EN / TH

ฮอนด้า นิสสัน เจรจาควบรวมกิจการ

18 ธันวาคม 2567

MOTOR EXPO 2024 ปิดฉากสวยยอดจองกว่า 5 หมื่นคัน

11 ธันวาคม 2567

สำรวจหน้างาน มหกรรมยานยนต์เวทีร้อน โปรฉ่ำลุ้นยอดก่อนปิดงาน

6 ธันวาคม 2567

โฟตอน มอเตอร์ ผนึก คัมมินส์ เปิดโรงงานเครื่องยนต์ในไทย

6 ธันวาคม 2567

เปิดสเปค กระบะโพเออร์ ซิงเกิลแคป ดีเซลตัวแรกบุกไทย

5 ธันวาคม 2567

เนต้า ส่งสาส์นสร้างความมั่นใจ หลังหนานหนิงฯเข้าถือหุ้นใหญ่

3 ธันวาคม 2567

เปิดสเปก กระบะไฟฟ้า FOTON eTUNLAND หนึ่งชาร์จวิ่ง 350 กิโลเมตร

1 ธันวาคม 2567

โตโยต้า ส่ง GR ซีรี่ส์ เจาะตลาดเก๋งสมรรถสูง

30 พฤศจิกายน 2567

อีซูซุยกขบวนยนตรกรรมโชว์ขุมพลังดีเซล2.2L แห่งอนาคต 

30 พฤศจิกายน 2567

มาสด้า เปิดตัวกระบะ BT-50 ดีเซล 2.2

29 พฤศจิกายน 2567

เปอโยต์ จี๊ป ส่ง 2 รุ่นใหม่อวดโฉม เวทีมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่41

29 พฤศจิกายน 2567

เปิดราคารถรุ่นใหม่ค่ายฉางอาน บนเวทีมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 41

29 พฤศจิกายน 2567

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า บทความ

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 3: ไม่แถมไม่แจก Scarcity Strategy กระบะ TFR ประสู่ยุคทอง

16 มกราคม 2567| จำนวนผู้เข้าชม 1,227

 

ยุคทองของอีซูซุนั้นถือว่าเริ่มจากการแนะนำรถยนต์กระบะ TFR มังกรทอง หรือโกลเดน ดาร์กอน เริ่มปี 1991 -1997 ก่อนจะไมเนอร์เชนจ์เป็นดาร์กอนอาย TFR เป็นจุดเริ่มต้นที่อีซูซุครองเจ้าตลาดปิคอัพเมืองไทยแบบมั่นคง ในยุคนั้น..ความต้องการรถมีมากกว่ากำลังการผลิต ก่อนหน้านี้อีซูซุมีส่วนแบ่งตลาดไม่มากนักเพราะติดปัญหาการผลิต เพราะซัพพลาย ไม่เพียงพอต่อคำสั่งซื้อ แต่หลังจากการขยายกำลังการผลิตของโรงงานสำโรงทำให้อีซูซุพุ่งทะยานขึ้นมา

 

ในตลาดรถยนต์ขณะนั้นเศรษฐกิจของไทยเริ่มเติบโต ไม่ว่ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์กระบะ ต่างมีความต้องการเพิ่ม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ กำลังการผลิตทุกค่ายปรับเพิ่มไม่ได้ เพราะรัฐบาลเรายังอยู่ในช่วงบังคับให้ผู้ประกอบรถต้องใช้ โลคอล คอนเทนท์ ตามกฏหมายเพื่อทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์แข็งแกร่ง การเพิ่มแต่ล่ะชิ้นส่วนต้องวางแผนกันยาวๆ

 

ความต้องการที่สูงทำให้จึงเกิดธุรกิจซื้อ-ขายใบจอง ราคาซื้อขายกันใบล่ะ 5,000-10,000 บาท มีขายกันตามหน้าหนังสือพิมพ์ ทั่วไป ถ้าไม่ใช้วิธีลัดนี้อาจต้องรอรถ 4- 6 เดือน การซื้อขายใบจองเกิดจากการเกร็งกำไรของคนขายที่รู้กันกับเจ้าของโชว์รูม ความจริงรถบางยี่ห้ออาจไม่ได้ขาดแคลนจริงๆ ภาวะตลาดเช่นนี้ เรียกว่า Scarcity Strategy คือ การปรับการผลิตหรือการจำกัดปริมาณสินค้า ทำให้สินค้าที่เข้าสู่ตลาดนั้นมีจำนวนจำกัด ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าสินค้านั้นใครๆ ก็ต้องการ จนเกิดความต้องการเพิ่มสูงขึ้นผู้บริโภครู้สึกว่าสินค้านั้นๆ เป็นสินค้ายอดนิยม

 

มังกรทอง แจ้งเกิดในยุคนี้พอดี ผมไม่ได้หมายความว่าตรีเพชรใช้ Scarcity Strategy เพราะเท่าที่ผมทราบ กำลังการผลิตเขาจำกัดจริงๆ แต่ในสถานการณ์ตอนนั้นมันสอดคล้องกับกลยุทธ์สำคัญคือ "ไม่ลด ไม่แจก ไม่แลก ไม่มีโปร" เข้าใจได้ว่า ตลาดมีความต้องการมากอยู่แล้ว ของแถมของแจกเหล่านี้ไม่จำเป็น เพราะไม่แจกไม่ลดคนก็ซื้ออยู่แล้ว

 

การตลาดของอีซูซุในประเทศไทยถูกถอดบทเรียนเป็นโมเดลความสำเร็จ และถูกนำไปสอนบรรดาดีลเลอร์อีซูซุทั่วโลก การใช้กลยุทธ์ยุคแรก เราจะพบว่า อีซูซุ เน้นนโยบาย ไม่ร่วมสงครามราคา ส่วนช่วงหลังเน้นการยกระดับ ‘คุณค่าของแบรนด์ "อีซูซุย้ำเสมอว่าตลอด 60 ปีที่ผ่านมา คือการมีคุณค่าของแบรนด์ที่แข็งแกร่ง พยายามสร้างการรับรู้ถึงคุณภาพ ในหมู่ผู้ใช้รถเพื่อการพาณิชย์ ว่า อีซูซุคือรถที่มีความคุ้มค่าเงินสูงสุด คุณภาพสินค้าดีที่สุด ประหยัดน้ำมันมากที่สุด เครือข่ายโชว์รูม ศูนย์บริการและศูนย์อะไหล่มีประสิทธิภาพสูง"

 

ต้องบอกว่าบรรดาดีลเลอร์ที่เชื่อมโยงอยู่ในเครือข่ายของตรีเพชรอีซูซุฯ ซึ่งปัจจุบันมีเครือข่ายโชว์รูมกว่า 300 แห่ง เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญของความสำเร็จ อีซูซุได้คัดดีลเลอร์คุณภาพระดับเทียร์ 1 ไปเกือบหมดเมืองไทย ดีลเลอร์เหล่านี้ค้าขายรถกับอีซูซุมาช้านาน พวกเขามีพื้นฐานการเงินดี มีความพร้อม มีชื่อเสียงและคอนเนคชั่นในท้องถิ่น

 

บทความโดย: ยุทธพงษ์ ภาษี


แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

วิเคราะห์เครื่องยนต์ใหม่ ISUZU คาด..ยังไม่ทิ้งเครื่อง 1.9 และ 3.0 เพราะ..?

16 พฤศจิกายน 2567

เวียตนาม ส่งออกเข้าไทย"สัญญาณเตือนครั้งใหญ่" หากรัฐไม่ตื่นมีล่ม

9 พฤศจิกายน 2567

BYD ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าตลาดรถไทย และบทเรียนของผู้เร่งซื้อBEV

3 กรกฏาคม 2567

ซูซูกิ ปิดโรงงานนัยยะแฝงที่มากกว่าหยุดผลิต

7 มิถุนายน 2567

ผ่าเนื้อในรถยนต์ไทย ทำไมร่วงเละ ไตรมาส 2 ยังไร้แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

7 พฤษภาคม 2567

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 เมษายน 2567

MAZDA ก้าวข้ามอีวีด้วยพันธมิตรจีน

16 เมษายน 2567

เจาะลึกช่วงล่างเบื้องหลังความดุดันบนทุกเส้นทางของ Ford Ranger Raptor

1 มีนาคม 2567

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว+

ยอมรับ