ภาพตลาดรถไทยเคยเฟื่องฟูในอดีตทำให้แบรนด์ซูบารุตัดสินใจขยายเครือข่ายในไทยจากนำเข้ารถมาจำหน่ายเป็นการเปิดกิจกรรมการผลิต แต่สุดท้ายเมื่อเร็วๆนี้มีรายงานว่ารถระดับ
"คาร์ ไอคอน"เตรียมหยุดกิจกรรมการผลิตซึ่งน่าจับตามองว่าเป็นเพราะอะไร?
ย้อยอดีตทุนในไทย
หลายคนรู้จักซูบารุชื่อชั้นของแบรนด์ที่เก่าแก่และโลดเล่นในตลาดโลกในฐานะ "แบรนด์ ไอคอน" ไม่ว่าที่ไหนมีสนามแข่งรถเราจะพบเห็นซูบารุจอดร่วมอยู่เสมอในฐานะรถของผู้ชม รถส่วนตัว
ของทีมหรือนักแข่ง และในฐานะรถที่ร่วมแข่งขันด้วยความเด่นในเอกลักษ์คือรถที่มีสมรรถสูงแบบสปอร์ต คาร์ เน้นวิศวกรรมนำหน้าความสวยงาม รวมถึงเทคโนโลยีเครื่องยนต์บ๊อกเซอร์และระบบขับเคลื่อน
สี่ล้อแบบสมมาตร (Subaru Symmetrical All-Wheel Drive)ซูบารุอยู่ในตลาดเมืองไทยมาทุกยุคทุกสมัยโตคู่มากับประวัติศาสตร์แต่ซูบารุก็ไม่สามารถเป็นหลักในด้านยอดขายหรือส่วนแบ่งตลาดได้
เช่นเดียวกับในตลาดโลก ซูบารุก็ยังเป็นรถที่มีคนนิยมเฉพาะกลุ่มซูบารุทุนสิงคโปร์ปัจจุบันในประเทศไทยซูบารุ ดูแลบริหารจัดการโดยตันจง อินเตอร์เนชั่นแนล ทุนจากสิงคโปร์บุคคลที่เป็นแกนนำคือ
เกลน ตัน รองประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ กลุ่มตันจง อินเตอร์เนชั่นแนล (TCIL)ซึ่งได้คว้าสิทธิ์การจำหน่ายรถซูบารุทั่วภูมิภาคเอเซียรวมถึงในไทยโดยนอกจากจะเปิดตลาด
ทำกิจกรรมการขายแล้วเมื่อ วันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2562 - กลุ่มตันจง อินเตอร์เนชั่นแนล (TCIL) ก็ได้เปิดโรงงานประกอบรถยนต์อย่างเป็นทางการแห่งแรกที่ประเทศไทย ณ
นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง มีพื้นที่รวมมากกว่า 100,000 ตารางเมตร ใช้เม็ดเงินลงทุน 5000ล้านบาท ทำการผลิตรถยนต์ซูบารุฟอเรสเตอร์ (Subaru Forester)
เครือข่ายซูบารุ
ความสัมพันธ์ระหว่างซูบารุกับ กลุ่มตันจง อินเตอร์เนชั่นแนล (TCIL)นั้น TCILซึ่งเป็นบริษัทแม่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง มีบริษัทลูก คือ ตันจง ซูบารุ ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด (TCSAT)
ได้ร่วมมือกับซูบารุ คอร์ปอเรชั่น(SBR)ประเทศญี่ปุ่นโดยกลุ่มTCIL ถือหุ้นร้อยละ 74.9 ผ่าน ซูบารุ คอร์ปอเรชั่น (SBR)ถือหุ้นที่เหลืออีก25.1% ในบริษัท ทีซี แมนูแฟคแจอริ่ง แอนด์ แอสเซมบลี(ประเทศไทย)จำกัด (TCMA)
ผู้บริหารโรงงานทีซีซูบารุ ลาดกะบังทำให้ไทยกลายเป็นฐานการผลิตสำหรับยุทธศาสตร์การรุกอาเซียนของซูบารุ เนื่องจากไทยซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสำคัญของภูมิภาคอาเซียน ผนวกกับข้อได้เปรียบของ
ข้อตกลงทางการค้าในประชาคมอาเซียน การตั้งโรงงานในประเทศไทยจะช่วยให้บริษัทฯ มีความคล่องตัวในการผลิตและการกำหนดราคารถยนต์ซูบารุ โดยยังคงไว้ซึ่งศักยภาพการแข่งขันในตลาดและ
เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น
กลยุทธ์CKD หลังเติบโตในไทย
การที่ซูบารุ สามารถผลิตรถยนต์ซูบารุในประเทศไทยได้ด้วยตนเองนั้นถือเป็นก้าวแรกของความสำเร็จครั้งสำคัญ การผลิตรถยนต์ซูบารุทำให้ตันจงสามารถวางแผนธุรกิจระยะยาวอย่างมียุทธศาสตร์ช่วยให้สามารถบริหาร
จัดการระบบห่วงโซ่อุปทาน(supply chain) ได้ดีขึ้น สามารถขยายสายการผลิตได้มากขึ้นทำการตลาดในระดับท้องถิ่นได้ดีขึ้นพึ่งพาความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นน้อยลง และสามารถตอบสนองความต้องการรถยนต์ซูบารุของผู้บริโภคในภูมิภาคนี้ได้ดีมากขึ้นโดยรถยนต์ซูบารุ ฟอเรสเตอร์ รุ่นที่ 5 ที่ถือเป็นรถยนต์แบบน็อคดาวน์ (completely knocked-down หรือ CKD) รุ่นแรกที่ถูกประกอบขึ้น และจะถูกจัดจำหน่ายในไทยมาเลเซีย เวียดนาม และกัมพูชาโดยมอเตอร์ อิมเมจ กรุ๊ป (Motor Image Group) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ TCIL รถล็อตแรกนั้นเป็นการส่งล็อตใหญ่จำนวน 100 คัน
ความเคลื่อนไหวของซูบารุครั้งนี้เพียงหยุดกิจกรรมของทีซี แมนูแฟคแจอริ่ง แอนด์ แอสเซมบลี (ประเทศไทย) จำกัด (TCMA) ไม่มีซัพพลายในประเทศอีกต่อไป ตันจงต้องกลับไปใช้แผนเดิมก่อนมีโรงงาน คือ การนำเข้ารถโดยตรงจากญี่ปุ่นซึ่งช่วงรอยต่อนี้ ไม่มีผลกระทบต่อการส่งมอบรถให้ลูกค้า
ท่ามกลางการเคลื่อนทัพของรถยนต์พลังงานใหม่โดยมีแบรนด์รถยนต์จากจีนเป็นหัวหอก นักวิเคราะห์ระดับโลกประเมินว่า รถยนต์ไฟฟ้าจะทำลายความเป็นไปของยานยนต์ยุคเก่าโดยค่ายรถที่ไม่แข็งแกร่งต้องถูกแรงเบียดออกไปจากตลาดซึ่งการถอนทัพภาคการผลิตของซูบารุจากไทยครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการทำลายล้างรถยุคเก่าหรือไม่ อย่างไรน่าติดตามกันต่อไป