EN / TH

เผยสเปค เรนเจอร์ PHEV วิ่งไฟฟ้า 4 โหมดเปิดตัวกลางปีหน้า

4 ตุลาคม 2567

โตโยต้า พลิกเกมกระบะเล็งวางเครื่อง 300 ม้าในรีโว่

30 กันยายน 2567

บีวายดี ย้ำแผนรุกยุโรป ประกาศความพร้อมแสดงรถ"ปารีส มอเตอร์โชว์ 2024"

29 กันยายน 2567

เชอรี่เปิดคลังอะไหล่พร้อมส่งทั่วประเทศ 3 วันทำการ

26 กันยายน 2567

เดโก้ เตรียมส่งรถใหม่ 10 รุ่นบุกตลาดไทย

26 กันยายน 2567

ดีลเลอร์จีนเสี่ยงปิดกิจการ เซ่นพิษสงครามราคา

25 กันยายน 2567

เปิดสเปคไฮลักซ์ ดีเซล Hybrid 48V จัดเต็มขุมพลังใหม่พร้อมลุยไทย

25 กันยายน 2567

กระบะไฟฟ้า"ริดดารา"เปิดจอง 1,000 สิทธิ วันนี้

25 กันยายน 2567

ห้างจีนแบนรถยนต์ไฟฟ้าห้ามจอดชั้นใต้ดินหวั่นไฟไหม้

18 กันยายน 2567

จีลี่ตั้ง"ริดดารา"ไทยแลนด์ จัดทัพกระบะบุกไทย ต.ค.67

17 กันยายน 2567

จับตาญี่ปุ่นเคลื่อนทัพอีวีด้วยระยะวิ่ง1000 กม.

8 กันยายน 2567

Mercedes-AMG CLE 53 4MATIC+ Coupé สปอร์ตคูเป้เบนซิน 6 สูบ เปิดราคาประกอบไทย 5,250,000 บาท

7 กันยายน 2567

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า บทความ

BYD ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าตลาดรถไทย และบทเรียนของผู้เร่งซื้อBEV

3 กรกฏาคม 2567| จำนวนผู้เข้าชม 1,049



ภาพรวมของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยในอดีตที่ผ่านมา แม้ตลาดจะมีการอ่อนตัวเพียงใดการนำกลยุทธ์การตลาดมาใช้ด้วยการ ลดราคา”เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นน้อยมากแม้ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงโควิด-19 การนำเสนอรถยนต์ในราคาลดลงของ BYD ซึ่งการนำกลยุทธ์นี้มาใช้ในช่วงเวลาปัจจุบัน น่าสนใจยิ่งและอาจเปลี่ยนโฉมหน้าของตลาดรถยนต์ไทยไปตลอดกาล เพราะ
นี่คือครั้งแรกที่เราได้เห็นการลดราคาแบบรวดเร็วและลดโดยตรง โดยไม่อ้างอิงปัจจัยภายนอก ราคาใหม่ของ BYD ได้ทำให้”ราคารถยนต์ไฟฟ้า” สามารถจับต้องได้มากขึ้นแต่ก็มาพร้อมกับเสียงสะท้อนทั้งในแง่บวกและในแง่ลบต่อแบรนด์ BYD 

ลดยกแผงในไทย
การลดราคาของ BYD ถูกวางแผนไว้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนผ่านโปรโมชั่นแต่ละช่วงเวลาแตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้วราคารถยนต์ของ BYD ลดลงทุกรุ่นทั้งโมเดลปัจจุบันและรถที่ต้องการล้างสต็อครวม 10 รุ่นย่อย โดยราคารถยนต์ไฟฟ้าของ BYD ลดลงในสัดส่วน 3.5-28%

ย้อนกลับไปดูการลดราคาที่เกิดขึ้นครั้งแรก BYDได้ปรับราคาในกลุ่มรถยนต์ซับคอมแพค รุ่น DOLPHIN โดยล่าสุดมีสัดส่วนลดลงระหว่าง 1.4 -1.6 แสนบาท หรือ 18-20% จากนั้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 BํYD ประกาศแคมเปญลดราคาสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าขนาดคอมแพ็ครุ่น ATTO 3 ซึ่งเป็นรุ่นยอดนิยม สำหรับที่จำหน่ายรวม 4 รุ่นย่อย แบ่งเป็นรถปีปัจจุบันหรือรถรุ่นใหม่ (My24) 3 รุ่นย่อยและรถรุ่นปีก่อนหน้า (My22-23) จำนวน 1 รุ่นย่อย เหตุผลของ BYD ระบุว่าเพื่อเป็นการฉลองการเปิดสายการผลิตของโรงงานผลิตรถยนต์ BYD ในประเทศทั้งนี้ ATTO 3 ราคาลดลงระหว่าง 4.4-28.3% เมื่อคิดมูลค่าการให้ส่วนลดสูงถึง 340,000 บาท อีกรุ่นหนึ่งของ BYD เป็นรถยนต์ไฟฟ้าในตลาด D เช็คเมนท์ ได้แก่ BYD SEAL ในรายการจัดแคมเปญทำให้ราคาลดลงระหว่าง 3.5-9.5% สำหรับรุ่นที่มีส่วนลดสูงสุดคิดเป็นมูลค่าลดลง 1.26 แสนบาท/คัน




BYDเจ้าพ่อเชิงปริมาณ
การใช้กลยุทธ์ราคาต่ำ เป็นกลไกในการทำตลาดของ BYD ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยแต่ในตลาดจีน บริษัทแม่ BYD ก็ใช้กลยุทธ์การกำหนดราคาเชิงรุกเป็นหลัก โดย BYD มุ่งเป้าไปที่การทำให้รถยนต์ไฟฟ้าเข้าถึงได้มากขึ้น และรักษาความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของจีนที่แข่งขันกันอย่างรุนแรงเอาไว้ การตั้งราคาต่ำของBYDทำให้ตลาดจีนนั้นปั่นป่วน​ โดยเฉพาะคู่แข่งอย่างเทสลาต้องประกาศราคาใหม่และต้องปรับราคาขึ้นลง สลับกันไปหลายครั้งตามสถานการณ์ และเพื่อ”เอาตัวรอด”ในการแข่งขันอันดุเดือดแบรนด์รถหรูหราในจีนจากยุโรปที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นรถหรูระดับไฮเอนด์ก็จำเป็นต้องลดราคาลงมา ในตลาดไทยในแง่ของปริมาณการขาย ค่ายญี่ปุ่นนั้นผูกขาดยอดจำหน่ายรถไว้3แบรนด์ใหญ่คือ โตโยต้า ฮอนด้า และอีซูซู และหากBYD อาจจะมุ่งไปสู่ยอดขายเชิงปริมาณแล้วล่ะก็ การลดราคาครั้งนี้เท่ากับว่าแผนการ"ขจัดญี่ปุ่น"ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

ราคาง่ายขึ้นราคายาก
“BYD ได้ขึ้นชื่อเกี่ยวกับการทำตลาดที่ดุเดือดจนได้รับฉายาว่า "เจ้าพ่อเชิงปริมาณ"ซึ่งกลยุทธ์นี้เองส่งผลให้BYD กลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์ใหญ่สุด 1 ใน 10 ของโลกเมื่อปีที่แล้ว แถมยังครองเจ้าตลาดค่ายรถที่จำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าสูงสุดของโลก นี่อาจจะเป็นเหตุผลเบื้องหลังการลดราคาทั่วโลกเพียงเพื่อต้องการรักษาตำแหน่งทางสถิติที่เคยได้รับเมื่อปีที่ผ่านมา” ส่วนกลยุทธ์ราคาของBYD 
ในประเทศไทย BYD ได้ใช้จังหวะที่เศรษฐกิจไทยชะลอตัว กำลังซื้อในตลาดตกต่ำเป็นอย่างมากภาวะเช่นนี้ผู้ได้เปรียบทางต้นทุนก็จะทำการรุกตลาดด้วยราคาเพราะ”ลดราคาง่ายแต่ขึ้นราคายาก”หมายถึง ส่งแรงกดดันของตลาดที่มีกำลังซื้อน้อย ทำให้สินค้าไม่สามารถขึ้นราคาขายได้ เพราะเกรงว่าจะกระทบยอดขาย สิ่งเดียวที่ทำได้คือการปรับโครงสร้างราคาใหม่ ซึ่งผู้ผลิตที่มีต้นทุนต่ำเท่านั้นสามารถทำได้ และ BYD เลือกกดดันคู่แข่งทั้งรถน้ำมันและรถยนต์ไฟฟ้าด้วยกันในจังหวะนี้ 

ไฟฟ้าถูกกว่าน้ำมันมาถึงแล้ว
สิ่งที่น่าสังเกตในการกำหนดราคาของBYD คือ ราคาลดต่ำลงได้ใกล้เคียงรถยนต์น้ำมัน ในยุคเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า (EV) รถยนต์ไฟฟ้านั้นมีต้นทุนการผลิตสูงกว่ารถน้ำมัน อย่างไรก็ตามแนวโน้มที่กำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ คือมีความเป็นไปได้สูงที่รถยนต์ไฟฟ้าจะมีราคาถูกว่าแถมมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมัน แนวทางนี้ก็ยังไม่เป็นรูปธรรมมากนักจนกระทั่งในตลาดจีน BYD ได้ประกาศว่า “ไฟฟ้าต่ำกว่าน้ำมัน”พร้อมแคมเปญลดราคาลงมากมาย

ปัจจุบันในตลาดประเทศไทยภาครัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างชัดเจนตามโครงการ อีวี 3.5 มีทั้งให้เงินอุดหนุนในการซื้อรถใหม่และ การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ผลิตเพื่อมุ่งไปสู่ เป้าหมายการผลิตในประเทศ 30% ต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2030 ทำให้ต้นทุนในการเป็นเจ้าของรถได้ลดต่ำลงส่วนหนึ่งประกอบกับ การพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าถูกลงมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทำให้ราคาต่ำลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีรายงานว่าราคาของแบตเตอรี่ในตลาดโลกได้ลดลงมากถึง 89% ตั้งแต่ปี 2010 -2020 หรือในช่วง 10 ปีที่ผ่่านมา BYDในเมืองไทย ก็ได้ประกาศลดราคาแบตเตอรี่สำหรับตลาด REMลง ระหว่าง 8-40% เพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงและสอดคล้องกับราคาขายปลีกรถยนต์ที่ BYD ประกาศ


รีบเร่งในการซื้อ BEV เกินไป
จากกลยุทธ์การกำหนดราคาที่ก้าวร้าวในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของ BYD  ส่งผลกระทบที่ซับซ้อนแม้ว่าลูกค้ารายใหม่จะได้รับประโยชน์ แต่เจ้าของรถเดิมต้องแบกรับผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นอสำหรับการลดราคาของ BYD ถือว่า เป็นบทเรียนของผู้ที่เร่งรีบในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจนเกินไปและลูกค้าที่ซื้อ BYD บางคนเจ็บช้ำโดยระบุว่าจะไปฟ้องร้องต่อ BYD ในขณะที่ภาคการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคของรัฐก็จะเปิดการสอบสวนเรื่องนี้

ในแง่ผลที่เกิดขึ้นตามมา มีหลายประการเช่น

1. ปัญหาเรื่องมูลค่าการขายต่อ Resale Value : การลดราคาเป็นการด้อยค่ารถใช้แล้วในตลาดชัดเจน เจ้าของรถยนต์ BYD เดิมกังวลเรื่องค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ของตน การลดราคาลงอย่างมากทำให้มูลค่าของรถยนต์ของตนในตลาดขายต่อลดลง ความรู้สึกนี้คล้ายกับปัญหาที่เจ้าของรถยนต์ Tesla เผชิญหลังจากลดราคาในตลาดต่างประเทศและแน่นอนว่า ประชากร BYD มากกว่า 43,697 คันในตลาดไทย เมื่อคำนวนค่าที่ด้อยลงไปแล้ว มูลค่าในตลาดลดลงและเสียหายพอสมควร

2. ปัญหาความภักดีและความไว้วางใจในแบรนด์ (Loyalty and Trust) ลูกค้าบางคนรู้สึกถูกทรยศจากการลดราคากะทันหัน โดยเฉพาะผู้ที่ซื้อรถก่อนที่จะลดราคาหลายคนแสดงความหงุดหงิดใจในโลกโซเชี่ยลมีเดีย ผลจากการที่ไม่ได้รับแจ้งเกี่ยวกับส่วนลดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งอาจช่วยประหยัดเงินได้มากบางคนโกรธถึงขึ้นประกาศละทิ้งแบรนด์ BYD เลยทีเดียว


3. เสถียรภาพของตลาด : การปรับราคาลงอย่างรวดเร็วและไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า ทำให้ตลาดเกิดความไม่แน่นอนผู้ซื้อในอนาคตของ BYD เองเกิดความลังเลในการตัดสินใจซื้อมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพของ บรรทัดฐานราคาที่ตั้งไว้ ลูกค้าเกรงว่าอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงราคาบ่อยครั้ง แน่นอนว่าหากมีตัวเลือกที่เลือกได้เขาจะไปเลือกรถที่มีราคามั่นคงกว่า


“สงครามราคาเป็นผลดีต่อผู้บริโภคซึ่งอาจจะเป็นเรื่องจริงแต่ในระยะสั้นผู้ซื้อวันนี้ได้รถยนต์ราคาต่ำลง คนที่ซื้อทีหลังจะเป็นผู้ที่ได้รับเสียงหัวเราะ แต่ไม่รู้ว่าเป็นการหัวเราะครั้งสุดท้ายหรือเปล่า” เพราะในระยะยาวบริษัทที่ถูกผลกระทบก็จะมุ่งเน้นไปที่ราคาเพื่อมีส่วนร่วมในการแข่งขันอาจลดคุณภาพผลิตภัณฑ์หรือคุณภาพการบริการเพื่อแข่งขันสุดท้ายแล้วผลกระทบด้านลบส่วนใหญ่คนที่ต้องชำระคือ ผู้บริโภคนั่นเอง


แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

ซูซูกิ ปิดโรงงานนัยยะแฝงที่มากกว่าหยุดผลิต

7 มิถุนายน 2567

ผ่าเนื้อในรถยนต์ไทย ทำไมร่วงเละ ไตรมาส 2 ยังไร้แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

7 พฤษภาคม 2567

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 เมษายน 2567

MAZDA ก้าวข้ามอีวีด้วยพันธมิตรจีน

16 เมษายน 2567

เจาะลึกช่วงล่างเบื้องหลังความดุดันบนทุกเส้นทางของ Ford Ranger Raptor

1 มีนาคม 2567

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 3: ไม่แถมไม่แจก Scarcity Strategy กระบะ TFR ประสู่ยุคทอง

16 มกราคม 2567

อีซูซุ ซีรีย์ ตอนที่ 2: เมืองหลวงข้าใครอย่าแตะ

8 มกราคม 2567

อีซูซุ ซีรีย์: ตอน1 ก่อนจะมีวันที่ดีของตรีเพชรฯ

4 มกราคม 2567

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว+

ยอมรับ