TH / EN

วิเคราะห์ -ข่าวร้ายส่งท้ายปี เนต้าบนเส้นด้าย" เมื่อบริษัทแม่อ่อนแอ บริษัทลูกย่อมขาดอากาศหายใจ"

26 December 2024

กระหึ่มโลก ฮอนด้า นิสสัน มิตซูบิชิ ตกลงผนวกกิจการ

24 December 2024

ฮอนด้า นิสสันเตรียมเจรจาควบกิจการ

18 December 2024

MOTOR EXPO 2024 ปิดฉากสวยยอดจองกว่า 5 หมื่นคัน

11 December 2024

สำรวจหน้างาน มหกรรมยานยนต์ ครึ่งทาง ลดแล้วลดอีกหน้างานลดฉ่ำ

6 December 2024

โฟตอน มอเตอร์ ผนึก คัมมินส์ เปิดโรงงานเครื่องยนต์ในไทย

6 December 2024

ชิมลางกระบะดีเซล-GWM

5 December 2024

เนต้า ย้ำมั่นใจผ่านมรสุมการเงินหลังหนานหนิง อินดัสเทรียล เข้าถือหุ้นใหญ่

3 December 2024

เปิดสเปก กระบะไฟฟ้า FOTON eTUNLAND หนึ่งชาร์จวิ่ง 350 กิโลเมตร

1 December 2024

โตโยต้า ส่ง GR ซีรี่ส์ เจาะตลาดเก๋งสมรรถสูง

30 November 2024

Isuzu brings a car parade to show off the 2.2L diesel power of the future.

30 November 2024

มาสด้า เปิดตัวกระบะ BT-50 ดีเซล 2.2

29 November 2024

No Data Found

Back To Page Article

ซูซูกิ ปิดโรงงานในไทย นัยยะแฝงที่มากกว่าแค่หยุดผลิต

7 June 2024| Number Of Visitors 578

ดูเหมือนวงการรถยนต์ไทยกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากนโยบายที่ขาดการมองภาพรวมโดยละเลยรากฐานที่แข็งแกร่งของอุตสาหกรรมยานยนต์เดิม กำลังบีบให้ผู้ผลิตรถยนต์ (OEMs) ในไทยต้องตกอยู่ในสภาวะที่ยากลำบาก และเป็นที่มาของ 10 วันปิด 2 โรงงาน

ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ได้มีประกาศเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2567 ถึงการตัดสินใจยุติการผลิตที่โรงงานผลิตรถยนต์ของบริษัทในเครือในประเทศไทย หรือ บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (ซึ่งต่อไปนี้จะถูกเรียกว่ำ "SMT") โดยการตัดสินใจในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนโครงสร้างการผลิตของซูซูกิทั่วโลก



แถลงการณ์ซูซูกิ มอเตอร์

ตามที่รัฐบาลไทยได้มีการส่งเสริมการลงทุนรถยนต์อีโคคาร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ในเวลาดังกล่าวซูซูกิได้สมัครเข้าร่วมโครงการและก่อตั้ง SMT ขึ้นในปี พ.ศ. 2554 หลังจากที่ได้รับการอนุมัติจึงได้มีการเริ่มดำเนินการผลิตขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมาโดยสำมารถผลิตและส่งออกได้มากถึง 60,000 คันต่อปี ทั้งนี้ด้วยการส่งเสริมความเป็นกลางทางคาร์บอนและการใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าของทั่วโลก ซูซูกิได้มีการพิจารณาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระดับโลก จึงได้ตัดสินใจยุติการดำเนินการของโรงงาน SMT ภายในช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2568 นี้ แม้จะมีการยุติการดำเนินการของโรงงานในประเทศไทยแต่ SMTจะยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจในการจำหน่ายและให้บริการหลังการขาย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าชาวไทยต่อไป ซึ่งจะมีการปรับแผนธุรกิจเป็นการนำเข้ารถยนต์จากโรงงานในภูมิภาคแถบอาเซียน รวมถึงประเทศญี่ปุ่นและประเทศอินเดียนอกจากนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนและให้สอดคล้องในการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนตามนโยบายของภาครัฐบริษัทฯ จะมีการแนะนำรถยนต์ไฟฟ้า รุ่นต่างๆ รวมถึง HEVs เข้าสู่ตลาดในอนาคตด้วยเช่นกัน


ไทยสูญเสียศักยภาพฐานผลิต ICE ของโลก

เบื้องหลังการประกาศปิดโรงงานของซูซูกิและซูบารุ: เป็นสัญญาณเตือนสำหรับอนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ห้วงเวลาไม่ถึง 1เดือนประเทศไทยสูญเสียฐานการผลิตยานยนต์ ICE ไปถึง 2 แห่ง เหตุการณ์นี้สร้างความตื่นตะลึงให้วงการอุตสาหกรรมและสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่กำลังเกิดขึ้น การประกาศปิดโรงงานของ ซูบารุ ซึ่งประกาศผ่านบริษัท ทีซี แมนูแฟคแจอริ่ง แอนด์ แอสเซมบลี (ประเทศไทย) จำกัด (TCMA) ผู้บริหารโรงงานทีซีซูบารุ ลาดกะบัง ตามด้วย ซูซูกิ กลายเป็นสัญญาณเตือนว่า "ไทยกำลังสูญเสียสถานะฐานผลิตรถยนต์ต้นทุนต่ำ"ที่เคยเป็นจุดแข็งดึงดูดบริษัทยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น



 "จากนี้ไปไทยไม่ใช่แหล่งผลิตรถยนต์ต้นทุนต่ำอีกต่อไปจากที่เคยเป็นทำเลสำคัญของภูมิภาคตามยุทธศาสต์ค่ายรถญี่ปุ่นที่ใช้ไทยสร้างความได้เปรียบในแง่การแข่งขัน" แหล่งข่าวระบุ จากถ้อยแถลงของซูซูกิ มอเตอร์ ชี้ชัดว่าไทยไม่อยู่ในแผนเพิ่มศักยภาพการผลิตระดับโลกของซูซูกิ ทำให้ซูซูกิต้องหาแหล่งผลิตใหม่ที่ได้เปรียบมากกว่าไม่ว่าจะเป็นอินเดีย อินโดนีเซีย การเสียสมดุลเช่นนี้ได้เขย่าความเป็นดีทรอยด์แห่งเอเซียอย่างถึงรากเลยทีเดียว



การปิดโรงงานของซูบารุ และซูซูกิ มีลักษณะคล้ายกันคือ หันไปทำ"ตลาดรถนำเข้า"(CBU) ซึ่งหมายถึงซัพพลายเออร์ ภาคแรงงานและอุตสาหกรรมต่อเนื่องต้องสูญเสียตลาดไปด้วย เมื่อพิจารณา ผลประกอบการ การจำหน่ายรถของซูบารุและซูซูกิ มีสถานการณ์เหมือนกันคือ ยอดขายในประเทศเริ่มลดลงแม้ยังไม่ถึงขั้นวิกฤตขนาดต้องปิดโรงงานแต่ ทั้ง 2 ชิงที่จะจัดการปัญหายุ่งยากที่กำลังจะตามมาในอนาคต ความจริงๆ ซูซูกิและซูบารุยังมีศักยภาพทางการตลาด หากไม่มีโอกาสทั้งคู่คงจะถอนเรื่องการทำตลาดออกไปด้วย สำหรับ ซูซูกิพิจารณาจากปริมาณการขาย ปี 2566 มียอดขายรวม 12,154 คันและ ช่วง 4 เดือนปี 2567 (ม.ค.-เม.ย.67) ซูซูกิ มียอดขายรวม 2,677 คันอยู่ในลำดับที่ 13 ของตลาดจากรถทั้งหมด 61 ยี่ห้อ ในขณะที่ซูบารุ ปี 2566 มียอดขายรวม 2,032 คัน แต่ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ซูบารุทำยอดได้เพียง 476 คันเป็นลำดับที่ 23 จากรถทั้งตลาด 61 ยี่ห้อ



นโยบายรถยนต์ไฟฟ้า ตัวเร่งปฎิกริยา

 อะไรคือปัญหา? ทั้งซูซูกิและซูบารุคงมองเห็นคำตอบชัดเจน  การผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคเพิ่มสัดส่วนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (ZEV) ให้เป็น 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี 2573 รายละเอียดการส่งเสริมแต่ละช่วงเวลา คือตัวเร่งการตัดสินใจ นโยบายส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐซึ่งต้องการลดการปล่อยมลพิษและส่งเสริมสังคมคาร์บอนต่ำ ดูเหมือนเป็นการใช้ภาษาสวยหรูเข้ากับยุคสมัยแต่อีกความหมายหนึ่งคือ การพยายามละทิ้งโรงงานผลิตที่ถูกมองว่าเก่า ไม่เข้ากับการตื่นตัวของยุคโลกเขียว

 

ดูเหมือนว่า ภาครัฐไม่ได้ให้ความสำคัญต่อผู้ผลิตรถดั้งเดิมที่มีส่วนนำพาเศรษฐกิจไทยให้เติบโต เพราะเขาเหล่านั้นยังคงพึ่งพาการผลิตยนตรกรรมที่ใช้เครื่องยนต์ ICE  ในขณะที่เงื่อนไนของรัฐบาลไทยทั้งภาษีภายในและภาษีนำเข้า ให้ความได้เปรียบสำหรับ รถโลกสีเขียวและรถยนต์นำเข้าสำเร็จรูป โดยเฉพาะภาษีสรรพสามิตที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาโลกจากมลพิษมากกว่าจะรักษาโรงงานประกอบรถในประเทศไว้ ทั้งที่ ณ.เวลานี้ การผลิตและการส่งออกรถยนต์จากไทย ยังสามารถป้อน รถ ICE ไปยังซีกโลกที่ไม่มีความพร้อมด้านพื้นฐานของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างมีศักยภาพ  

"ผู้ประกอบการที่สนองนโยบายภาครัฐก่อนหน้านี้อย่างซูซูกิ โตโยต้า ฮอนด้า มาสด้า นิสสัน ต่างคิดว่า หลังโครงการอีโคคาร์สิ้นสุดลง พวกเขายังคงได้รับการดูแลในฐานะ OEM ที่ลงทุนมหาศาลแต่เขาเหล่านั้นคาดการณ์ผิด เพราะนโยบายใหม่ ผลักพวกเขาทิ้งทันทีทันใด



เมื่อดูองค์ประกอบเราพบว่ามีปัจจัยหลักที่ผลักดันให้ซูซูกิและซูบารุตัดสินใจถอนโรงงาน  3 ประการคือ 

1.ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น: ปัจจัยต่างๆ เช่น ค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ และค่าเงินบาทที่แข็งค่า ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของไทย

 
2.การเปลี่ยนแปลงไปสู่เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า: ทั้งซูบารุและซูซูกิ ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งอาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุนในโรงงานประกอบรถยนต์แบบดั้งเดิมในไทย


3.ตลาดในประเทศที่หดตัว: ยอดขายรถยนต์ในประเทศไทยสำหรับทั้งสองแบรนด์มีแนวโน้มลดลง บ่งชี้ถึงการแข่งขันที่รุนแรงและความท้าทายในการกระตุ้นยอดขาย



ถ้าจำกันได้คำกล่าวของ อาคิโอะ โตโยดะ ประธานโตโยต้าในงานฉลอง 60 ปีของโตโยต้าในไทยได้ ที่เขากล่าวไว้ว่า "ประเทศไทยเหมือนบ้านหลังที่ 2 ของเขา" เพราะโตโยต้า ในฐานะแกนนำของรถระดับโลกได้ลงทุนมหาศาลในไทย รวมถึง การเขียนประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของอุตสาหกรรยานยนต์ญี่ปุ่นโดยที่มีไทยเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์นั้น แต่จากทิศทางที่เป็นอยู่แบรนด์จีน ที่เป็นเหมือนตัวแทนของรถยนต์ไฟฟ้ากำลังไล่ทุบส่วนแบ่งตลาดของรถดั้งเดิม ในไทยก็ไม่เว้นเช่นกันดังนั้นบ้านหลังที่ 2 ของโตโยต้า กำลังถูกเคาะประตูและจากเหตุการณ์ถอนการผลิตของ 2 พันธมิตรโตโยต้าไทยอาจไม่ใช่เมืองหลวงผลิตรถของญี่ปุ่นอีกต่อไป 



"ในเหตุการณ์เราคงข้ามการวิเคราะห์ การชิงไหวชิงพริบระหว่างค่ายรถญี่ปุ่น กับค่ายรถจีนในเมืองไทยไปไม่ได้ เพราะอย่างลืมว่า 2 ค่ายที่ปิดโรงงานไป คือ พันธมิตรระดับโลกของโตโยต้า พันธมิตรของญี่ปุ่นนี้ได้รวมกันอย่างหลวมๆ ประกอบไปด้วย มาสด้า ซูบารุ และซูซูกิ เพื่อผนึกกำลังต้านแรงเสียดทานจากกระแสรถยนต์ไฟฟ้า  โดยเฉพาะการประกาศว่า ซูบารุ มาสด้า และโตโยต้าได้ร่วมมือกันเพื่อสร้างเครื่องยนต์ไฮบริด และปลั๊กอินไฮบริดสมัยใหม่ มีส่วนทำให้ความโน้มเอียงของนโยบายของแต่ละประเทศที่มุ่งไปรถยนต์ไฟฟ้าสะดุดลง ซึ่งก็หมายถึงการต้านจีนนั่นเอง"

 

แม้ว่าความร่วมมือระหว่างโตโยต้า กับพันธมิตรจะเริ่มเดินเครื่องแต่ก็ช้าไปสำหรับคลื่นที่ถาโถม ค่ายเล็กที่เป็นสมาชิกคงแบกไม่ไหว แม้จะอ้างว่าเป็นการปรับเพื่อรับกับแผนผลิตระดับโลกแต่ปฎิเสธไม่ได้ว่าลึกๆแล้วรถยนต์ไฟฟ้ามีผลกระทบร้ายแรงต่อพวเขา  อย่างไรก็ตาม เบื้องลึกแล้วฝั่งญี่ปุ่นมีการต่อรองกับรัฐบาลไทยเพื่อรักษาสมดุลให้กลับคืนมาอย่างไรก็ตามมันยังไม่ได้ผลมากนัก เพราะ ทีมกำหนดยุทธศาสตร์ยานยนต์ของไทยยุคใหม่ ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์เวลานี้ คือทีมจากสายพลังงาน ไม่ใช่ทีมจากภาคอุตสาหกรรมเหมือนในอดีตตลอด 40 ปีที่ค่ายญี่ปุ่นคุ้นเคย  ดังนั้นการเจรจาต่อรองและคุณค่าในอดีตจึงไม่ถูกยกมากให้ความสำคัญ



"เมื่อนโยบายรัฐมองไม่เห็นความสำคัญของรากฐานอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยดั้งเดิม บรรดาผู้ผลิตOEM ซึ่งที่อยู่ในสภาพกดดันจากการ Destruction ระดับโลกอยู่แล้ว ก็ต้องคิดหนักพอสมควรว่าจะอยู่รอเพื่อไปต่อ หรือ หยุดแค่นี้ นี่ไม่รวม แรงกดจากกำลังซื้อระดับประเทศที่ลดลงและเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการแข่งขันไม่เท่าเทียม ในตลาดทางด้านราคา จากผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า"

 

การเปิดเจรจาเพื่อร้องขอการปกป้องอุตสาหกรรมการผลิตที่OEMได้ลงทุนไปมหาศาล เช่น เงื่อนไขการส่งเสริมในส่วนของต้นทุนสินค้าเพื่อให้แข่งขันได้อย่างเป็นธรรม จากรถจีน รวมถึงทิศทางนโยบาย ที่ชัดเจน ซูซูกิไม่มีรถกระบะ ไม่มีรถยนต์ไฟฟ้า ในขณะที่โตโยต้า อีซูซู สามารถเจรจา หนุนกระบะไฟฟ้าของตัวเองได้ดังนั้นค่ายเล็กที่ยังไม่พร้อมก็ต้องหยุดไป และในเชิงการแข่งขันระดับโลกดูเหมือน การทำให้ญี่ปุ่นหยุดผลิตจะเป็นเป้าหมายของฝั่งคู่แข่ง ที่ต้องการให้เป็นไป 


อนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตครั้งสำคัญ นโยบายที่ขาดการมองภาพรวม มุ่งเน้นไปที่ยานยนต์ไฟฟ้าเพียงด้านเดียว โดยละเลยรากฐานที่แข็งแกร่งของอุตสาหกรรมยานยนต์เดิม จึงบีบให้ผู้ผลิตรถยนต์ (OEMs) ตกอยู่ในสภาวะที่ยากลำบาก และเชื่อว่าหากเป็นเช่นนี้ต่อไป คงมีค่ายรถดั้งเดิมอีกหลายค่าย พร้อมจะเดินตามรอย ซูบารุและซูซูกิไปเป็นแน่


บทความโดย: ยุทธพงษ์ ภาษี


Share this article


Related News/Articles

วิเคราะห์ -ข่าวร้ายส่งท้ายปี เนต้าบนเส้นด้าย" เมื่อบริษัทแม่อ่อนแอ บริษัทลูกย่อมขาดอากาศหายใจ"

26 December 2024

Analysis new ISUZU engine. It is expected that the 1.9 and 3.0 engines will not be discarded...because..?

16 November 2024

"สัญญาณเตือนครั้งใหญ่" อุตฯรถไทยเสี่ยงหลังเวียตนาม เริ่มส่งออกรถเข้าไทย

9 November 2024

BYD ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าตลาดรถไทย และบทเรียนของผู้เร่งซื้อBEV

3 July 2024

Insight into the Thai car market The first quarter of 2024 deteriorated. It is expected that the second quarter will continue to slow down.

7 May 2024

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 April 2024

MAZDA ก้าวข้ามอีวีด้วยพันธมิตรจีน

16 April 2024

เจาะลึกช่วงล่างเบื้องหลังความดุดันบนทุกเส้นทางของ Ford Ranger Raptor

1 March 2024

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ Privacy Policy

Accept