ในช่วงปลายปี 2567 ทัพรถจีนยังคงเดินหน้าเข้าไทย ล่าสุด (ลีป Leap) แบรนด์สต๊าทอัพจากจีนพร้อมเปิดตัวแบรนด์หลังพีเอ็นเอ กรุ๊ป ถือสิทธิ์จำหน่ายโดยเมื่อเดือน ก.ย.2567 ที่ผ่านมีข้อตกลงการแต่งตั้ง บริษัทในเครือพีเอ็นเอ กรุ๊ป ขึ้นเป็นตัวแทนจำหน่ายในไทย และ มีกำหนดเปิดแบรนด์ในงานมหกรรมยานยนต์ 2567 นี้ โดย บริษัทมีแผนการแต่งตั้งผู้แทนจำหน่าย 12 ราย แบ่งเป็น กรุงเทพฯ 7 ราย ต่างจังหวัด 5 ราย ตั้งแฟลกชิปสโตร์อยู่ย่านรัชโยธิน ตรงข้ามตึกช้าง(โชว์รูมอัลฟ่า โรมิโอ เดิม ) ใช้เงินลงทุนราว 20-30 ล้านบาท มีแผนจะใช้งบประมาณราว 100-150 ล้านบาท สร้างแบรนด์และทำการตลาด
สำหรับ Leap Motor International จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 โดยเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง สเตลแลนติส(Stellantis N.V.) และลีป มอเตอร์ ( Leap Motor) ซึ่งสเตลแลนติส ถือหุ้น 51% และ ลีปมอเตอร์ 49% โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ในอัมสเตอร์ดัม นำโดยนายเทียนชู ซิน อดีตผู้บริหารระดับสูงของสเตลแลนติสในประเทศจีนบริษัทวางแผนเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น T03 และ C10 ในยุโรป ก่อนขยายไปยังอินเดียและเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง แอฟริกา และอเมริกาใต้ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2567 ข้อตกลงความร่วมมือนี้เกิดขึ้นหลังจากสเตลแลนติส ลงทุน 59,326.5 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้น 21% ในลีปมอเตอร์ ซึ่งถือเป็นอันดับ 3 ของกลุ่มสตาร์ทอัพรถยนต์ไฟฟ้าในจีนปี 2566 การร่วมมือกับสเตลแลนติส ทำให้ลีปมอเตอร์ มีสิทธิ์ในการส่งออกและผลิตรถยนต์นอกประเทศจีน โดยอาศัยเครือข่ายระดับโลกของสเตลแลนติส เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำตลาดในภูมิภาคต่างๆ นอกจากนี้ รถรุ่น C10 และ T03 จะเป็นหัวใจของกลยุทธ์การขยายธุรกิจระดับสากลของบริษัท ในประเทศจีนตั้งแต่เดือนม.ค.-ส.ค. 2567ยอดขายของลีปอยู่ที่ 136,794 คันโดยรถใหม่ล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวไป คือรถแบบSUV รุ่น C16
ลีปมอเตอร์เริ่มต้นด้วยวิสัยทัศน์ในการสร้างรถยนต์ไฟฟ้าเทคโนโลยีสูงที่มีราคาประหยัด เพื่อตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มกว้าง บริษัทใช้กลยุทธ์ "end-to-end" โดยออกแบบและผลิตชิ้นส่วนสำคัญเกือบทั้งหมดเอง ซึ่งแตกต่างจากผู้ผลิตรายอื่น ๆ ที่พึ่งพาซัพพลายเออร์ภายนอกเป็นหลัก โดยเปิดตัวรถรุ่นแรกคือ S01 ซึ่งเป็นรถคูเป้ไฟฟ้าขนาดเล็กในปี 2019(พ.ศ2562) แม้จะมีขนาดกะทัดรัด แต่ S01 ก็ได้รับความสนใจจากราคาที่ย่อมเยาและฟีเจอร์อัจฉริยะ เช่น เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า หลังจากนั้น ลีป มอเตอร์ ได้ขยายไลน์ผลิตภัณฑ์ด้วยรุ่นต่าง ๆ เช่น:
Leap Motor T03 (พ.ศ.2563): รถแฮทช์แบ็คไฟฟ้าขนาดกะทัดรัด ออกแบบมาเพื่อดึงดูดผู้ขับขี่ในเมืองที่ต้องการรถ EV ที่มีประสิทธิภาพและราคาเข้าถึงได้
Leap Motor C11 (พ.ศ.2564): รถ SUV ไฟฟ้าที่มีห้องโดยสารกว้างขวาง ระยะทางการขับขี่ที่ยาว และระบบช่วยขับขี่อัจฉริยะ ทำให้เป็นรุ่นเรือธงของบริษัท
Leap Motor C01 (พ.ศ.2565): รถซีดานขนาดกลางที่ให้สมรรถนะที่ดีขึ้นและระยะทางการขับขี่ที่ยาวนาน
สำหรับ สเตลแลนติส ถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์ในยุโรป มีแบรนด์รถยนต์จำนวนมากในเครือ ได้แก่ อาบาร์ธ ,อัลฟา โรมิโอ ,ไครสเลอร์, ซีตรอง ,ดอดจ์ ,ลีป ,ดีเอส ออโต้โมบิล, เฟียต,จี๊ป® ,แลนเซีย ,มาเซราติ, โอเปิล, เปอโยต์, รถบรรทุกแรม ,วอกซ์ฮอลฟรี2มูฟ และลีสส์ สเตลแลนติสเช่นเดียวกับบรรดาผู้ผลิตรถยนต์จากยุโรปและอเมริกาที่กำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์ของจีน ซึ่งส่งออกรถยนต์ไปตีตลาดในวงกว้าง ทำให้สเตลแลนติส ต้องปรับกลยุทธ์ขององค์กรให้สอดคล้องโดยหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญคือการหันมาจับมือกับผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอิสระของจีนผ่านการเป็นผู้ถือหุ้น อย่างเช่น ลีปมอเตอร์ เมื่อไม่นานมานี้
ในส่วนของพีเอ็นเอ กรุ๊ป หนึ่งในบริษัทตัวแทนจำหน่ายที่มีประวัติยาวนานของไทยเป็นบริษัทในเครือของตระกูล "จึงสงวนพรสุข" เคยเป็นตัวแทนจำหน่ายของ โอเปิล ,ฮุนได, อัลฟ่าโรมิโอ, โปรตอนและเป็นเจ้าของโรงงานประกอบรถยนต์ บางชันแอสแซมบลี โรงงานเก่าแก่ของวงการยานยนต์ไทยปัจจุบัน รับจ้างประกอบรถยนต์ให้แก่ค่ายเนต้า ปัจจุบันในส่วนของธุรกิจตัวแทนจำหน่ายบริหารงานโดยนายธวัชชัย จึงสงวนพรสุขสำหรับรถยนต์รุ่นแรกที่จะเปิดจำหน่าย ได้แก่ ลีป C10 (C10 D-SUV ) ราคาในตลาดยุโรปอยู่ที่1.35ล้านบาท ( 36,400 ยูโร หรือประมาณ 286,000 หยวน)
C10 เป็นรถยนต์ SUV ขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ภายในกว้างขวางและการออกแบบภายนอกแบบสปอร์ต ความยาว 4,739 มม. ความกว้าง 1,900 มม. ความสูง 1,680 มม. และระยะฐานล้อ 2,825 มม. ส่วนหน้าของรถได้รับการออกแบบให้มีความสมดุล โดยมีไฟหน้า LED อัตโนมัติและราวหลังคา ที่จับประตูสีดำเรียบและเสาอากาศแบบ “ครีบฉลาม” การออกแบบภายในของ C10 ผสมผสานความสง่างามและการใช้งานได้อย่างลงตัว ตัวอย่างเช่น ปุ่มเลื่อน 5 ทิศทางบนพวงมาลัยที่ช่วยให้ควบคุมฟังก์ชันที่ใช้บ่อยที่สุดได้อย่างรวดเร็ว แผงหน้าปัดขนาด 10.25 นิ้วที่เมื่อรวมกับหน้าจอสัมผัสความละเอียดสูงขนาด 14.6 นิ้ว C10 ยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับสุนทรียศาสตร์ที่เน้นเทคโนโลยีและใช้งานง่าย โดยคว้ารางวัล "International CMF Design Award 2023" ภายในห้องโดยสารยังมาพร้อมกับโซลูชันที่ใช้งานได้จริง เช่น ที่วางแขนด้านหน้าที่กว้างขวางซึ่งเหมาะสำหรับการจัดเก็บสิ่งของขนาดเล็กหรือชาร์จอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา ซันรูฟแบบพาโนรามิกขนาด 2.1 ตร.ม.
ความจุห้องเก็บสัมภาระ 435 ลิตรในสภาวะปกติ เมื่อพับเบาะหลังลง ความจุห้องเก็บสัมภาระจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,410 ลิตร รถยนต์ยังมีช่องเก็บของ 26 ช่อง C10 มีระบบอัจฉริยะ 2 ระบบสำหรับการล็อกและปลดล็อกรถโดยสามารถปลดล็อกรถโดยอัตโนมัติได้ด้วยการเคลื่อนเข้าใกล้หรือไกลจากรถด้วยโทรศัพท์มือถือที่รองรับด้วยเทคโนโลยีบลูทูธ นอกจากนี้ รุ่นนี้ยังมาพร้อมกุญแจดิจิทัล NFC ที่จะปลดล็อกรถเมื่อถือไว้ใกล้กับเครื่องอ่านใกล้กระจกมองหลัง
C10 ติดตั้งมอเตอร์ 160 กิโลวัตต์ (218 แรงม้า) และแรงบิด 320 นิวตันเมตร มีโหมดการขับขี่ 3 โหมด C10 ได้รับการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยี Cell-to-Chassis ซึ่งผสานเซลล์แบตเตอรี่เข้ากับโครงสร้างของรถยนต์ แนวทางนี้ไม่เพียงแต่ช่วยปรับปรุงเค้าโครงแบตเตอรี่เท่านั้น แต่ยังช่วยประหยัดพื้นที่ด้วย โดยเพิ่มความแข็งแกร่งในการบิดตัวของแชสซีเป็น 42,500 นิวตันเมตร/องศา ชุดขับเคลื่อนได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานได้ยาวนานและมีอายุการใช้งานที่คาดหวังได้มากกว่า 6แสนกิโลเมตรส่วนของการชาร์จ C10 มาพร้อมกับเครื่องชาร์จ AC 6.6 กิโลวัตต์ ซึ่งช่วยให้สามารถชาร์จแบตเตอรีจาก 30% - 80% ได้ในเวลาประมาณ 6.1 ชั่วโมง ในขณะเดียวกัน ระบบ DC ช่วยให้ชาร์จได้เร็วขึ้นและได้ผลลัพธ์เดียวกันในเวลาเพียง 30 นาที แบตเตอรีขนาด 69.9 กิโลวัตต์ชั่วโมง
C10 สามารถในการอัปเดตผ่านการอัปเกรด OTA (Over-The-Air) ซึ่งช่วยให้สามารถติดตั้งฟังก์ชันใหม่และอัปเดตซอฟต์แวร์ได้ตลอดเวลา และช่วยให้มั่นใจได้ว่ารถยนต์จะได้รับการอัปเดตอยู่เสมอ การอัปเดตสามารถพิจารณาฟังก์ชัน ADAS (Advanced Driver Assistance Systems) ระบบอินโฟเทนเมนต์ ระบบนำทาง หรือมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์พกพา รถ มีจุดชาร์จสูงสุด 5 จุดทั่วทั้งรถ ได้แก่ 2 จุดในแถวหน้า (USB Type-A และ Type-C) และ 2 จุดในพื้นที่ด้านหลัง (USB Type-A และ Type-C) นอกจากนี้ยังมีแท่นชาร์จไร้สาย 15 วัตต์อีกด้วย
ภาพ: Leapmotor