EN / TH

New GWM CANNON 2025 ปรับไมเนอร์เชนจ์ พร้อมขยับไซส์เครื่องยนต์เป็น 2.4 ลิตรดีเซล

31 มกราคม 2568

ทรัมป์ ยุติเป้าหมายรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมยานยนต์สหรัฐฯ โดยอีลอนไม่มีข้อโต้แย้ง

26 มกราคม 2568

เผยโฉมหน้า10 แบรนด์ BEV ยอดนิยมของไทยในปี 2567

25 มกราคม 2568

ยอดขายรถกระบะในไทยปี 2024 ตัวเลขรวม 164,128 คัน

23 มกราคม 2568

EV ไทยในเงื้อมมือจีน: เมื่อแผนใหญ่ต้องเจอความเสี่ยงและความท้าทาย"

20 มกราคม 2568

จีนเสี่ยง-โตโยต้าล็อบบี้สำเร็จ พ่อนายกฯออกปากดูแลรถญี่ปุ่นเต็มที่

15 มกราคม 2568

Tesla เปิดตัว Model Y ใหม่เพิ่มราคา2หมื่นพร้อมส่งมอบเดือนพ.ค.

11 มกราคม 2568

มาสด้าตั้ง"ธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ "นั่งประธานซีอีโอคนใหม่

8 มกราคม 2568

ข่าวร้ายส่งท้ายปี รง.เนต้าไทย เลิกจ้าง" เมื่อบริษัทแม่อ่อนแอ บริษัทลูกขาดอากาศหายใจ"

26 ธันวาคม 2567

กระหึ่มโลก ฮอนด้า นิสสัน มิตซูบิชิ ตกลงผนวกกิจการ

24 ธันวาคม 2567

ฮอนด้า นิสสัน เจรจาควบรวมกิจการ

18 ธันวาคม 2567

MOTOR EXPO 2024 ปิดฉากสวยยอดจองกว่า 5 หมื่นคัน

11 ธันวาคม 2567

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า รถยนต์ไฟฟ้า

ค่ายยุโรปร้องหนักค้าน"อียู"ขึ้นภาษีรถยนต์ไฟฟ้าจีน

6 กรกฏาคม 2567| จำนวนผู้เข้าชม 520

จากกรณีที่สหภาพยุโรป(EU)ตัดสินใจกำหนดอัตราภาษีเพิ่มเติมสำหรับรถยนต์ไฟฟ้านำเข้าจากจีน จากปกติเสียภาษีนำเข้า 10% โดยมีผลอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค. ที่ผ่านมาตามประกาศที่ออกโดยคณะกรรมาธิการยุโรปเมื่อวันที่ 4 ก.ค. ที่ผ่านมา รถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้าจากประเทศจีนต้องเสียภาษีตอบโต้(ชั่วคราว)ตั้งแต่ 17.4% -37.6% ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าที่ส่งออกจากจีนไปส่งจำหน่ายในสหภาพยุโรปมีภาระภาษีเพิ่ม ตามที่มีรายงานข่าวไปแล้วทั่วโลก การตัดสินใจของอียูทำให้บริษัทรถยนต์จีนและบริษัทรถยนต์ยุโรปที่มีโรงงานในจีนต่างแสดงความไม่พอใจอย่างมากซึ่ง เหมา หนิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแสดงท่าทีคัดค้านในการแถลงข่าวประจำสัปดาห์

ซุน เสี่ยวหง เลขาธิการคณะกรรมการการ ด้านยานยนต์หอการค้าจีนเพื่อการนำเข้าและส่งออกเครื่องจักรและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์   ให้สัมภาษณ์ Global Times สื่อรายใหญ่ของจีน ระบุว่าจีนเชื่อว่าปัญหาเศรษฐกิจและการค้า ควรได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมผ่านการเจรจาอย่างไรก็ตามยังมีเวลาอีก 4 เดือนก่อนที่สหภาพยุโรปจะใช้มาตรการภาษีนี้ถาวร รอบเวลาดังกล่าว จีนและสหภาพยุโรปยังคงสามารถปรึกษาหารือต่อรองเพื่อหาแนวทางแก้ไข

SAIC ยื่นอียูทบทวนภาษีรอบใหม่ 
เมื่อวันที่ 5 ก.ค. SAIC Motor ผู้ผลิตรถยนต์ MG เป็นค่ายรถจีนรายแรกที่ได้ออกแถลงการณ์ โดยระบุว่า จะขอให้คณะกรรมาธิการยุโรปทบทวน มาตรการตอบโต้ภาษีชั่วคราวของจีนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และขอใช้สิทธิต่อสู้คดีต่อไปตามกฎหมาย ซึ่งก่อนหน้านี้ SAIC ได้ยื่นคัดค้านคำตัดสินของสหภาพยุโรปทำให้ SAIC Motor ได้รับการลดภาษีจาก 38.1% เหลือ 37.6% อย่างไรก็ตาม SAIC Motor จะมีการยื่นคำร้องเพิ่มเติมเพื่อขอให้พิจารณาตามกฎหมายอีกครั้ง ทั้งนี้ค่าย SAIC Motor เป็นค่ายรถจีนที่ถูกเก็บภาษีในอัตราสูงสุดเมื่อเทียบกลับรถกลุ่มให้ความร่วมมือสุ่มตรวจของอียู

2 ค่ายจีนยืนราคาเดิม
ด้านค่ายรถNIO และ Xpeng Motors ซึ่งเป็นค่ายที่ให้ความร่วมมือกับการสอบสวนของสหภาพยุโรป จะถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม 20.8% ล่าสุด NIO ระบุว่า ราคารถของNIO ที่ขายในตลาดยุโรปจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ส่วน Xpeng Motors กล่าวว่า รถที่รอส่งมอบให้ผู้บริโภคทั้งปัจจุบันและในอนาคต ที่สั่งซื้อก่อนที่อัตราภาษีใหม่จะไม่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาแต่อย่างใด


รถยุโรปร้องหนักขอให้ยกเลิกภาษี
ข้อมูลที่รายงานในสำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า โฟล์คสวาเกน ค่ายรถเยอรมันที่มีฐานการผลิตขนาดใหญ่ในจีน เชื่อว่าการตัดสินใจของคณะกรรมาธิการยุโรปจะสร้างผลเสียมากกว่าผลดีโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ของเยอรมนี ส่วนปอร์เช่ กล่าวสนับสนุนการค้าโลกเสรีและการเจรจา โดยเชื่อว่าการกำหนดอัตราภาษีศุลกากรจะเป็นอันตราย ต่อผลประโยชน์ของเยอรมนี มีรายงานว่าจาก Handelsblatt สื่อเยอรมันเปิดเผยว่า  โฟล์ค สวาเก้นและ BMW กำลังเจรจากับคณะกรรมาธิการยุโรป เรื่องการลดภาษีสำหรับรถ 3 รุ่นที่ผลิตจากจีน ทั้งนี้โฟล์ค สวาเก้น สามารถขายรถในจีนได้ 1 คัน ในทุกๆ 10 วินาที  


"European News"เว็บไซต์ข่าวสหภาพยุโรป รายงานเมื่อวันที่ 4 ก.ค. ระบุว่า สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งเยอรมนี (ฺBDI) เรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยุโรปยกเลิก มาตรการภาษีนี้ นายกุนนาร์ ผู้อำนวยการของ BDI กล่าวว่า สิ่งสำคัญในตอนนี้ คือ การใช้กรอบเวลาก่อนการประกาศใช้ภาษีถาวรเพื่อหารือในเชิงลึกกับจีนวิธีที่ดีที่สุดคือการเจรจาแก้ไข

ซุน เสี่ยวหง กล่าวกับผู้สื่อข่าวจาก Global Times สื่อของจีนว่า สำหรับบริษัทรถยนต์ยุโรปในจีน ความตั้งใจเดิมคือการใช้ข้อได้เปรียบในการผลิตจากโรงงานผลิต ประสิทธิภาพการผลิตและกำลังคนจากจีน เพื่อส่งออกรถยนต์คุณภาพสูงและราคาไม่แพงไปยังยุโรป อย่างไรก็ตามเมื่อสหภาพยุโรปตัดสินใจกำหนดอัตราภาษีเพิ่ม ค่ายรถยนต์เหล่านี้จะต้องปรับราคาของตนและจะส่งต่อไปยังผู้บริโภคชาวยุโรป ทำให้ค่ายรถยุโรป สูญเสียข้อได้เปรียบเดิม และส่งผลต่อกลยุทธ์การพัฒนาและการดำเนินงานโดยรวม

จีนตอบโต้ส่อเก็บภาษีบรั่นดี
มีรายงานว่า ในวันที่ภาษีชั่วคราวของสหภาพยุโรปมีผลบังคับใช้ กระทรวงพาณิชย์ของจีนประกาศว่า จะสอบสวน ต่อต้านการทุ่มตลาดของ บรั่นดีนำเข้าที่มีต้นกำเนิดในสหภาพยุโรป ซึ่งจะทำให้บริษัทผลิตบรั่นดี Martell, Societe Jas Hennessy & Co., Remy Martin ส่วนใหญ่เป็นของฝรั่งเศสกับสเปนได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ทางจีนยังเล็งสอบสวนการทุ่มตลาด ผลิตภัณฑ์นมและเตรียมกำหนดภาษีนำเข้ารถยนต์เบนซินเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ที่ผลิตในยุโรปอีกด้วย

ที่มา: เครือข่ายทั่วโลก


แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

ทรัมป์ ยุติเป้าหมายรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมยานยนต์สหรัฐฯ โดยอีลอนไม่มีข้อโต้แย้ง

26 มกราคม 2568

เผยโฉมหน้า10 แบรนด์ BEV ยอดนิยมของไทยในปี 2567

25 มกราคม 2568

Tesla เปิดตัว Model Y ใหม่เพิ่มราคา2หมื่นพร้อมส่งมอบเดือนพ.ค.

11 มกราคม 2568

เนต้า ส่งสาส์นสร้างความมั่นใจ หลังหนานหนิงฯเข้าถือหุ้นใหญ่

3 ธันวาคม 2567

เปิดสเปก กระบะไฟฟ้า FOTON eTUNLAND หนึ่งชาร์จวิ่ง 350 กิโลเมตร

1 ธันวาคม 2567

เปิดราคารถรุ่นใหม่ค่ายฉางอาน บนเวทีมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 41

29 พฤศจิกายน 2567

จูนเหยา เปิดตัวแบรนด์ในไทย จัดโปรแจกตั๋วเครื่องบิน 3 ปี

29 พฤศจิกายน 2567

เจาะละเอียดรถ BYD บนเวทีมหกรรมยานยนต์ครั้งที่41

29 พฤศจิกายน 2567

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว+

ยอมรับ