จากกรณีโตโยต้าออกมายอมรับว่ามีการปรับแต่งชิ้นส่วนเพื่อการทดสอบของ Toyota YARIS ATIV ในการทดสอบการชนด้านข้างก่อนผลิตเพื่อจำหน่ายให้ผ่านมาตรฐาน UN-R95 แม้ผู้บริหารระดับสูงของโตโยต้าจะเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อแถลงชี้แจงการทดสอบครั้งใหม่เพื่อยืนยันผลการทดสอบที่มีปัญหา แต่ก็ยังมีขั้นตอนในการยื่นเอกสารการทดสอบต่อหน่วงงานภาครัฐ ซึ่งหนึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กำกับโดยกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานที่จัดทำ Eco Sticker ซึ่งต้องระบุการผ่านมาตรฐาน UN-R95
คำถาม ถ้าไม่ผ่านมาตรฐานจะมีผลอย่างไร..? คำตอบคือ มีผลทางภาษีแน่นอน เพราะรถยนต์ที่ผลิตออกจำหน่ายไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ประเภทใด จะต้องเป็นรถยนต์ที่ผ่านมาตรฐานตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด และหากรถยนต์ประเภทใดต้องการลดหย่อยภาษีเพิ่มเติมจากเกณฑ์ปกติ ก็ต้องผลิตรถยนต์ที่มีข้อกำหนดเพิมเติมตามแต่ละโครงการที่ภาครัฐออกนโยบายมาเช่น Eco Car (รถยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม) เป็นต้น โดยในเคสนี้ โตโยต้าจำหน่ายรถยนต์ไปแล้ว 39,757 คัน และมีรถผลิตรอการส่งมอบอีกจำนวนหนึ่งที่โรงงานโตโยต้า เกตเวย์ ซึ่งยังไม่ระบุจำนวน
มาตรฐานการทดสอบ UN-R95 (Protection of the Occupants in the event of a Lateral Collision) คือการทดสอบเพื่อพิสูจน์ความปลอดภัยของยานยนต์ในเรื่องการปกป้อง ผู้ขับขี่จากการชนด้านข้าง ข้อกำหนดทางเทคนิค UN-R95 จะเป็นการทดสอบโดยนำแบบจำลองหัวรถยนต์ที่สามารถยุบตัวได้ (Deformable Barrier) เคลื่อนที่พุ่งเข้าชนรถยนต์ทดสอบซึ่งจอดอยู่นิ่ง ในแนวตั้งฉากด้านข้าง (ด้านผู้ขับขี่) ด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ภายหลังการชน จะมีการตรวจสอบดังนี้
- สภาพของหุ่นจำลอง (ผู้ขับขี่) ได้แก่ การบาดเจ็บที่หัว ,การบาดเจ็บที่หน้าอก, Soft Tissue Criterion, แรงกดหน้าท้อง และแรงกดที่หัวหน่าว ดังนี้
- การรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Leakage) และระบบป้อนน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ต้องไม่เกินกว่า 30 กรัมต่อนาที
- ต้องสามารถนาหุ่นจำลองออกจากรถทดสอบได้
- ต้องสามารถปลดล็อคระบบป้องกัน (Protective System) ได้
- ไม่มีการเสียรูปของอุปกรณ์ภายในที่ทาให้แหลมคมและมีอัตราเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
หมายเหตุ
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่อะไร
หนึ่งในหน้าที่รับผิดชอบของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คือ บริการข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงลึกรายสาขา (Intelligence Unit)
ทำหน้าที่จัดเตรียมข้อมูลข่าวสารเชิงลึกและการวิเคราะห์ในแง่มุมต่างๆสำหรับอุตสาหกรรมไทย โดยข้อมูลข่าวสารในเชิงลึกต่างๆ เป็นข้อมูลที่ได้มาจากเครือข่ายระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเฉพาะทางต่างๆอันได้แก่ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สถาบันไฟฟ้าและอิเลกทรอนิกส์ สถาบันอาหาร สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย สถาบันยานยนต์ และสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ และในอนาคตเครือข่ายนี้จะเชื่อมโยงไปยังสถาบันอุดมศึกษา สภาอุตสาหกรรม และสถาบันเฉพาะทางในด้านอุตสาหกรรมอื่นๆอีก โดยองค์ประกอบหลักของระบบ Intelligence Unit มีดังต่อไปนี้
- ข้อมูลภาพรวมด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม แบบ One Stop Service คือมีการรวบรวมข้อมูลด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไว้ในที่เดียวกันเพื่อความสะดวกของผู้ใช้งาน
- ข้อมูลเชิงลึกในสาขาอุตสาหกรรมต่างๆอาทิเช่น ข้อมูลทางด้านการตลาด R&Dกฎหมาย ระเบียบและมาตรฐานอุตสาหกรรม
- ข้อมูลนำเข้าส่งออกจากประเทศต่างๆทั่วโลก
- บทวิเคราะห์ประเด็นร้อนแรงซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศไทย
- งานวิจัยทางด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
- ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ
- ข้อมูลการผลิตของภาคอุตสาหกรรม
- ระบบเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม