TH / EN

์NETA เคาะราคาNETA X ชน BYD เริ่ม 7.34 แสน

25 July 2024

รถยนต์ 6 เดือนแรก ติดลบ 23.35%

24 July 2024

เรเว่ เคาะแผนเยียวยาชาร์จฟรี 6เดือน

19 July 2024

วินฟาสต์ เคาะราคา VF5 รถไฟฟ้าคันแรกบุกไทย 6.3แสน

18 July 2024

ซูซูกิ อัพเดทแผนดำเนินธุรกิจในไทย พร้อมส่งรถยนต์ไฟฟ้าลงตลาดปี68

18 July 2024

เปิดสเปคโหดตัวพ่อ"แร็พเตอร์ T1 ดาการ์ แรลลี่

18 July 2024

GAC AION เปิดโรงงานในไทยอย่างเป็นทางการ

17 July 2024

เมอร์เซเดส-เบนซ์ เปิดแคมเปญ Worry-Free ดันยอด EQS 500

15 July 2024

โอโมดาแอนด์เจคู ส่งC5 EV ทดสอบบนถนนจริง

15 July 2024

ตลาดรถออสซี่ ครึ่งปีแรก67 เติบโต 8.7%

14 July 2024

จินตนาการใหม่! กระบะ นิสสัน Next Gen ยล โฉม Navara รุ่นอนาคต ร่วมพัฒนากับมิตซูบิชิ

14 July 2024

ซีเคอร์ ส่งรุ่น X ราคา 1.19ล้านบาทประเดิมตลาดไทย

12 July 2024

No Data Found

Back To Page Article

อีซูซุ ซีรีย์ ตอนที่ 2: เมืองหลวงข้าใครอย่าแตะ

8 January 2024| Number Of Visitors 1,391

 

 

เป็นความจริงเรื่องความยิ่งใหญ่ของอีซูซุในเมืองไทย อีซูซุทำได้อย่างน่ามหัศจรรย์มาก เพราะเหนือความคาดหมายทั้งในการยอมรับในสินค้า ความจงรักภักดีต่อตราสินค้า และความสามารถในการผลิตของโรงงานอีซูซุเอง เรียกว่าหักทุกปากกาเซียนการตลาด เบื้องหลังความสำเร็จส่วนหนึ่งมาจากงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ รถอีซูซุส่วนใหญ่ ทำที่เมืองไทยครับ โดยมี บริษัทอีซูซุ มอเตอร์ รับผิดชอบด้านวิศวกรรม ซึ่งอีซูซุได้ย้ายฐานการผลิตรถเพื่อการพาณิชย์ขนาด 1 ตัน (รถปิกอัพ) จากประเทศญี่ปุ่นมาอยู่ที่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2545 และต่อมาก็ได้ย้ายงานวิจัยและพัฒนารถเพื่อการพาณิชย์ขนาด 1 ตัน (รถปิกอัพ) มาอยู่ที่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2553 ซึ่งตรงนี้มีความสำคัญ เพราะว่า..การจะพัฒนารถให้ตรงความต้องการของลูกค้าจำเป็นต้องมีงานวิจัยในตลาดนั้นๆอย่างใกล้ชิด และอีซูซุก็เช่นเดียวกับญี่ปุ่นอีกหลายค่ายที่เข้ามาทำกิจกรรมการพัฒนารถและผลิตในตลาดหลักของตัวเอง ทั้งนี้ไทยเปรียบเหมือนเมืองหลวงของอีซูซุนอกจากจะทำตลาดได้ดี ขายรถได้มากเป็นอันดับสองของตลาดรวม และเป็นอันดับหนึ่งในเซกเมนต์รถยนต์เพื่อการพาณิชย์แล้ว ยังใช้ไทยเป็นฐานผลิตส่งออกรถยนต์ไปในตลาดทั่วโลก

 

คู่แข่งในตลาดยุคแรกๆ ของอีซูซุมีมากมาย ช่วงแรกๆ เป้าหมายของอีซูซุ คือโค่นนิสสัน ผู้แข็งแกร่งในวงการกระบะพอนิสสันร่วงโตโยต้าขึ้นมาแทน อีซูซุต้องรบกับโตโยต้าแบบถาวรมาจนถึงทุกวันนี้ โดยมีนิสสันกับมิตซูบิชิไล่อยู่ห่างๆ ผมพูดถึงตลาดปิกอัพ ไม่รวมเอารถบรรทุกใหญ่ไว้ซึ่งกระบะอีซูซุทำได้นิ่ง เพราะรักษาแชมป์ไว้หลายรอบแต่ละรอบก็ทำได้ยาวนาน แต่หากนำยอดรวมของตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่พิจารณา ใส่ไว้ในเชกเมนต์นี้ ประกอบด้วย ยอดขายรถบรรทุก รถโดยสาร รถกระบะ รถกระบะดัดแปลง ส่วนแบ่งของการตลาดอีซูซุนั้นถือได้ว่า ครองแชมป์ตลาดนี้มายาวนาน

 

ตรีเพชรฯ และอีซูซุทำตลาดหรือดูแลรถยนต์เพียงเซกเมนท์เดียว คือรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ซึ่งประกอบไปด้วยรถปิกอัพ รถบรรทุก รถหัวลาก สิ่งนี้น่าจะทำให้การทำธุรกิจของอีซูซุดูแข็งแกร่ง มีส่งผลต่อความชำนาญในตลาด ด้วยการมีผลิตภัณฑ์ไม่มาก พัฒนาผลิตภัณฑ์ การขาย การบริการหลังการขาย ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ จึงทำได้เต็มที่ จากการทุ่มทุนการใช้ทรัพยากร การกำหนดเป้าหมาย อีซูซุต่างไปจากแบรนด์อื่นๆ ที่ต้องดูแลรถยนต์นั่ง รถปิกอัพ รถเอสยูวี อีซูซุย้ำเสมอว่า ผลิตภัณฑ์ของอีซูซุ คือการเป็นรถเพื่อการพาณิชย์ คือรถเพื่อธุรกิจ การค้า อุตสาหกรรม เกษตรกรรม ฯลฯ

 

คุณภาพรถเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จึงได้พัฒนาเครื่องมือและกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้รถได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดเวลา ตลาดเพื่อการพาณิชย์นั้น ตรีเพชรฯขายรถในทุกเซกเมนท์ ในขณะที่คู่แข่งอย่างโตโยต้า มีแค่รถกระบะ 1 ตัน ส่วนยอดขายรถบรรทุกกลาง รถบรรทุกใหญ่ ขายในนามฮีโน่ การรวมสถิติก็กระจัดกระจายไป อย่างไรก็ตาม หากมองไปที่รถบรรทุก อดีตฮีโน่ก็ยังห่างรถบรรทุกอีซูซุอยู่มาก ด้วยกลยุทธ์ด้านราคาที่ฮีโน่มองตัวเองว่าเป็นพรีเมี่ยมของรถบรรทุกญี่ปุ่น ก็ตั้งราคาสูงแถมมีน้อยรุ่นให้เลือก ประกอบกับเครือข่ายแข็งแกร่งสู้ทางตรีเพชรไม่ได้ ที่ว่า..ตลาดไทยเป็นเมืองหลวงอีซูซุนั้นถูกต้องแล้วเพราะหากไปดูในตลาดโลก อีซูซุเป็นค่ายรถเล็กๆ ผมเคยไปชมงานมอเตอร์โชว์ที่แฟรงก์เฟิร์ต 20 กว่าปีที่แล้วเจอบูทอีซูซุ มีจอดอยู่ 2 คันดีใจแทบตายว่า นี่เป็นรถจากเมืองไทยมาขาย อย่างไรก็ตามอีซูซุยุคใหม่นั้น ได้ขยายไปตลาดโลกเพื่อแข่งขันกับบรรดาปิกอัพระดับท็อปของโลก ไม่ว่าจะเป็น ฟอร์ด ในตลาดอเมริกา มิตซูบิชิและโฟล์คสวาเก้น อมาร็อคในตลาดยุโรป หรือโตโยต้าในยุโรป ออสเตรเลีย และตะวันออกกลาง การที่อีซูซุทำยอดขายได้มากสุดที่ประเทศไทยประเทศเดียว ไทยจึงมีความสำคัญและอีซูซุต้องปกป้องตลาดนี้อย่างแข็งขัน

 

ครั้งหนึ่ง อีซูซุ ปะทะ โตโยต้า ในเรื่องของตำแหน่งแชมป์รถกระบะประจำปี ด้วยเหตุผลเรื่องวิธีการแยกเซกเมนต์ตลาดรถ และบันทึกรายงานยอดขายต่างมุมกัน อดีตค่ายรถยนต์เขาจะส่งตัวแทนไปนั่งโต๊ะกลมกินข้าวกัน ตัวแทนเหล่านั้นก็นำตัวเลขที่ขายได้แต่ละเดือนมาแลกเปลี่ยนเพื่อทำรายงานต่อสาธารณะ ตัวเลขแลกเปลี่ยนนี้ มอบหมายให้ค่ายโตโยต้าในฐานะที่มีความพร้อมด้านทรัพยากรมากสุดรับภาระหน้าที่ไปเขียนรวบรวมเป็นรายงาน แต่บังเอิญว่า มีปีหนึ่ง เกิดรถประเภทพีพีวี หรือ รถที่สร้างขึ้นจากอนุพันธ์ของกระบะ เช่น คามิโอ, มิว-7, สปอร์ตไรเดอร์ แรกๆก็ไม่เป็นไรรวมยอดไปกับกระบะ เพราะมันใช้หัวแชสซีส์ของกระบะไปทำ พอขายกันเยอะขึ้นชักยุ่ง อีซูซุอยากให้แยกออกมาเป็นเซกเมนท์ใหม่ให้ชัดเจน เพราะ ปีนั้นดูเหมือนว่าถ้ารวมโตโยต้าจะได้แชมป์ปิกอัพไป อีซูซุกับโตโยต้าปะทะกันอยู่พักใหญ่สุดท้ายตกลงกันได้โดย ให้แก้ไขฟอร์มการรายงานยอดขายประจำเดือน แยกยอดขายของเพียวปิกอัพออกมา และเพิ่มการรายงานยอดขายของพีพีวีอีกตารางหนึ่ง ศึกนี้จึงจบลงได้ เพราะเมืองหลวงข้าใครอยากแตะ...

 

บทความโดย: ยุทธพงษ์ ภาษี


Share this article


Related News/Articles

BYD ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าตลาดรถไทย และบทเรียนของผู้เร่งซื้อBEV

3 July 2024

ซูซูกิ ปิดโรงงานในไทย นัยยะแฝงที่มากกว่าแค่หยุดผลิต

7 June 2024

Insight into the Thai car market The first quarter of 2024 deteriorated. It is expected that the second quarter will continue to slow down.

7 May 2024

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 April 2024

MAZDA ก้าวข้ามอีวีด้วยพันธมิตรจีน

16 April 2024

เจาะลึกช่วงล่างเบื้องหลังความดุดันบนทุกเส้นทางของ Ford Ranger Raptor

1 March 2024

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 3: ไม่แถมไม่แจก Scarcity Strategy กระบะ TFR ประสู่ยุคทอง

16 January 2024

อีซูซุ ซีรีย์: ตอน1 ก่อนจะมีวันที่ดีของตรีเพชรฯ

4 January 2024

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ Privacy Policy

Accept