EN / TH

ฮอนด้า นิสสัน เจรจาควบรวมกิจการ

18 ธันวาคม 2567

MOTOR EXPO 2024 ปิดฉากสวยยอดจองกว่า 5 หมื่นคัน

11 ธันวาคม 2567

สำรวจหน้างาน มหกรรมยานยนต์เวทีร้อน โปรฉ่ำลุ้นยอดก่อนปิดงาน

6 ธันวาคม 2567

โฟตอน มอเตอร์ ผนึก คัมมินส์ เปิดโรงงานเครื่องยนต์ในไทย

6 ธันวาคม 2567

เปิดสเปค กระบะโพเออร์ ซิงเกิลแคป ดีเซลตัวแรกบุกไทย

5 ธันวาคม 2567

เนต้า ส่งสาส์นสร้างความมั่นใจ หลังหนานหนิงฯเข้าถือหุ้นใหญ่

3 ธันวาคม 2567

เปิดสเปก กระบะไฟฟ้า FOTON eTUNLAND หนึ่งชาร์จวิ่ง 350 กิโลเมตร

1 ธันวาคม 2567

โตโยต้า ส่ง GR ซีรี่ส์ เจาะตลาดเก๋งสมรรถสูง

30 พฤศจิกายน 2567

อีซูซุยกขบวนยนตรกรรมโชว์ขุมพลังดีเซล2.2L แห่งอนาคต 

30 พฤศจิกายน 2567

มาสด้า เปิดตัวกระบะ BT-50 ดีเซล 2.2

29 พฤศจิกายน 2567

เปอโยต์ จี๊ป ส่ง 2 รุ่นใหม่อวดโฉม เวทีมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่41

29 พฤศจิกายน 2567

เปิดราคารถรุ่นใหม่ค่ายฉางอาน บนเวทีมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 41

29 พฤศจิกายน 2567

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า รถยนต์

จับตาญี่ปุ่นเคลื่อนทัพอีวีด้วยระยะวิ่ง1000 กม.

8 กันยายน 2567| จำนวนผู้เข้าชม 321

 

รายงานข่าวจาก โตโยต้า มอเตอร์ ผู้ผลิตรถยนต์อันดับหนึ่งของโลก เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานของโตโยต้าที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า ล่าสุด คือ การประกาศเปลี่ยนชื่อ บริษัท ไพรม์เอิร์ธ อีวี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด( PEVE) ผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่ของญี่ปุ่น เป็น โตโยต้า แบตเตอรี่ จำกัด( TOYOTA BATTERY Co., Ltd.) พร้อมเผยแผนการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าหลากหลายรุ่นโดยเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 บริษัท ไพรม์เอิร์ธ อีวี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด( PEVE)ได้กลายเป็นบริษัทในเครือที่โตโยต้า มอเตอร์ ถือหุ้นทั้งหมด เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์หลายช่องทางของโตโยต้าในธุรกิจแบตเตอรี่ ทั้งนี้การเปลี่ยนชื่อใหม่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป

รายงานข่าวระบุว่า ชื่อของบริษัทใหม่นี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของโตโยต้า ในการใช้เทคโนโลยีและทักษะที่สั่งสมมาตั้งแต่ก่อตั้ง PEVE ในปี 2539 เพื่อสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันของแบตเตอรี่ญี่ปุ่น และก้าวขึ้นเป็นบริษัทที่จัดหาแบตเตอรี่ออนบอร์ดคุณภาพสูงและปลอดภัยสูง นอกจากแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEV) แล้ว โตโยต้า ยังมีแผนที่จะผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) และยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (PHEV)ที่หลากหลายสำหรับรถรุ่นใหม่ในอนาคต โตโยต้าจะติดตั้งแบตเตอรี่เจเนอเรชันใหม่และมีระยะการเดินทางได้ไกลถึง 1,000 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังจะใช้ชิปอินเวอร์เตอร์ชิป ซิลิคอนคาร์ไบด์( SiC) เพื่อลดระยะเวลาการชาร์จเร็ว DC ให้เหลือน้อยกว่า 20 นาที






มาสด้า ผนึกพานาฯ
ความเคลื่อนไหวทางด้านการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าของค่ายญี่ปุ่นแม้ช้ากว่าฝั่งจีน แต่ก็มีการวางรากฐานที่น่าสนใจ โดยค่ายที่เคลื่อนไหวของมาสด้าเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเนชั่น ได้ออกประกาศร่วมกับ บริษัท พานาโซนิค เอเนอร์จี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มพานาโซนิค ผู้ผลิตแบตเตอรี่รายสำคัญของโลก โดยระบุว่า ทั้งสองบริษัทได้เตรียมความพร้อมสำหรับการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน ชนิดรูปทรงกระบอกสำหรับยนตรกรรมแห่งอนาคตในเจเนอเรชั่นถัดไป ซึ่งคาดว่าจะติดตั้งในยานยนต์ไฟฟ้าของมาสด้า (BEVs) โดยมีกำหนดเปิดตัวนับตั้งแต่ปี 2027(พ.ศ.2570) หรืออีก 3 ปีข้างหน้า

การประกาศในครั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงของความร่วมมือก่อนหน้านี้ และสะท้อนถึงความมุ่งมั่นต่อความร่วมมือในระยะกลางถึงระยะยาวของทั้งสองบริษัท ทั้งนี้กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น ได้อนุมัติโครงการความร่วมของทั้งสองบริษัทในการขยายกำลังการผลิตแบตเตอรี่ และการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นที่เรียบร้อยแล้วในวันเดียวกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการสร้างแหล่งผลิตแบตเตอรี่ที่มั่นคงและยั่งยืนในอนาคต

สำหรับมาสด้า ภายในปี 2027 วางแผนเตรียมเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ (BEVs) ที่พัฒนาขึ้นจากแพลตฟอร์ม EV ที่ออกแบบเฉพาะขึ้นเป็นครั้งแรก ตามวิสัยทัศน์ระยะกลาง Sustainable Zoom-Zoom 2030
โดยบริษัท พาโนโซนิค เอเนอร์จี จำกัด ตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตและมีแผนที่จะผลิตแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน ชนิดรูปทรงกระบอกขึ้นที่โรงงาน ซูมิโนเอะ และ คาอิซูกะ ในเมืองโอซาก้า โดยแบตเตอรี่เหล่านี้จะถูกบรรจุเป็นโมดูลโดยมาสด้า และสำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ พานาโซนิค เอเนอร์จี ได้วางกำลังการผลิตในประเทศญี่ปุ่นที่ 10GWh ต่อปีภายในปี 2030 ถือเป็นการช่วยเสริมสร้างห่วงโซ่อุปทานแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน ชนิดรูปทรงกระบอกในประเทศ พร้อมทั้งขยายและเสริมสร้างฐานการผลิตของญี่ปุ่นอีกด้วย

นายมาซาฮิโระ โมโร่ ประธานและซีอีโอของมาสด้า กล่าวว่า จัดหาแบตเตอรี่โดยพานาโซนิค เอเนอร์จี จะทำให้มาสด้าสามารถนำเสนอรถยนต์ไฟฟ้าที่มีเอกลักษณ์มีความสมดุลระหว่างการออกแบบ ความสะดวกสบาย และระยะทางในการขับขี่ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดมากขึ้น

โตโยต้ายืนแผนเปิดตัวBEVแม้ตลาดชะลอตัว
สำหรับโตโยต้า มอเตอร์โดยผู้นำคนใหม่ โคจิ ซาโตะ ซึ่งนั่งในตำแหน่งซีอีโอในวันที่ 1 เมษายน 2566 และประกาศนโยบายการพัฒนาในอนาคตของโตโยต้า ที่เผยให้เห็นถึงทิศทางของกลุ่มโตโยต้าที่จะตามตลาดพลังงานไฟฟ้าอย่างแข็งขัน เป้าหมายที่ประกาศไว้ คือ ภายในปี 2569 โตโยต้าจะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า 10 รุ่น และตั้งเป้ายอดขายรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 1.5 ล้านคันภายในปี 2569 อย่างไรก็ตามตามรายงานล่าสุดจากสื่อต่างประเทศ โตโยต้ากำลังพิจารณาปรับเป้าหมายการขายรถยนต์ไฟฟ้าลดลงเหลือ 1 ล้านคันในปี 2569 หรือ ลดลง 30% เมื่อเทียบกับเป้าหมายที่วางแผนไว้ก่อนหน้านี้

ยอดขายปี 2569 แม้ตัวเลขจะลดลงแต่ยังเป็นก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของกลุ่มโตโยต้าที่ต้องการขายรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งสถิติของโตโยต้าทำยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าได้เพียง 1 แสนคันในปี 2566 อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงสภาพตลาดที่รถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกชะลอการเติบโต  และคาดว่าการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของกลุ่มโตโยต้าจะผลิตและจำหน่ายได้เพียง 4 แสนคันในปี 2568 แม้ว่าเป้าหมายการผลิตและการขายจะลดลงแต่แผนการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าของโตโยต้าก็ไม่ได้ล่าช้าโดยโตโยต้าจะเปิดตัวรถ 10 รุ่นภายในปี 2569 และจะสร้างรถยนต์ไฟฟ้า 2 รุ่นใหม่ ประกอบไปด้วยรถจากแพลตฟอร์มรถยนต์ไฟฟ้า 3 รุ่นในตลาดหรูหราและรถสปอร์ตไฟฟ้า 1 รุ่น

ตามรายงานของสื่อต่างประเทศ โตโยต้าไม่ได้ยืนยันการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายที่จะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า 30 รุ่นในปี 2573 และเป้าหมายการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 1.5 ล้านคันในปี 2569 โดยระบุเพียงว่าตัวเลขเหล่านี้เป็นเพียงเป้าที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกันสื่อต่างประเทศยังชี้ให้เห็นว่ากลุ่มโตโยต้าจะเพิ่มแผนการผลิตและการเปิดตัวรุ่น PHEVอีกจำนวนมาก โตโยต้าไม่ใช่ผู้ผลิตรถยนต์เพียงรายเดียวที่ชะลอการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น วอลโว่ได้ล้มเลิกเป้าหมายที่จะเปลี่ยนไปสู่การเป็นแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้า อย่างสมบูรณ์ในปี 2573 โดย วอลโว่ เน้นไปที่รถไฮบริดพลังงานไฟฟ้า-เบนซิน PHEV แทน - ฟอร์ดเพิ่งยกเลิกแผนการเปิดตัวรถยนต์SUV ไฟฟ้า ขนาดใหญ่และเลื่อนการเปิดตัวรุ่นต่อจากรถบรรทุกไฟฟ้า F-150 Lightning ไปจนถึงปี 2027

ยุคแบตเตอรี่โซลิดสเตตกำลังมา
ดูเหมือนว่าในระยะกลางของโลกยานยนต์ไฟฟ้ากำลังมุ่งหน้าไปที่การพัฒนาแบตเตอรี่โซลิดสเตต โดยโตโยต้า มอเตอร์ ระบุว่า บริษัท กำลังวิจัยและลงทุนในแบตเตอรี่โซลิดสเตตอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะมา”เปลี่ยนเกม”โดยเน้นไปที่เวลาในการชาร์จที่เร็วขึ้นและมีระยะทางวิ่งที่ยาวขึ้นอย่างมาก เป้าหมายของโตโยต้า คือ การนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ภายในปี 2570-2571 ซึ่งอาจทำให้โตโยต้า เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมแบตเตอรี่การมุ่งเน้นไปที่ แบตเตอรี่โซลิดสเตตนี้ เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของโตโยต้า ในการสำรวจเทคโนโลยีแบตเตอรี่ทางเลือก นอกเหนือจาก”ลิเธียมไอออน”แบบดั้งเดิม
สำหรับข้อจำกัดเดิมของแบตเตอรี่โซลิดสเตต (Sodium-sulfur Battery)มีข้อดีคือ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และมีประสิทธิภาพในการเก็บพลังงานสูง จุดด้อยอยู่ตรงที่ขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก และมีราคาสูงกว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน นอกจากนี้ การผลิตและการบำรุงรักษาก็มีความซับซ้อน


 


แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

ฮอนด้า นิสสัน เจรจาควบรวมกิจการ

18 ธันวาคม 2567

MOTOR EXPO 2024 ปิดฉากสวยยอดจองกว่า 5 หมื่นคัน

11 ธันวาคม 2567

สำรวจหน้างาน มหกรรมยานยนต์เวทีร้อน โปรฉ่ำลุ้นยอดก่อนปิดงาน

6 ธันวาคม 2567

โฟตอน มอเตอร์ ผนึก คัมมินส์ เปิดโรงงานเครื่องยนต์ในไทย

6 ธันวาคม 2567

เปิดสเปค กระบะโพเออร์ ซิงเกิลแคป ดีเซลตัวแรกบุกไทย

5 ธันวาคม 2567

โตโยต้า ส่ง GR ซีรี่ส์ เจาะตลาดเก๋งสมรรถสูง

30 พฤศจิกายน 2567

อีซูซุยกขบวนยนตรกรรมโชว์ขุมพลังดีเซล2.2L แห่งอนาคต 

30 พฤศจิกายน 2567

มาสด้า เปิดตัวกระบะ BT-50 ดีเซล 2.2

29 พฤศจิกายน 2567

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว+

ยอมรับ