TH / EN

เปิดสเปค ฟอร์ด เรนเจอร์ PHEV จัดเต็มแบตอึด 6.9 กิโลวัตต์

4 October 2024

หลุดข่าว กระบะรีโว่ วางขุมพลัง 400 แรงม้า

30 September 2024

บีวายดี บุกปารีสมอเตอร์โชว์เจาะตลาดยุโรป

29 September 2024

เชอรี่เปิดคลังอะไหล่พร้อมส่งทั่วประเทศ 3 วันทำการ

26 September 2024

เดโก้ประชุมตัวแทนเล็งเป้าขึ้นนำตลาดมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า

26 September 2024

สมาคมรถยนต์จีนแสดงความกังวลเกี่ยวกับการปิดตัว

25 September 2024

โตโยต้า ขุมพลังไฮบริด ดีเซล จับตาเปิดตลาดไทยเร็วๆ นี้

25 September 2024

กระบะไฟฟ้า"ริดดารา"เปิดจอง 1,000 สิทธิ วันนี้

25 September 2024

จีนเริ่มห้ามรถยนต์ไฟฟ้าจอดชั้นใต้ดิน

18 September 2024

จีลี่ตั้ง"ริดดารา"ไทยแลนด์ จัดทัพกระบะบุกไทย ต.ค.67

17 September 2024

จับตาญี่ปุ่นเคลื่อนทัพอีวีด้วยระยะวิ่ง1000 กม.

8 September 2024

Mercedes-AMG CLE 53 4MATIC+ Coupé สปอร์ตคูเป้เบนซิน 6 สูบ เปิดราคาประกอบไทย 5,250,000 บาท

7 September 2024

No Data Found

Back To Page Article

สำรวจภาพไทยกับทุนใหม่ ในวันที่รถญี่ปุ่นอ่อนแรง

9 December 2023| Number Of Visitors 1,211

 

 

ต้องบอกว่าไทยเรานั้นเคยมีความแข็งแกร่งในการผลิตรถยนต์ ติด 1 ใน 10 ของโลก เป็นผลมาจากปัจจัยในอดีต คือการย้ายทุนออกนอกประเทศของญี่ปุ่น ซึ่งถูกกดดันให้เงินเยนแข็งค่าจนการผลิตรถในประเทศมีต้นทุนสูง แข่งขันไม่ได้ ต้องมองหาแหล่งผลิตแห่งใหม่ที่มีราคาถูก และเป็นโอกาสของไทยเราที่สามารถจูงใจทุนเหล่านั้นให้มาตั้งฐานการผลิตได้ เวลานั้นเทียบกันประเทศอื่นๆ สภาพแวดล้อมของไทยเรายังดีอยู่ ส่วนปัจจุบันไทยเป็นอย่างไร ผมสรุป ไว้เป็นข้อๆ ให้ดู

 

1. ไทยเป็นประเทศที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ (ใกล้เคียงฝรั่งเศษ) ในปี 2534 มีประชากร 63 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 80 ล้านคน หรือ 100 ล้านคนใน 20-30 ปีข้างหน้า ซึ่งเวลาผ่านไปไทยมีปัญหาเรื่องอัตราการเพิ่มของประชากรเสียแล้ว ข้อนี้เลยจบไป

 

2. ขนาดของตลาดรถยนต์และความต้องการภายในประเทศตอนปี 2534 คาดว่าตลาดจะเพิ่มขึ้นจาก 6 แสนคันเป็น 1-1.3 ล้านคันใน 10-15 ปี เราก็คิดว่าไทยนั้นใหญ่สุดในอาเซียน ซึ่งขนาดตลาดเพียงพอที่ค่ายรถ จะลงทุนในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพราะมีตลาดขนาดใหญ่รองรับ และสามารถขยายสายผลิตภัณฑ์ไปสู่การส่งออกเพิ่มขึ้นได้ ข้อนี้ผ่านมาจะ 30 ปีแล้วตลาดเรายังขึ้นๆ ลงๆ ปี 2566 ก็ถอยลงมาต่ำกว่า 1 ล้านคันตลาดใหญ่ย้ายไปที่อินโดนีเซีย

 

3. ไทยมีระบบคมนาคมและถนนครอบคลุมพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากมายด้วยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลอย่างชัดเจน มีการสร้างถนนที่มีผลต่อความต้องการใช้รถยนต์ข้อนี้เราทำได้ 25 ปีกับจำนวนความยาวของถนนลาดยาง พื้นฐานนี้ดีมาก

 

4. บรรยากาศที่ดีในการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในเรื่องเงื่อนไขจูงใจด้านภาษีเงินได้และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ส่วนนี้ไทยก็ทำได้ดี แต่คู่แข่งอย่างอินโดฯ มาเลฯ 2 คู่แข่งของเรา เขาก็เสนอเงื่อนไขส่งเสริมการลงทุนแข่งกับเราทุกปีโดยเฉพาะอินโดฯ ในเรื่องการแข่งขันเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า

 

5. คนไทยเป็นมิตรและไม่ต่อต้านต่างชาติ ขยันขันแข็ง หัวอ่อน สอนง่าย ทำให้คนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนและทำงานในไทย มีความสุข สบายใจ และมักจะพาครอบครัวมาพำนักในไทย ข้อนี้..เวลาเปลี่ยนไปทุกคนเรียนรู้ว่าควรทำอย่างไร เวียตนามก็พัฒนาฝีมือแรงงานไปมาก อย่าไปแข่งกันจีนและอินเดีย เพราะคุณภาพคนเราอาจสู้เขาไม่ได้

 

6. รัฐบาลไทยมีเสถียรภาพมีความต่อเนื่องในนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของต่างชาติ ข้อนี้ เห็นทีต้องละเว้นเพราะไว้ใจอะไรไม่ได้เกี่ยวกับการเมือง แต่ความต่อเนื่องในการส่งเสริมการลงทุนของไทยเรา ถือว่าทำได้ดีมาตลอดยกเว้นตอนมีรถยนต์ไฟฟ้าที่เราต้องเปลี่ยนเป้าหมายคนที่เคยลงทุนไว้ก็อาจเคืองนิดหน่อย เช่นอีโค คาร์

 

7. มีค่าครองชีพและเงินเดือนค่าจ้างที่ยังต่ำ แม้จะไม่ถูกที่สุดในอาเซียน แต่เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพของคนทำงานและความรู้ของคนทำงานแล้ว คุ้มค่าแข่งขันได้ ข้อนี้ผมว่าผิดนะครับ เพราะค่าครองชีพต่ำก็จริงแต่รายได้เราก็ต่ำมาก สรุปแล้วของกินของใช้ในไทยพวกเรายังคงจ่ายแพงมาก เมื่อเทียบกับรายได้

 

8. "รถยนต์ที่นิยมในจีนก็แตกต่างจากรถยนต์ที่นิยมในไทย รถยนต์ที่ผลิตในจีนในอนาคต แม้อาจจะส่งมาขายในประเทศไทยก็อาจจะไม่ได้รับความนิยม" ข้อนี้ เห็นได้ชัดว่า ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ รถจีนก้าวออกมาสู่ตลาดโลก และได้รับการยอมรับมากมาย

 

9. ในอดีตเราต้องการเพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ลดการขาดดุลการค้า ทำให้เรามีการพัฒนาความสามารถของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์อย่างต่อเนื่อง จนสามารถผลิตชิ้นส่วนขั้นพื้นฐานต่างๆได้ แต่ยังขาดชิ้นส่วนหลักที่มีมูลค่าเพิ่มสูงๆ และที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและเงินลงทุนสูงมากๆ ดังนั้นต้องพยายามส่งเสริม การผลิตชิ้นส่วนหลักๆ เช่นเครื่องยนต์ เกียร์ ระบบบังคับเลี้ยว ระบบไฟฟ้า เป็นต้น ใช่ครับในเวลานั้นเราต้องการส่งเสริมเทคโนโลยีแพงๆหรือกลุ่มชิ้นส่วนที่เรายังไม่สามารถเข้าถึงได้ แต่วันนี้เทคโนโลเปลี่ยนไป เราไม่ได้ต้องการเครื่องยนต์ เราต้องการมอเตอร์ และแบตเตอรี่ เราต้องการระบบบริหารจัดการไฟฟ้า ไม่ได้ต้องการแค่บริษัทผลิตสายไฟ ชิ้นส่วนหลักของรถเปลี่ยนไปเราจะเพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้อีกหรือไม่..?

 

แนวคิดของโลกยานยนต์เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เงื่อนไขที่เคยได้เปรียบในอดีตของเราแทบไม่เหลืออะไรที่เป็นข้อได้เปรียบมากนัก ยุคหนึ่งรถญี่ปุ่นนำพาเราแข็งแกร่งพอมายุคใหม่ญี่ปุ่นเคลื่อนช้าเหมือนอ่อนล้าลงไป ไทยนั้นต้องหันไปดูดเม็ดเงินจากทุนใหม่คงมองเห็นว่าผมหมายถึงใคร การพึ่งพาทุนใหม่เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยก้าวไปข้างหน้าทำได้ ทำแล้ว ส่วนระยะยาว ในแง่ของการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ไปจากเราจะมากน้อยแค่ไหน และไว้ใจได้หรือเปล่าเป็นอีกเรื่องนึง....ที่ต้องรอดูกันต่อไป

 

บทความโดย: ยุทธพงษ์ ภาษี


Share this article


Related News/Articles

BYD ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าตลาดรถไทย และบทเรียนของผู้เร่งซื้อBEV

3 July 2024

ซูซูกิ ปิดโรงงานในไทย นัยยะแฝงที่มากกว่าแค่หยุดผลิต

7 June 2024

Insight into the Thai car market The first quarter of 2024 deteriorated. It is expected that the second quarter will continue to slow down.

7 May 2024

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 April 2024

MAZDA ก้าวข้ามอีวีด้วยพันธมิตรจีน

16 April 2024

เจาะลึกช่วงล่างเบื้องหลังความดุดันบนทุกเส้นทางของ Ford Ranger Raptor

1 March 2024

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 3: ไม่แถมไม่แจก Scarcity Strategy กระบะ TFR ประสู่ยุคทอง

16 January 2024

อีซูซุ ซีรีย์ ตอนที่ 2: เมืองหลวงข้าใครอย่าแตะ

8 January 2024

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ Privacy Policy

Accept