อุปทาน บริษัทฯ มีแผนดำเนินการปรับโครงสร้างกลุ่มซัพพลายเออร์ใหม่ โดยมุ่งเน้นการรวมปริมาณคำสั่งซื้อไปยังผู้จัดจำหน่ายรายสำคัญเพียงไม่กี่ราย เพื่อลดความซ้ำซ้อน ขจัดความไร้ประสิทธิภาพ และยกระดับมาตรฐานซัพพลายเชนให้ทันสมัยและสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจในระยะยาว
การลดต้นทุนคงที่
นิสสันตั้งเป้าลดต้นทุนคงที่ลงอีก 250,000 ล้านเยน ภายในปีงบประมาณ 2026 เมื่อเทียบกับปี 2024
-
ปรับโครงสร้างฐานการผลิต: รวมโรงงานประกอบรถยนต์จาก 17 แห่ง เหลือ 10 แห่ง ภายในปี 2027
-
ลดขนาดโรงงานระบบส่งกำลัง
-
ปรับการจ้างงาน, กะการทำงาน, ลดงบลงทุน
-
ยกเลิกโครงการโรงงานแบตเตอรี่ลิเทียมไอรอนฟอสเฟตในคิวชู
การลดจำนวนพนักงาน
นิสสันวางแผนลดจำนวนพนักงานลง 20,000 คน ทั่วโลกในช่วงปีงบประมาณ 2024–2027 (รวมถึง 9,000 คนที่ประกาศไว้ก่อนแล้ว) ครอบคลุมตำแหน่งตรงและทางอ้อม ทั้งในสายการผลิต, งานบริหารทั่วไป (SG&A) และการวิจัยและพัฒนา (R&D)
พร้อมกันนี้จะขยายการใช้ บริการร่วม และหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพด้านการตลาด
ปรับกระบวนการพัฒนา
นิสสันจะลด ต้นทุนวิศวกรรม, ความซับซ้อน และเพิ่มความเร็วในการพัฒนา
-
ปรับโครงสร้าง R&D ทั่วโลก
-
ย้ายงานไปยังพื้นที่ที่มีต้นทุนแข่งขันได้
-
เป้าหมาย: ลดต้นทุนต่อชั่วโมงของบุคลากรลง 20%
- จะลดความซับซ้อนของชิ้นส่วนลง 70%
- รวมแพลตฟอร์มจาก 13 เหลือ 7 แพลตฟอร์ม ภายในปี 2035
- ระยะเวลาในการพัฒนารถรุ่นแรกให้เหลือ 37 เดือน, รุ่นในกลุ่มเดียวกันเหลือ 30 เดือน
รถรุ่นใหม่ในแผนนี้ ได้แก่
-
Nissan Skyline ใหม่
-
SUV C ขนาดกลางรุ่นใหม่
-
INFINITI SUV ขนาดกะทัดรัดรุ่นใหม่
กลยุทธ์ด้านตลาดและผลิตภัณฑ์
นิสสันปรับกลยุทธ์ตลาดให้ตรงกับความต้องการในแต่ละพื้นที่ และจัดลำดับความสำคัญด้านทรัพยากรภายใน เพื่อเน้นไปยังธุรกิจหลักที่ทำกำไรได้ดี กลยุทธ์ใหม่จะเน้น ตลาดหลัก ได้แก่:
-
สหรัฐฯ: ขยายกลุ่มไฮบริด และฟื้นฟูแบรนด์ INFINITI
-
ญี่ปุ่น: ขยายรุ่นรถเพื่อเสริมภาพลักษณ์ในตลาดบ้านเกิด
-
จีน: เน้นรถพลังงานใหม่ (NEV) และใช้จีนเป็นฐานส่งออก
-
ยุโรป: เน้น SUV กลุ่ม B และ C
-
ตะวันออกกลาง: SUV ขนาดใหญ่ และพิจารณานำรถจากจีนมาช่วยเพิ่มความหลากหลาย
-
เม็กซิโก: ฐานส่งออกหลักที่สร้างกำไร
เสริมความร่วมมือ
นิสสันจะร่วมมือกับพันธมิตร เช่น Renault และ Mitsubishi Motors (MMC) โดยเฉพาะในโครงการ EV เช่น รถ BEV รุ่นใหม่สำหรับ MMC ในตลาดอเมริกาเหนือ นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับ Honda ในด้านยานยนต์อัจฉริยะและการใช้พลังงานไฟฟ้า