EN / TH

มาสด้าตั้ง"ธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ "นั่งประธานซีอีโอคนใหม่

8 มกราคม 2568

ข่าวร้ายส่งท้ายปี รง.เนต้าไทย เลิกจ้าง" เมื่อบริษัทแม่อ่อนแอ บริษัทลูกขาดอากาศหายใจ"

26 ธันวาคม 2567

กระหึ่มโลก ฮอนด้า นิสสัน มิตซูบิชิ ตกลงผนวกกิจการ

24 ธันวาคม 2567

ฮอนด้า นิสสัน เจรจาควบรวมกิจการ

18 ธันวาคม 2567

MOTOR EXPO 2024 ปิดฉากสวยยอดจองกว่า 5 หมื่นคัน

11 ธันวาคม 2567

สำรวจหน้างาน มหกรรมยานยนต์เวทีร้อน โปรฉ่ำลุ้นยอดก่อนปิดงาน

6 ธันวาคม 2567

โฟตอน มอเตอร์ ผนึก คัมมินส์ เปิดโรงงานเครื่องยนต์ในไทย

6 ธันวาคม 2567

เปิดสเปค กระบะโพเออร์ ซิงเกิลแคป ดีเซลตัวแรกบุกไทย

5 ธันวาคม 2567

เนต้า ส่งสาส์นสร้างความมั่นใจ หลังหนานหนิงฯเข้าถือหุ้นใหญ่

3 ธันวาคม 2567

เปิดสเปก กระบะไฟฟ้า FOTON eTUNLAND หนึ่งชาร์จวิ่ง 350 กิโลเมตร

1 ธันวาคม 2567

โตโยต้า ส่ง GR ซีรี่ส์ เจาะตลาดเก๋งสมรรถสูง

30 พฤศจิกายน 2567

อีซูซุยกขบวนยนตรกรรมโชว์ขุมพลังดีเซล2.2L แห่งอนาคต 

30 พฤศจิกายน 2567

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า รถยนต์ไฟฟ้า

เปิดวาร์ป 4 แบรนด์น้องใหม่ค่ายจีนบุกไทยปลายปี

6 พฤศจิกายน 2567| จำนวนผู้เข้าชม 356

แบรนด์รถยนต์จากจีนได้ก้าวเข้ามาเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดยานยนต์ไทย ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำและราคาที่คุ้มค่า สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคไทย ปัจจัยสำคัญที่ทำให้แบรนด์จีนประสบความสำเร็จ คือ เทคโนโลยีที่ทันสมัย ในราคาที่จับต้องได้ และการออกแบบที่หลากหลาย แน่นอนว่าปลายปีนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการแนะนำแบรนด์ใหม่ๆ เพื่อเริ่มแผนการทำตลาดในไทย โดยมี 4 แบรนด์น้องใหม่มาเป็นตัวเลือกมากขึ้น

 

1. จูนเหยา แอร์ (Junyao Air)
แบรนด์จูนเหยา แอร์ เริ่มต้นจากการเป็นบริษัทด้านการบินที่มีชื่อเสียงในประเทศจีน และได้ขยายธุรกิจมาสู่ยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความมุ่งมั่นในการเข้าสู่ตลาดยานยนต์ บริษัทนี้มีแผนที่จะเปิดตัวรถ EV ที่เน้นด้านสมรรถนะความเร็วและความปลอดภัย โดยนำประสบการณ์ด้านการบินมาปรับใช้กับระบบยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้รถของจูนเหยา แอร์มีจุดเด่นทั้งในเรื่องการควบคุมความเร็วและความเสถียรของการขับขี่ ชื่อจูนเหยา แอร์ นี้ เพิ่งแตกไลน์มาผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจริงจังได้ ไม่เกิน 15เดือนซึ่งเวทีสำคัญในบุกตลาดไทย คือ ในงานมหรรมยานยนต์ ครั้งที่ 41 ซึ่งจะเริ่มรอบประชาชนทั่วไป วันที่ 30 พ.ย.67 นี้ สายการบินจากจีน จูนเหยา แอร์ไลน์ส์ (Juneyao Airlines) นั้นเป็นตงสใร่วมมือกันระหว่าง จีลี่ (Geely) และ จูนเหยา กรุ๊ป (Juneyao Group) ทั้งนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2023  จูนเหยา แอร์ ได้จัดงานแถลงประกาศ แผนความร่วมมือกับ จีลี่(Geely) โดยจะสร้างแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าจีนในชื่อ “Juneyao Auto” เพื่อเป็นการเปิดวิสัยทัศน์ใหม่ในการเดินทางที่ครอบคลุมโดยอิงจากโมเดลแรกของ Juneyao Auto และการบูรณาการกับ Juneyao Airlines เป็นกลยุทธ์ “Juneyao Journey” ซึ่งมีเป้าหมายบริการการเดินทางแบบครบวงจร ให้แก่ผู้ใช้ เช่น การรับ และส่งที่สนามบิน การจอดรถที่สนามบิน และการเช่ารถไปยังจุดหมายปลายทาง เพื่อตอบโจทย์ทั้งภาคพื้นดิน และภาคอากาศยานอย่างไร้รอยต่อ ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนมิถุนายน 2022 (พ.ศ.2565) Juneyao Group ได้เข้าซื้อกิจการยูโด ออโต้( Yudo Auto) ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าเล็กๆ ของจีนที่เปิดตัว เมื่อปี 2015(พ.ศ.2558) ในช่วงนั้นรถของยูโด รถคันแรกมีชื่อว่า หยุนทู่(Yuntu)

รถรุ่นแรกของจูนเหยา 
รถยนต์ไฟฟ้าซีดานรุ่นใหม่คันแรกของค่ายใช้ชื่อว่า Juneyao Air  ได้รับแรงบันดาลใจการออกแบบจากเครื่องบิน โดยยึดหลัก "Minimalistic Aviation Aesthetics" หรือสุนทรียศาสตร์แห่งอากาศยานอันเรียบง่าย ซึ่งตัวรถออกแบบให้มีลักษณะเป็นทรงกล่อง ที่เรียกว่า Ultimate One-Box และตั้งอยู่บนพแลทฟอร์มไฟฟ้า กระจังหน้าทรงสี่เหลี่ยมคางหมู ให้กลิ่นอายแบบรถคอนเซ็ปคาร์ ด้านข้างตัวรถออกแบบท้ายลาดสไตล์ฟาสต์แบค เน้นความคล่องตัว จุดศูนย์ถ่วงต่ำ ตัวรถมีขนาดใหญ่ 4,550 มม. ระยะฐานล้อมีขนาด 2,800 มม. ไฟหน้าออกแบบเลนส์ไฟหน้า LED ดีไซจ์นทรงสามเหลี่ยม ไฟ Daytime Running Light ให้ความรู้สึกเหมือนปีกเครื่องบิน รถ EV ของจูนเหยาเน้นระบบขับเคลื่อนที่ปลอดภัย โดยจะมีการติดตั้งระบบช่วยเหลือการขับขี่ขั้นสูง (ADAS) และมีเทคโนโลยีที่ทำให้รถสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพการจราจรได้ดี โดยมีกลุ่ม ผู้บริโภคที่ต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่ปลอดภัย มั่นใจได้ในเรื่องของสมรรถนะ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมและความทันสมัย

2. เดนซ่า (Denza)
เดนซ่าเป็นแบรนด์ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง BYD และ Mercedes-Benz ทำให้แบรนด์นี้โดดเด่นในด้านการออกแบบที่หรูหราและระบบเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย โดยมีการนำเทคโนโลยีจากทั้งสองบริษัทมาใช้ร่วมกัน เดนซ่าเน้นผลิตรถระดับพรีเมียมที่ผสมผสานระหว่างความหรูหราและนวัตกรรมในระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า จุดเด่นของเดนซ่าคือ  ความหรูหราและคุณภาพสูง โดยรถของเดนซ่ามาพร้อมกับระบบการขับขี่ที่ทันสมัย มีการออกแบบภายในที่หรูหราและมีฟีเจอร์เชื่อมต่อสำหรับผู้ขับขี่ที่ต้องการความสะดวกสบาย ส่วนกลุ่มลูกค้าระดับบนที่มองหาความพิเศษในการขับขี่ และต้องการรถที่มีสมรรถนะดีและภาพลักษณ์หรูหรา

แบรนด์ DENZA ถือกำเนิดขึ้นในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคยานยนต์พลังงานใหม่ โดยพัฒนาและขับเคลื่อนโดยบีวายดีอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 ซึ่งได้ปรับโครงสร้างภายในทำให้แบรนด์อยู่ภายใต้บีวายดี 100% โดยยังคงเน้นความโดดเด่นในการหลอมรวมเทคโนโลยีและความหรูหราเข้าด้วยกัน ผ่านการนำเสนอรถยนต์พลังงานไฟฟ้าหลากหลายประเภทที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นรถครอสโอเวอร์ (Crossover) อย่าง DENZA N7, รถสปอร์ตอเนกประสงค์ (SUV) DENZA N8, รถแฮทช์แบ็กทรงสปอร์ตระดับพรีเมียมอย่าง DENZA Z9 GT และรถตู้อเนกประสงค์ (MPV) DENZA D9 ที่เน้นสมรรถนะ ความหรูหรา และเทคโนโลยีอัจฉริยะ

รุ่นแรกของเดนซ่า
เดนซ่าเพิ่งแถลงข่าวเปิดแบรนด์ไปเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 โดย บริษัท เรเว่ ออโตโมทีฟ จำกัด บริษัทในกลุ่มธุรกิจเรเว่ โมเดลแรก ที่เปิดจำหน่าย คือ DENZA D9 โดย จำหน่าย 2 รุ่นย่อย ได้แก่ DENZA D9 Performance AWD ราคา 2,699,900 บาท และ DENZA D9 Premium ราคา 1,999,900 บาท DENZA D9 ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนให้กำลังสูงสุด 275 kW และแรงบิดสูงสุด 470 นิวตัน-เมตร ขับเคลื่อนด้วยพลังงานจาก BYD Blade Battery ขนาด 103.36 kWh ให้ระยะทางวิ่งสูงสุด 580 กิโลเมตร(NEDC) โดยสามารถทำอัตราเร่งจาก 0-100 กิโลเมตร ได้ภายใน 6.9 วินาที ระบบกันสะเทือน DiSus-C เทคโนโลยีช่วงล่างแบบไฟฟ้าเอกสิทธิ์เฉพาะจากบีวายดี

ทางด้านเครือข่ายการกระจายสินค้า การขายและการบริการหลังการขาย เดนซ่าจะแยกโชว์รูมและศูนย์บริการของแบรนด์ DENZA อิสระจาก BYD ศูนย์บริการแห่งแรกจะพร้อมให้บริการตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป และจะทยอยเปิด

โชว์รูมและศูนย์บริการแบรนด์ เดนซ่าในย่านสำคัญในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใหญ่ในประเทศไทย รวม 10 แห่ง ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร 3 แห่ง ได้แก่ สาธุประดิษฐ์ เพชรบุรีตัดใหม่ และศรีนครินทร์ ต่างจังหวัด 7 แห่ง ได้แก่ ระยอง ชลบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา สุราษฎร์ธานี และภูเก็ต


3. ริดดารา (Riddara)

ริดดารา แบรนด์ในเครือ GEELY Holding Group  เปิดแบรนด์ในบ้านเราไปแล้วเมื่อ 29 ตุลาคม 2567 ภายใต้การกำกับดูแลของ บริษัท ริดดารา ออโต้โมบาย (ประเทศไทย) จำกัด ถือเป็นกระบะไฟฟ้า 100% ที่เปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบ ริดดาราเน้นการจำหน่ายรถกระบะไฟฟ้า ซึ่งรถกระบะเป็นกลุ่มที่ได้รับความนิยมสูงในไทย  รถของริดดารา ได้รับการออกแบบให้สามารถใช้งานได้หลายรูปแบบและมีขนาดที่เหมาะสมสำหรับครอบครัว เทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองต่อการขับขี่ที่คล่องตัวและประหยัดพลังงาน จุดเด่นของริดดารา เน้นความหลากหลายของการใช้งานทั้งในเมืองและนอกเมือง การขับขี่ที่เสถียรและประหยัดพลังงาน กลุ่มเป้าหมายได้แก่ กลุ่มครอบครัวและผู้ที่ชื่นชอบการเดินทาง ทั้งการใช้งานในชีวิตประจำวันและการออกทริปต่างจังหวัด

กระบะไฟฟ้ารุ่นแรกในไทย
 ผลิตภัณฑ์ตัวแรก ของ ริดดารา คือ RD6 โดยมีให้เลือก 4 รุ่นย่อยทั้งขับเคลื่อน 4 ล้อและ 2 ล้อ ดังนี้ 
RIDDARA RD6 2WD  มอเตอร์ 63kWh ราคา 899,000 บาท
RIDDARA RD6 2WD มอเตอร์  73kWh ราคา 999,000 บาท
RIDDARA RD6 4WD มอเตอร์  73kWh ราคา 1,149,000 บาท
RIDDARA RD6 4WD มอเตอร์  86kWh ราคา 1,299,000 บาท


4. ลีฟ มอเตอร์ (Leap Motor)

ลีฟ มอเตอร์เป็นแบรนด์ที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัย โดยเฉพาะในด้านระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติและเทคโนโลยี AI ล่าสุด รุ่นรถของลีฟ มอเตอร์มีระบบ AI และฟีเจอร์ช่วยเหลือการขับขี่แบบสมาร์ท ลีพมอเตอร์ เป็น​​ค่ายรถยนต์สตาร์ทอัพอยู่ในเครือของ สเตลแลนทิส (Stellantis) โดยจับมือกับพีเอ็นเอ กรุ๊ป เข้ามาทำตลาดไทยการเปิดแบรนด์จะมีขึ้นในงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 41 ปลายปีนี้เช่นกัน จุดเด่นของรถ คือ ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติและเทคโนโลยี AI ซึ่งทำให้ลีฟ มอเตอร์ เป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่ต้องการประสบการณ์ขับขี่อัจฉริยะที่ล้ำสมัย ส่วนกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้บริโภคที่มองหารถยนต์ไฟฟ้าที่มีเทคโนโลยีอัจฉริยะและระบบขับเคลื่อนที่ปลอดภัย คาดว่าลีฟ มอเตอร์ จะเป็นที่สนใจในกลุ่มคนที่ชื่นชอบนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ตอบสนองได้อย่างแม่นยำ


C10 รุ่นแรกของลีฟ
Leapmotor C10 เป็นรถรุ่นแรกที่จะเปิดตลาดภายใต้โครงสร้างรถแบบครอสส์โอเวอร์ หรือเอสยูวีขนาดกลาง มีมิติตัวรถ ความยาว 4,739 มม. ความกว้าง 1,900 มม. ความสูง 1,680 มม. และมีระยะฐานล้อ 2,825 มม. ส่วนระบบขับเคลื่อนของ C10 เป็นมอเตอร์ไฟฟ้าล้วน 100 % ในบ้านเราคาดว่าจะใช้ระบบขับเคลื่อนแบบมอเตอร์ไฟฟ้าเดี่ยว ขับเคลื่อนล้อหลัง โดยมาพร้อมกับมอเตอร์ไฟฟ้าที่ให้กำลังสูงสุด 230 แรงม้า แรงบิด 320 นิวตันเมตร อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ภายในเวลา 7.29 วินาที พร้อมชุดแบตเตอรีแบบ LFP ที่มีความจุให้เลือก 2 ขนาด คือ 52.9 กิโลวัตต์ชั่วโมง และ 69.9 กิโลวัตต์ชั่วโมง วิ่งระยะทางไกลสุดอยู่ที่ 360-420 กม./การชาร์จไฟเต็ม 1 ครั้ง (มาตรฐาน WLTP) ไฮไลท์ของรถยนต์รุ่นนี้จะใช้พแลทฟอร์ม LEAP3.0 ในชื่อว่า "Four Leaf Clover" ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ลีฟ มอเตอร์พัฒนาขึ้นเอง ส่วนคู่แข่งในตลาดโดยตรงได้แก่  ดีพอล เอส 07 ,เสี่ยวเผิง จี 6 จีลี อีเอกซ์ 5 (Aion V) ระดับราคาประเมินว่า อยู่ในระดับ 9 แสน-1.1 ล้านบาท


อนาคตรถจีนที่ต้องจับตามอง
ตลาดรถยนต์ไทยแม้ขนาดตลาดจะลดลงเหลือเพียงปีล่ะ 5.5 แสนคันจากที่เคยทำได้ถึง 1.3 ล้านคัน แต่ยังถือเป็นหนึ่งในตลาดที่น่าลงทุนที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ด้วยจำนวนประชากรที่มากและการเติบโตของกลุ่มชนชั้นกลาง ทำให้มีอำนาจการซื้อสูงในกลุ่มตลาดระดับบนขณะเดียวกันรัฐบาลไทยก็ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรม EV ทั้งลดภาษีนำเข้าและให้เงินอุดหนุนการเป็นเจ้าของรถยนต์พลังงานสอาดส่งผลให้ผู้ผลิตรถ EV จากจีนซึ่งมีเทคโนโลยีใหม่ๆ สามารถทำราคาที่จับต้องได้ ในขณะที่คู่แข่งจากค่ายรถญี่ปุ่นยังคงอยู่ระหว่างการปรับตัว

อย่างไรก็ตามมีข้อน่าสังเกตว่า ความพยายามเปลี่ยนใจผู้บริโภคด้วย"ราคา"ของรถยนต์แบรนด์จีน ทำให้ผู้บริโภคชาวไทยเกิดความไม่ไว้วางใจ รถจีนหลายแบรนด์เริ่มมีปัญหาในเรื่องการสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ารถจีนมีปัญหาเรื่อง การปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโภคชาวไทย ยังไม่รวมถึงข้อกังวลในระยะยาว จากข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีซึ่งตลาด HEV และ PHEV มีทิศทางที่เติบโตขึ้นมาก และวิธีคิดของการทำตลาดของจีน เช่น วิธีบริหารบริการหลังการขาย คุณภาพศูนย์บริการ รวมถึงการเสื่อมสภาพของรถ และการเสื่อมของมูลค่าที่เหลืออยู่หลังจากลูกค้าซื้อไปใช้งาน

 

 


แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว+

ยอมรับ