EN / TH

ฮอนด้า นิสสัน เจรจาควบรวมกิจการ

18 ธันวาคม 2567

MOTOR EXPO 2024 ปิดฉากสวยยอดจองกว่า 5 หมื่นคัน

11 ธันวาคม 2567

สำรวจหน้างาน มหกรรมยานยนต์เวทีร้อน โปรฉ่ำลุ้นยอดก่อนปิดงาน

6 ธันวาคม 2567

โฟตอน มอเตอร์ ผนึก คัมมินส์ เปิดโรงงานเครื่องยนต์ในไทย

6 ธันวาคม 2567

เปิดสเปค กระบะโพเออร์ ซิงเกิลแคป ดีเซลตัวแรกบุกไทย

5 ธันวาคม 2567

เนต้า ส่งสาส์นสร้างความมั่นใจ หลังหนานหนิงฯเข้าถือหุ้นใหญ่

3 ธันวาคม 2567

เปิดสเปก กระบะไฟฟ้า FOTON eTUNLAND หนึ่งชาร์จวิ่ง 350 กิโลเมตร

1 ธันวาคม 2567

โตโยต้า ส่ง GR ซีรี่ส์ เจาะตลาดเก๋งสมรรถสูง

30 พฤศจิกายน 2567

อีซูซุยกขบวนยนตรกรรมโชว์ขุมพลังดีเซล2.2L แห่งอนาคต 

30 พฤศจิกายน 2567

มาสด้า เปิดตัวกระบะ BT-50 ดีเซล 2.2

29 พฤศจิกายน 2567

เปอโยต์ จี๊ป ส่ง 2 รุ่นใหม่อวดโฉม เวทีมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่41

29 พฤศจิกายน 2567

เปิดราคารถรุ่นใหม่ค่ายฉางอาน บนเวทีมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 41

29 พฤศจิกายน 2567

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า รถยนต์

ฮอนด้า นิสสัน เจรจาควบรวมกิจการ

18 ธันวาคม 2567| จำนวนผู้เข้าชม 111



สำนักข่าวนิกเคอิของญี่ปุ่นรายงานเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 
ว่าฮอนด้า มอเตอร์ และนิสสัน มอเตอร์ จะเข้าสู่การเจรจาเพื่อควบรวมกิจการ โดยจะรวมทรัพยากรเข้าด้วยกันเพื่อแข่งขันกับเทสลาและผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของจีนในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ดีขึ้น ฮอนด้าและนิสสันกำลังพิจารณาดำเนินการภายใต้บริษัทโฮลดิ้ง และจะลงนามในบันทึกความเข้าใจในเร็วๆ นี้ โดยหุ้นของทั้งสองบริษัทในบริษัทใหม่ รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ จะตัดสินใจในภายหลังทั้งสองบริษัทยังตั้งเป้าที่จะนำมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ซึ่งนิสสันเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ด้วยสัดส่วนการถือหุ้น 24% เข้ามาอยู่ภายใต้บริษัทโฮลดิ้ง ซึ่งจะทำให้กลายเป็นกลุ่มยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลก โดยมียอดขายรวมของสามผู้ผลิตจากญี่ปุ่นที่สูงกว่า 8 ล้านคัน

ฮอนด้าและนิสสันเริ่มวางรากฐานสำหรับการเจรจาเมื่อเดือนมีนาคม โดยทั้งสองบริษัทได้ร่วมเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ในเดือนสิงหาคมเกี่ยวกับชิ้นส่วนและซอฟต์แวร์ยานยนต์ร่วมกัน นอกจากนี้ มิตซูบิชิยังแสดงความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับผู้ผลิตรถยนต์ทั้งสองรายอีกด้วย  ความร่วมมือระหว่าง ฮอนด้ากับ นิสสัน เกิดขึ้นเมื่อนายมาโกโตะ อุชิดะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของนิสสัน   ประกาศความร่วมมือด้านรถยนต์ไฟฟ้ากับโทชิฮิโระ มิเบะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ฮอนด้า  เมื่อวันที่ 15 มีนาคม2567  ณ กรุงโตเกียว ขณะที่ นิสสัน  ยกระดับความร่วมมือด้านเทคโนโลยีใหม่ก่อนจะประกาศแผนระยะกลางสามปีฉบับใหม่(HANS GREIMEL)

ฮอนด้าเป็นที่รู้จักในด้านเทคโนโลยีประหยัดพลังงานที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองในยานยนต์ไฮบริด และครองตลาดกลุ่มรถไฮบริดทั่วโลกมากที่สุดรองจากโตโยต้า มอเตอร์ นิสสันเปิดตัวลีฟซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกของโลกสำหรับตลาดวงกว้าง ในปี 2010 และได้ขยายไลน์ผลิตภัณฑ์รถยนต์ไฟฟ้าไปสู่รถยนต์อเนกประสงค์

สำหรับฮอนด้า นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท ค่ายฮอนด้าถือว่า ยืดอยู่ในจุดที่ไม่ร่วมมือกับใคร โดยพัฒนาเครื่องยนต์และเทคโนโลยีอื่นๆ ของตัวเอง แต่การเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ของฮอนด้า ครั้งนี้ได้ สะท้อนให้เห็นถึงแรงกดดันที่ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นต้องเผชิญเมื่ออุตสาหกรรมเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า

สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ใหม่ทั่วโลกอย่างน้อยครึ่งหนึ่งจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2035 โดยมีค่ายBYD และผู้เล่นหน้าใหม่รายอื่นๆ ของจีนกำลังขยายฐานการผลิตอย่างรวดเร็วโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน และคาดว่ารถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์พลังงานใหม่อื่นๆ จะมีสัดส่วน 40% ของยอดขายรถยนต์ในประเทศนั้นในปีนี้

การเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้า จีน ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นในจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อ่อนแอลง ยอดขายของฮอนด้าในประเทศจีนในช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 ลดลง 30.7% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และของนิสสันลดลง 10.5% ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง ฮอนด้าได้ตัดสินใจลดกำลังการผลิตทั่วโลกประมาณ 500,000 คัน หรือประมาณ 10% ขณะเดียวกัน นิสสันต้องดิ้นรนกับยอดขายไม่เพียงแต่ในจีนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงในสหรัฐฯ   การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ล่าช้าทำให้ผู้ผลิตรถยนต์รายนี้ไม่สามารถเปิดตัวรถยนต์ไฮบริดแบบปลั๊กอินในตลาดสหรัฐอเมริกาได้ แม้ว่าความต้องการรถยนต์ประเภทนี้เพิ่มขึ้น

สำหรับนิสสัน มอเตอร์ เผชิญวิกฤตครั้งสำคัญหลายครั้งตลอดประวัติศาสตร์ โดยวิกฤตแต่ละครั้งมักเกิดจากปัจจัยทางธุรกิจ การจัดการ และการแข่งขันในตลาดรถยนต์ที่เปลี่ยนแปลงไป นิสสันเผชิญวิกฤตการเงินและการบริหาร หลายครั้ง โดยครั้งแรกในช่วงปี 1990 หรือ พ.ศ.2533 จากการที่เศรษฐกิจฟองสบู่ในญี่ปุ่นแตก (Bubble Economy) ทำให้บริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์หลายแห่งประสบปัญหาทางการเงิน รวมถึงนิสสันที่ขาดทุนจากยอดขายรถยนต์ที่ลดลงอย่างรุนแรง การบริหารงานแบบขยายตัวเกินตัว ส่งผลให้หนี้สินพอกพูน เพราะ ขาดทุนสะสม2 ล้านล้านเยน บริษัทต้องเผชิญปัญหาสภาพคล่องจนเกือบล้มละลาย


ในปี 1999 (พ.ศ.2542)นิสสัน ได้ขายหุ้น 36.8% ให้กับเรโนลต์ และแต่งตั้ง คาร์ลอส กอส์น (Carlos Ghosn) เป็นซีอีโอคนใหม่ การเข้ามาของ กอส์น ซีอีโอจากเรโนลต์ กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เขาใช้กลยุทธ์ Nissan Revival Plan ซึ่งประกอบด้วย การลดต้นทุนการผลิต ปลดพนักงาน 21,000 ตำแหน่งทั่วโลก การปิดโรงงานที่ไม่ทำกำไร การมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น Nissan X-Trail และ Nissan Altima และภายในปี 2001 (พ.ศ.2544) นิสสันกลับมามีกำไรครั้งแรกในรอบ 7 ปีกอส์นกลายเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยฟื้นฟูชื่อเสียงของนิสสันในตลาดโลก


ต่อมา นิสสันมีผลดำเนินงานที่ได้รับผลกระทบจาก วิกฤตการเงินโลก 2008(พ.ศ. 2551) ซึ่ง วิกฤตเศรษฐกิจโลกส่งผลให้ความต้องการซื้อรถยนต์ลดลง การแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะจากผู้ผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯ ทำให้ยอดขายทั่วโลกลดลงอย่างหนัก นิสสันจำเป็นต้องลดกำลังการผลิตและปรับโครงสร้างองค์กรเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามนิสสันเผชิญปัญหาภายใน จากการบริหาร คาร์ลอส กอส์น 2018( พ.ศ2561)
มีการจับกุม คาร์ลอส กอส์น ในข้อหาทุจริตทางการเงิน และเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารในพันธมิตร Renault-Nissan-Mitsubishi ทำให้ ความเชื่อมั่นในองค์กรลดลงอย่างรุนแรง ยอดขายลดลงในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะญี่ปุ่นและสหรัฐฯ

นิสสันมีการแต่งตั้งผู้บริหารใหม่และวางแผนฟื้นฟูองค์กร โดยลดการพึ่งพาการขายในตลาดขนาดใหญ่เพียงไม่กี่แห่ง มีการยกเลิกโมเดลรถยนต์ที่ทำกำไรต่ำแม้ยอดขายยังไม่กลับมาเป็นปกติ แต่องค์กรเริ่มปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้ดีขึ้น ก่อนที่นิสสันจะเผชิญหน้า วิกฤตครั้งสำคัญ จากการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่มุ่งเน้นไปที่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) และไฮบริด การแข่งขันในตลาดจีนจากแบรนด์ในประเทศจีน เช่น BYD และ NIOในตลาดสหรัฐฯ ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น แต่นิสสันไม่มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถแข่งขันได้ ทำให้ยอดขายในสหรัฐฯ จีนลดลงอย่างหนัก รวมถึงภูมิภาคอื่นๆ เช่น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นิสสันได้ปรับปรุงความสัมพันธ์ด้านทุนกับเรโนลต์ ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติฝรั่งเศสเมื่อปีที่แล้ว แต่กลับพบว่าไม่สามารถผลิตรถยนต์จำนวนมากได้ นิสสันเริ่มขาดทุนจากการดำเนินงานในบางไตรมาส แม้ว่า นิสสันจะเร่งพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า เช่น Nissan Ariyaออกมา เพื่อแข่งขันในตลาดรถยนต์ไฟฟ้า มีการประกาศปรับโครงสร้างองค์กร ลดกำลังการผลิต และปลดพนักงาน  เมื่อเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมานิสสันได้ประกาศลดกำลังการผลิต 20% และลดพนักงานทั่วโลกเกือบ 10%

 

 

 

 

แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

MOTOR EXPO 2024 ปิดฉากสวยยอดจองกว่า 5 หมื่นคัน

11 ธันวาคม 2567

สำรวจหน้างาน มหกรรมยานยนต์เวทีร้อน โปรฉ่ำลุ้นยอดก่อนปิดงาน

6 ธันวาคม 2567

โฟตอน มอเตอร์ ผนึก คัมมินส์ เปิดโรงงานเครื่องยนต์ในไทย

6 ธันวาคม 2567

เปิดสเปค กระบะโพเออร์ ซิงเกิลแคป ดีเซลตัวแรกบุกไทย

5 ธันวาคม 2567

โตโยต้า ส่ง GR ซีรี่ส์ เจาะตลาดเก๋งสมรรถสูง

30 พฤศจิกายน 2567

อีซูซุยกขบวนยนตรกรรมโชว์ขุมพลังดีเซล2.2L แห่งอนาคต 

30 พฤศจิกายน 2567

มาสด้า เปิดตัวกระบะ BT-50 ดีเซล 2.2

29 พฤศจิกายน 2567

เปอโยต์ จี๊ป ส่ง 2 รุ่นใหม่อวดโฉม เวทีมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่41

29 พฤศจิกายน 2567

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว+

ยอมรับ