TH / EN

อีซูซู ส่งเครื่องดีเซล 2.2ใหม่ลุยตลาดปิคอัพ

20 November 2024

เช็ครายค่าย รถรุ่นสำคัญ มหกรรมยานยนต์ 2024

17 November 2024

Analysis new ISUZU engine. It is expected that the 1.9 and 3.0 engines will not be discarded...because..?

16 November 2024

GEELY Holding ซื้อหุ้น ZEEKR เพิ่ม..ปรับโครงสร้างการบริหาร มองการแข่งขันระยะยาว

16 November 2024

"สัญญาณเตือนครั้งใหญ่" อุตฯรถไทยเสี่ยงหลังเวียตนาม เริ่มส่งออกรถเข้าไทย

9 November 2024

ไทยยานยนตร์เปิดตัวคาราเวล Comfortline NGZ

8 November 2024

ฮอนด้า ยืนราคา เอชอาร์-วีอี:เอชอีวี รุ่นไมเนอร์เชนจ์

8 November 2024

จูนเหยา แอร์ ดึงมือดีเอ็มจี นั่งหัวเรือบุกตลาดไทย

7 November 2024

4 แบรนด์จีนหน้าใหม่ เปิดศึกรถยนต์ไฟฟ้าไทยปลายปี

6 November 2024

ศึกรถรอบใหม่ทัพแบรนด์จับ ยึดมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่41

5 November 2024

โตโยต้าจับมือซูซูกิ ส่งรถยนต์SUVไฟฟ้าโต้ค่ายจีน

4 November 2024

ดีแมคซ์"เบลด"ใหม่ ฉายาแรพเตอร์ คิลเลอร์

29 October 2024

No Data Found

Back To Page Article

"สัญญาณเตือนครั้งใหญ่" อุตฯรถไทยเสี่ยงหลังเวียตนาม เริ่มส่งออกรถเข้าไทย

9 November 2024| Number Of Visitors 155

ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญของอุตสาหกรรม รถยนต์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จนทั่วโลกขนานนามว่า"ดีทรอยด์แห่งเอเซีย" ความสามารถในการผลิตของไทยสูงมากจากการ สร้างรากฐานที่สำคัญมากว่า  60 ปี ประวัติศาสตร์การพัฒนาที่ทำให้ไทยโดดเด่น ในฐานะศูนย์กลางการผลิตของภูมิภาค  แต่ปัจจุบันความแข็งแกร่งในแง่ของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยกำลังจะปริแตกจากปัจจัยหลายอย่าง  สิ่งนี้ไม่ได้สะท้อนภาพเกินจริง เพราะหลังจากตลาดในประเทศอ่อนแอลงมากโดยไม่มีการเหลียวแลจากภาคนโยบาย ประกอบการการดำเนินนโยบายส่งเสริมรถยนต์พลังงานใหม่ที่ก่อให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียม  ทำให้การลงทุนหรือการรักษาฐานดั้งเดิมไม่จูงใจต่อบรรดาผู้ผลิตรถยนต์อีกต่อไป เห็นได้จากการเริ่มปิดโรงงานหรือหาแหล่งซัพพลายรถยนต์จากแห่งใหม่ โดยการโยกการผลิตออกนอกประเทศ

บรรดาผู้ผลิตรถยนต์ดั้งเดิมได้เริ่มกระจายฐานการผลิตไปสู่ประเทศอื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงประเทศที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซียและเวียตนาม กำลังทำให้ไทยต้องกลายเป็นเพียงตลาด ไม่จำเป็นต้องมีกิจกรรมการผลิต ล่าสุด การนำเข้ารถยนต์จากแห่งการผลิตใหม่ๆ เช่น เวียตนามโดยฮุนได มอเตอร์ นำเข้ารถยนต์รุ่น PALISDDE ชี้ให้เห็นภาพความจริงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตที่ว่า ไทยในฐานะผลิตกำลังลดความสำคัญลงไป

 เวียตนามส่งรถเข้าไทยครั้งประวัติศาสตร์

ฮุนได พาลิเสท เป็นรถยนต์เอสยูวี  3 แถว 7ที่นั่งรุ่นแรกที่ฮุนได โมบิลิตี้ (ประเทศไทย)จำกัด เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 พ.ย.2567 ที่ผ่านมา ถือเป็นรถยนต์เกาหลีที่ผลิตในเวียตนามและนำเข้าสำเร็จรูป(CBU)จากเวียตนามรุ่นแรกเข้ามาจำหน่ายยังตลาดประเทศไทย ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญที่เวียตนามสามารถผลิตรถยนต์และส่งมาไทยได้ แม้ว่า ก่อนหน้านี้ จะมีค่ายรถยนต์ไฟฟ้าของเวียตนามเองคือวินฟาสต์ เตรียมตัวทำตลาดในไทยแต่สุดท้าย วินฟาสต์ก็ถอนตัวออกไป

ความสำคัญของการที่ ฮุนได มอเตอร์ สั่งรถจากเวียตนาม เข้ามาจำหน่ายในตลาดไทยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสต์  นั้น กำลังชี้ให้เห็นว่า ความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ของไทย เริ่มมีความเสี่ยง ทั้งนี้มีรายงานว่า ฟอร์ด กำลังสนใจเพิ่มบทบาทฐานการผลิตในเวียตนามเพราะ สามารถจำหน่ายรถยนต์กระบะเรนเจอร์ได้จำนวนมาก มีโอกาสที่จะส่งออกรถยนต์บางรุ่นจากแหล่งผลิตแห่งนี้ในอนาคต

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในไทย

  1. ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นในไทย
    ประเทศไทยมีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับบางประเทศในอาเซียน เช่น เวียดนาม หรือ อินโดนีเซีย ที่มีค่าแรงถูกกว่า และอาจได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและการลงทุนที่ดีกว่า

  2. การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
    ในยุคที่ตลาดรถยนต์กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และรถยนต์ที่เชื่อมต่อกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้ผลิตรถยนต์ต้องการฐานการผลิตที่สามารถรองรับการพัฒนาและผลิตรถยนต์เหล่านี้ได้ นอกจากนี้ ความสามารถในการวิจัยและพัฒนา (R&D) ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญในการแข่งขัน

  3. ความสะดวกในการเข้าถึงตลาด
    ถึงแม้ว่าผู้ผลิตจะกระจายฐานการผลิตไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน แต่ประเทศไทยยังคงเป็นตลาดที่มีการบริโภคสูง และมีโครงสร้างการส่งออกที่ดี ดังนั้นการผลิตในประเทศไทยยังคงมีความสำคัญในการเข้าถึงตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคอื่น ๆ

  4. การเปลี่ยนแปลงในแนวโน้มการผลิต (EV และ Mobility)
    หากประเทศไทยสามารถปรับตัวและลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) หรือรถยนต์ที่มีเทคโนโลยีอัตโนมัติ ก็จะสามารถรักษาตำแหน่งเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาคได้ นอกจากนี้ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ EV เช่น สถานีชาร์จ และนโยบายที่สนับสนุนการพัฒนา EV จะเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาความแข็งแกร่ง

  5. การกระจายฐานการผลิตในภูมิภาค
    แม้ว่าประเทศไทยจะยังคงเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ แต่การที่ผู้ผลิตรถยนต์เริ่มกระจายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น ๆ จะทำให้ประเทศไทยต้องแข่งขันกับประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า ดังนั้น อุตสาหกรรมรถยนต์ในไทยอาจต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขัน โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนต่าง ๆ เช่น การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ระดับโลก หรือการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง

 


Share this article


Related News/Articles

Analysis new ISUZU engine. It is expected that the 1.9 and 3.0 engines will not be discarded...because..?

16 November 2024

BYD ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าตลาดรถไทย และบทเรียนของผู้เร่งซื้อBEV

3 July 2024

ซูซูกิ ปิดโรงงานในไทย นัยยะแฝงที่มากกว่าแค่หยุดผลิต

7 June 2024

Insight into the Thai car market The first quarter of 2024 deteriorated. It is expected that the second quarter will continue to slow down.

7 May 2024

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 April 2024

MAZDA ก้าวข้ามอีวีด้วยพันธมิตรจีน

16 April 2024

เจาะลึกช่วงล่างเบื้องหลังความดุดันบนทุกเส้นทางของ Ford Ranger Raptor

1 March 2024

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 3: ไม่แถมไม่แจก Scarcity Strategy กระบะ TFR ประสู่ยุคทอง

16 January 2024

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ Privacy Policy

Accept