TH / EN

"สัญญาณเตือนครั้งใหญ่" อุตฯรถไทยเสี่ยงหลังเวียตนาม เริ่มส่งออกรถเข้าไทย

9 November 2024

ไทยยานยนตร์เปิดตัวคาราเวล Comfortline NGZ

8 November 2024

ฮอนด้า ยืนราคา เอชอาร์-วีอี:เอชอีวี รุ่นไมเนอร์เชนจ์

8 November 2024

จูนเหยา แอร์ ดึงมือดีเอ็มจี นั่งหัวเรือบุกตลาดไทย

7 November 2024

4 แบรนด์จีนหน้าใหม่ เปิดศึกรถยนต์ไฟฟ้าไทยปลายปี

6 November 2024

ศึกรถรอบใหม่ทัพแบรนด์จับ ยึดมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่41

5 November 2024

โตโยต้าจับมือซูซูกิ ส่งรถยนต์SUVไฟฟ้าโต้ค่ายจีน

4 November 2024

ดีแมคซ์"เบลด"ใหม่ ฉายาแรพเตอร์ คิลเลอร์

29 October 2024

เชอรี่ เปิดรถกระบะไฟฟ้าภายใต้ชื่อ"ริดดารา" ครั้งแรกในโลกที่ไทย

29 October 2024

จับตารถต้นแบบตัวใหม่หรือจะเป็นปาเจโร สปอร์ต

25 October 2024

SHEV รหัสใหม่ค่ายซูบารุ ไฮบริดเน้นแรงสะใจ

24 October 2024

บีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด เสริมไลน์ GS 2 รุ่นใหม่

24 October 2024

No Data Found

Back To Page Article

"สัญญาณเตือนครั้งใหญ่" อุตฯรถไทยเสี่ยงหลังเวียตนาม เริ่มส่งออกรถเข้าไทย

9 November 2024| Number Of Visitors 114

ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญของอุตสาหกรรม รถยนต์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จนทั่วโลกขนานนามว่า"ดีทรอยด์แห่งเอเซีย" ความสามารถในการผลิตของไทยสูงมากจากการ สร้างรากฐานที่สำคัญมากว่า  60 ปี ประวัติศาสตร์การพัฒนาที่ทำให้ไทยโดดเด่น ในฐานะศูนย์กลางการผลิตของภูมิภาค  แต่ปัจจุบันความแข็งแกร่งในแง่ของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยกำลังจะปริแตกจากปัจจัยหลายอย่าง  สิ่งนี้ไม่ได้สะท้อนภาพเกินจริง เพราะหลังจากตลาดในประเทศอ่อนแอลงมากโดยไม่มีการเหลียวแลจากภาคนโยบาย ประกอบการการดำเนินนโยบายส่งเสริมรถยนต์พลังงานใหม่ที่ก่อให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียม  ทำให้การลงทุนหรือการรักษาฐานดั้งเดิมไม่จูงใจต่อบรรดาผู้ผลิตรถยนต์อีกต่อไป เห็นได้จากการเริ่มปิดโรงงานหรือหาแหล่งซัพพลายรถยนต์จากแห่งใหม่ โดยการโยกการผลิตออกนอกประเทศ

บรรดาผู้ผลิตรถยนต์ดั้งเดิมได้เริ่มกระจายฐานการผลิตไปสู่ประเทศอื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงประเทศที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซียและเวียตนาม กำลังทำให้ไทยต้องกลายเป็นเพียงตลาด ไม่จำเป็นต้องมีกิจกรรมการผลิต ล่าสุด การนำเข้ารถยนต์จากแห่งการผลิตใหม่ๆ เช่น เวียตนามโดยฮุนได มอเตอร์ นำเข้ารถยนต์รุ่น PALISDDE ชี้ให้เห็นภาพความจริงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตที่ว่า ไทยในฐานะผลิตกำลังลดความสำคัญลงไป

 เวียตนามส่งรถเข้าไทยครั้งประวัติศาสตร์

ฮุนได พาลิเสท เป็นรถยนต์เอสยูวี  3 แถว 7ที่นั่งรุ่นแรกที่ฮุนได โมบิลิตี้ (ประเทศไทย)จำกัด เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 พ.ย.2567 ที่ผ่านมา ถือเป็นรถยนต์เกาหลีที่ผลิตในเวียตนามและนำเข้าสำเร็จรูป(CBU)จากเวียตนามรุ่นแรกเข้ามาจำหน่ายยังตลาดประเทศไทย ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญที่เวียตนามสามารถผลิตรถยนต์และส่งมาไทยได้ แม้ว่า ก่อนหน้านี้ จะมีค่ายรถยนต์ไฟฟ้าของเวียตนามเองคือวินฟาสต์ เตรียมตัวทำตลาดในไทยแต่สุดท้าย วินฟาสต์ก็ถอนตัวออกไป

ความสำคัญของการที่ ฮุนได มอเตอร์ สั่งรถจากเวียตนาม เข้ามาจำหน่ายในตลาดไทยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสต์  นั้น กำลังชี้ให้เห็นว่า ความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ของไทย เริ่มมีความเสี่ยง ทั้งนี้มีรายงานว่า ฟอร์ด กำลังสนใจเพิ่มบทบาทฐานการผลิตในเวียตนามเพราะ สามารถจำหน่ายรถยนต์กระบะเรนเจอร์ได้จำนวนมาก มีโอกาสที่จะส่งออกรถยนต์บางรุ่นจากแหล่งผลิตแห่งนี้ในอนาคต

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในไทย

  1. ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นในไทย
    ประเทศไทยมีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับบางประเทศในอาเซียน เช่น เวียดนาม หรือ อินโดนีเซีย ที่มีค่าแรงถูกกว่า และอาจได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและการลงทุนที่ดีกว่า

  2. การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
    ในยุคที่ตลาดรถยนต์กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และรถยนต์ที่เชื่อมต่อกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้ผลิตรถยนต์ต้องการฐานการผลิตที่สามารถรองรับการพัฒนาและผลิตรถยนต์เหล่านี้ได้ นอกจากนี้ ความสามารถในการวิจัยและพัฒนา (R&D) ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญในการแข่งขัน

  3. ความสะดวกในการเข้าถึงตลาด
    ถึงแม้ว่าผู้ผลิตจะกระจายฐานการผลิตไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน แต่ประเทศไทยยังคงเป็นตลาดที่มีการบริโภคสูง และมีโครงสร้างการส่งออกที่ดี ดังนั้นการผลิตในประเทศไทยยังคงมีความสำคัญในการเข้าถึงตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคอื่น ๆ

  4. การเปลี่ยนแปลงในแนวโน้มการผลิต (EV และ Mobility)
    หากประเทศไทยสามารถปรับตัวและลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) หรือรถยนต์ที่มีเทคโนโลยีอัตโนมัติ ก็จะสามารถรักษาตำแหน่งเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาคได้ นอกจากนี้ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ EV เช่น สถานีชาร์จ และนโยบายที่สนับสนุนการพัฒนา EV จะเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาความแข็งแกร่ง

  5. การกระจายฐานการผลิตในภูมิภาค
    แม้ว่าประเทศไทยจะยังคงเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ แต่การที่ผู้ผลิตรถยนต์เริ่มกระจายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น ๆ จะทำให้ประเทศไทยต้องแข่งขันกับประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า ดังนั้น อุตสาหกรรมรถยนต์ในไทยอาจต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขัน โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนต่าง ๆ เช่น การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ระดับโลก หรือการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง

 


Share this article


Related News/Articles

BYD ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าตลาดรถไทย และบทเรียนของผู้เร่งซื้อBEV

3 July 2024

ซูซูกิ ปิดโรงงานในไทย นัยยะแฝงที่มากกว่าแค่หยุดผลิต

7 June 2024

Insight into the Thai car market The first quarter of 2024 deteriorated. It is expected that the second quarter will continue to slow down.

7 May 2024

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 April 2024

MAZDA ก้าวข้ามอีวีด้วยพันธมิตรจีน

16 April 2024

เจาะลึกช่วงล่างเบื้องหลังความดุดันบนทุกเส้นทางของ Ford Ranger Raptor

1 March 2024

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 3: ไม่แถมไม่แจก Scarcity Strategy กระบะ TFR ประสู่ยุคทอง

16 January 2024

อีซูซุ ซีรีย์ ตอนที่ 2: เมืองหลวงข้าใครอย่าแตะ

8 January 2024

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ Privacy Policy

Accept