TH / EN

GWM CANNON ALPHA HYBRID ราคาออสซี่ราว 1.571 บาท แต่มีดีเซลให้เลือกด้วย

3 May 2024

Pakelo Lubricants แบรนด์น้ำมันหล่อลื่นแท้จากอิตาลีแท้ เผยกลยุทธ์เด็ดมัดใจคนไทย ชูจุดเด่นด้านสมรรถนะ และพันธมิตรทั่วประเทศ

29 April 2024

Lexus เผยโฉม NX 2024 MNC พร้อม NX 450h+ Overtrail สำหรับสายลุย ราคา 4,180,000 บาท

29 April 2024

VinFast ทำการบ้านมาดี ปรับแผนเต็มที่เพื่อบุกตลาดบ้านเราโดยเฉพาะ โดยเข้าใจถึงสถานการณ์สำคัญอย่าง "ราคา"

29 April 2024

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 April 2024

NEW MG4 ELECTRIC ไตรมาสแรกของปียอดพุ่ง 45% รถ EV ดีไซน์สปอร์ต ในราคาเริ่มต้น เพียง 709,900 บาท

26 April 2024

NEW Yamaha XMAX CONNECTED 2024 ไฟหน้า-ท้าย LED ดีไซน์ใหม่ เรือนไมล์แบบใหม่ แสดงผล 2 หน้าจอ Digital LCD 3.2” พร้อมจอสี TFT 4.2 ในราคา 191,100 บาท

26 April 2024

มิตซูบิชิ ไทรทัน คว้ารางวัลความปลอดภัยสูงสุด 5 ดาว จาก ANCAP

26 April 2024

สแกนเนียเตรียมเปิดตัวรถบรรทุก ยูโร 5 กลางปี พร้อมเผยตัวเลขยูโร 3 ล็อตสุดท้าย เหลือไม่ถึง 30 คันแล้ว

26 April 2024

New ISUZU D-Max 2024 ปรับไมเนอร์ฯในออสเตรเลียขาย 25 รุ่น ท็อปสุดรุ่น X-Terrain 1.7 ล้านบาท

26 April 2024

ISUZU Australia แถลงยืนไม่ออกจากตลาดนี้ พร้อมปรับตัวสู่มาตรฐานไอเสียที่เข้มงวดด้วยรถรุ่นใหม่ (NVES)

26 April 2024

Lamborghini Urus SE ซุปเปอร์คาแบบ PHEV SUV รุ่นแรกของแบรนด์ พลัง 800 แรงม้า ทำ 0-100 km/h ได้ใน 3.4 วินาที

25 April 2024

No Data Found

Back To Page Article

รถชาวจีน ยุคสอบไม่ผ่านการออกแบบ

7 December 2023| Number Of Visitors 1,255

 

 

คนไทยนิยมรถยนต์จากจีนมากขึ้น เห็นได้จากยอดจองรถยนต์และผู้ชมในบูธรถยนต์ของชาวจีนที่งานหกรรมยานยนต์

 

ทุกๆปีสื่อยานยนต์อย่างผมและเพื่อน จะยุ่งหัวเกรียน อยู่กับวันเปิดงานโชว์รถรอบสื่อแม้หลังๆ จะมีสื่อมากหน้าหลายตา สื่อแปลกๆ ใหม่ๆ เข้าร่วมทำงานด้วยแต่บรรดาสายยานยนต์กับสายมอเตอร์ไซด์อันเป็นสื่อหลักนั้น ก็ทำงานกันจริงจังเต็มที่ ซึ่งแนวทางการทำงาน สื่อใหม่กับสื่อหลัก วิถีหลายอย่างก็ไปด้วยกันไม่ได้ ด้วยการ Disruption นี้เอง ทำให้สื่อหลักก็ต้องปรับตัวและทำงานด้วยวิถีใหม่

 

ปกติแล้วทุกปี ผมไปงานแสดงรถสำคัญนี้ในรอบสื่อเพื่อพบปะ ผู้คน ผู้บริหาร รับฟังแนวคิดใหม่ๆ หรือเบื้องหน้าเบื้องหลังการตลาด การวางแผนผลิตภัณฑ์ และมีพื้นที่และเวลาเพียงพอสำหรับผลิตเนื้อหา แต่ปี 2566 ไม่ได้ไปรอบสื่อ ผมไปรอบประชาชนทั่วไป ซึ่งกิจกรรมในวันสาธารณะนี้ แตกต่างไปจากรอบสื่อ ที่น่าสนใจคือผมไปสังเกตการณ์ ลานทดลองขับรถ  คนจองคิวแน่น แต่เฉพาะรถยนต์แบรนด์จีนนะครับ ส่วนรถแบรนด์อื่นส่วนใหญ่เป็นรถญี่ปุ่น ค่อนข้างบางตา มีบ้างรถเกาหลีอย่างฮุนได ที่มีรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ก็คึกคักพอสมควร และจากยอดจองรถที่รายงานกันตามสื่อหนาตา พอจะสรุปได้ว่า คนไทยเราไม่ติดกับรถจากจีนและเรารับรสนิยม ความชื่นชอบรถยนต์แบบชาวจีนไปเรียบร้อยแล้ว

 

ถ้าหากเราไม่มียานยนต์ไฟฟ้าในยุคนี้เราคงยังไม่รู้จักกับ "รถยนต์จากจีน" ที่แท้จริง และถ้าเทคโนโลยีไม่เกิดการ Disruption  เราคง ยังอยู่กับ "ฟอร์ม ฟอลโล ฟังก์ชั่น" อันเป็นคอนเซ็ปต์การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่แทรกอยู่ทุกส่วนของรถยนต์อีกต่อไป

 

บางคนอาจจะเถียงว่า ก็รถยนต์ไฟฟ้ามีแค่รถจีน  คนนิยมรถยนต์ไฟฟ้า ย่อมนิยมรถจีนไปด้วยเป็นธรรมดา ก็ถูกตามนั้นแต่อย่าลืมนะครับว่า "คนไทยรสนิยมสูง" รถยนต์ให้ลึกล้ำขนาดไหนแต่ถ้า หน้าตาไม่สวย ภายในไม่ดี อย่าหวังจะได้ไปวัดไปวา จริงๆแล้ว คนไทยถือว่า เป็นผู้บริโภคที่พัฒนาแล้วนะ เพราะมีประสบการณ์กับคุณภาพของรถมามาก เชื่อไหมว่า กระบะไทยดีที่สุดในโลก เพราะว่า ทำไม่ดี คนไทยไม่ซื้อไง

 

ขนาดยี่ห้อช้ำๆ แบรนด์ที่บาดเจ็บ มีบาดแผลลึกมาจากอดีต อย่างฟอร์ด ยังผงาดมาอยู่ที่ 3 ในตลาดกระบะ ด้วยเหตุผลคือ คุณภาพผลิตภัณฑ์มันได้ และที่ร่วงระนาวไปหรือว่าแจ้งเกิดไม่ได้ เพราะรถยังเป็นรอง ทั้งหมดนี้เลือกโดยผู้บริโภคที่มีคุณภาพอย่างชาวไทยของเรานี่ล่ะ

 

จากประสบการณ์วงการรถยนต์เมืองไทยเกิน 30 ปี "เมืองไทยถือเป็นตลาดปราบเซียน" ขนาดอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ยังต้องถอนตัว ถ้าพูดถึง บิ๊กทรี จีเอ็ม ฟอร์ด ไครสเลอร์ อย่างน้อย 2 ค่ายบิ๊กทรี ไครสเลอร์กับจีเอ็ม ก็บาดเจ็บเจียนตาย-ถอนตัวไปจากเมืองไทย ยุคอดีตรถอเมริกันพ่ายยับต่อรถญี่ปุ่นมาแล้ว ยุคนี้ญี่ปุ่นจะพ่ายต่อรถจีนหรือเปล่าน่าสนใจ เพราะถึงตอนนี้ต้องยอมรับว่า ลูกค้าหลายคนชื่นชอบในการออกแบบรถยนต์ของชาวจี

 

ย้อนไป 50 ปีที่แล้ว เป็นยุคที่จีนอยู่ในสภาพที่ยากจนไม่มีอุตสาหกรรมใดๆ 20 ปีให้หลังจีนก็ยังสอบไม่ผ่านเรื่องการออกแบบรถ แต่วันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วผู้บริโภคคนไทยหันมาตามรสนิยม ความชื่นชอบในการออกแบบรถยนต์ของชาวจีน

 

วันที่ผมไปมอเตอร์โชว์ ได้ลองนั่ง BYD SEAL ผมรู้สึกและเข้าใจจีนดีเลยว่ารถจีน ตอบสนองโครงสร้างความต้องการของผู้โดยสารมากกว่ารถคู่แข่ง

 

ผมเดินทางไปจีนบ่อยๆ ช่วงที่จีนกำลังพัฒนารถยนต์ของตัวเองหรือเกือบ 20 ปีมาแล้วครับ  ปกติผมเดินทาง เยอรมัน ญี่ปุ่น เพราะศูนย์กลางการแสดงรถของโลก ในงานแฟรงเฟิร์ต ออโต้โชว์ ยุคนั้นอยู่ที่สองประเทศนี้ นักข่าวเจ้าถิ่นไม่ว่า อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศษ สื่อจากยุโรปดูมีออร่ามากที่สุด รองลงมาคือ นักข่าวญี่ปุ่น และนักข่าวอเมริกา ส่วนเรานักข่าวอาเซียน ไทย อินโด มาเล เป็นตัวติดสรอยห้อยตามเขาไป  เวทีแถลงข่าวระดับนานาชาติสื่อ ผมสังเกตว่าช่วงแรก ไม่มีนักข่าวสายยานยนต์จากจีนเลย แต่พอช่วงหลังๆ เริ่มมีนักข่าวจากจีนร่วมคณะบ่อยขึ้นและจากหนึ่งคน พัฒนาไปทำงานแยกกลุ่มเฉพาะสื่อจีนเลยทีเดียว จำได้ว่า ในการทดสอบรถของจีเอ็มที่ดูไบ มีนักข่าวจีนเยอะมาก แถมด้วยวัฒนธรรมแปลกๆที่นักข่าวอินเตอร์เขาไม่ทำกัน คือ การวางกระเป๋าจองรถทดสอบซึ่งก็เข้าใจได้ว่าจีน คนเยอะต้องแย่งชิงกัน

 

ครั้งหนึ่งในงานแฟรงเฟิร์ต ออโต้โชว์ ผมเห็นสื่อจีนเอาตลับเมตรไปวัดรถ บางคนก็วัดภายใน วัดล้อ วัดท่อไอเสีย นักทดสอบรถจีนนี่เขาละเอียดขนาดวัดกันเลยหรือ? และเขาก็ไม่กระดากอายหรือเกรงใจใครในการจะยืนวัดกันแบบโต้งๆ บนเวที สุดท้าย..หลายปีผ่านไปผมเข้าใจแล้วว่าทำไมนักข่าวจีนเขาวัดรถ คนเหล่านั้นมาในคราบสื่อเพื่อสะสมข้อมูลไปพัฒนารถยนต์ของเขา

 

ทุกวันนี้ นักข่าวสายยานยนต์ของจีน ออร่าเพียบเมื่อเทียบกับนักข่าวฝรั่ง โลกมันเปลี่ยนไปแฟรงเฟิร์ต ออโต้โชว์ งานโชว์รถเบอร์ 1 ของโลก ต้องลดขนาดลง ย้ายตัวเองไปที่มิวนิค ญี่ปุ่นต้องเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนแนวคิด ส่วนงานโชว์รถที่จีนเพิ่มจำนวนมาก เช่น ที่เชี่ยงไฮ  กวางโจว ปักกิ่ง เฉิงตู มีทั้งที่จัดงานทุกปีหรือแบบ 2 ปีครั้ง

 

ใครที่เคยสัมผัส Chery ในยุคที่ซีพีกับยนตรกิจ จับมือกัน นำรถเข้ามาขายในเมืองไทยครั้งนั้นสภาพการออกแบบและการผลิตของรถจีนแย่มาก ยนตรกิจจึงต้องเลิกขาย เพราะไม่ไหวจะทนกับคุณภาพ  คนจีนทำรถง่ายๆ ขอให้วิ่งได้ขนของได้เป็นพอ งานผลิตหยาบ  Chery ยุคนั้นฝาถังน้ำมันทำสีเฉพาะภายนอก อีกฝั่งหนึ่งปล่อยเปลือยมีสีผง เปื้อนเปอะ  ส่วนช่วงล่างก็ไม่มีการทดสอบ แค่ใส่โช้คอัพและระบบกันสะเทือนให้เห็นว่า รถมีโช้ค เท่านั้น พอมาเป็นรถจีนในวันนี้มีการพัฒนาลึกลงไป มีการสะท้อนให้เห็นถึงสุนทรียภาพ  ยังรวมถึงแง่มุมการใช้งานและวัฒนธรรมอีกด้วย การออกแบบยานยนต์ของจีน พื้นฐานนั้นภายในต้องกว้างขวาง คุณสมบัติที่หรูหรา และการออกแบบภายนอกที่โดดเด่น และจีนกล้าผสมผสานองค์ประกอบทางวัฒนธรรม สัญลักษณ์ และสุนทรียศาสตร์ที่สะท้อนถึงประวัติศาสตร์และประเพณีอันยาวนานของประเทศเข้าไปด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ รถที่พัฒนาแล้วอย่างค่ายญี่ปุ่นก็นิยมนำไปใช้ไม่ว่าจะเรียกชื่อรุ่นหรือคอนเซ็ปต์ ในการพัฒนาตามแบบญี่ปุ่น อย่างมาสด้า ใช้แนวคิดการออกแบบโคโดะ (KODO DESIGN)

 

ช่วงหลังเราทราบว่าการออกรูปทรงรถจีนได้รับอิทธิพลมาจาก อดีตนักออกแบบรถยนต์ชาวยุโรปที่..เกษียรแล้ว ซึ่งผลผลิตของรถที่มาจากนักออกแบบเหล่านั้นผมยังรู้สึกว่า มันคือ โมเดลที่มาก่อนกาลในยุคที่เขายังทำงานประจำ อย่างไรก็ตาม จีนแข็งแกร่งพอที่จะใส่สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตัวเอง เพื่อสร้างเอกลักษณ์อันเป็นคุณลักษณะเด่นๆ ออกมา เอกลักษณ์ที่สะท้อนถึงต้นกำเนิดของจีน อย่างชื่อแบรนด์เกรทวอลล์ เป็นแบรนด์ตัวอย่าง ในการกำหนดชื่อแบรนด์เป็นจีนแท้  ส่วน BYD คือ ตัวแทนผลผลิตของการผสานวัฒนธรรมจีนกับนานาชาติ

 

ในฐานะจีนนั้นผู้เล่นหลักในตลาดซอฟแวร์โลก มันมีผลต่อการออกแบบรถสมัยใหม่  การออกแบบยานยนต์ของจีนให้ความสำคัญกับการเชื่อมต่อ และเทคโนโลยี ระบบสาระบันเทิงขั้นสูง อินเทอร์เฟซ ที่มีนวัตกรรมใหม่ การออกแบบภายในของรถจีน เรียบง่าย เน้นระบบควบคุมแบบสัมผัส (touchscreen) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจการทำงานของวัตถุนั้นๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องมีคำอธิบายเพิ่มเติม

 

ถ้าหากเราไม่มียานยนต์ไฟฟ้าในยุคนี้เราคงยังไม่รู้จักกับ "รถยนต์จากจีน" ที่แท้จริง และถ้าเทคโนโลยีไม่เกิดการ Disruption  เราคงยังอยู่กับ "ฟอร์ม ฟอลโล ฟังก์ชั่น" หรือ การออกแบบรูปร่างของวัตถุให้สอดคล้องกับฟังก์ชันหรือการทำงาน อันเป็นคอนเซ็ปต์การออกแบบผลิตภัณฑ์เดิมๆ ที่แทรกอยู่ทุกส่วนของรถยนต์

 

แนวคิดใหม่ๆ จากจีนมีผลต่อการพัฒนา ทั้งในด้านดีไซน์, ประสิทธิภาพ, ความปลอดภัย, และเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมยานยนต์ เราในฐานะผู้ใช้ จึงต้องเรียนรู้ "วิธีการขับขี่รถยนต์ยุคใหม่" รถยุคเก่า คุณใช้เวลา 1 ชั่วโมงในการเข้าใจระบบทำงานพื้นฐานแต่ในยุคปัจจุบัน คุณอาจจะต้องใช้เวลา 4 ชั่วโมงเพื่อเรียนรู้ฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆ ของรถ

 

ในฐานะที่ MassAutoCar ได้สัมผัสสิ่งเหล่านี้ก่อนผู้อ่าน ทีมงานของเรากำลังทำการบ้าน เพื่อตอบแทนแฟนๆ ด้วยกิจกรรมดีๆ ที่จะช่วยให้เรารู้จักวิธีขับรถยุคใหม่ในกิจกรรม ฉลองครบรอบ 8 ปี MassAutoCar พบกันเร็วๆ นี้

 

บทความโดย: ยุทธพงษ์ ภาษี


Share this article


Related News/Articles

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 April 2024

MAZDA ก้าวข้ามอีวีด้วยพันธมิตรจีน

16 April 2024

เจาะลึกช่วงล่างเบื้องหลังความดุดันบนทุกเส้นทางของ Ford Ranger Raptor

1 March 2024

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 3: ไม่แถมไม่แจก Scarcity Strategy กระบะ TFR ประสู่ยุคทอง

16 January 2024

อีซูซุ ซีรีย์ ตอนที่ 2: เมืองหลวงข้าใครอย่าแตะ

8 January 2024

อีซูซุ ซีรีย์: ตอน1 ก่อนจะมีวันที่ดีของตรีเพชรฯ

4 January 2024

สำรวจภาพไทยกับทุนใหม่ ในวันที่รถญี่ปุ่นอ่อนแรง

9 December 2023

IMV - เมด บาย โตโยต้า ตอนที่ 3: อีซูซู - โตโยต้า..กว่าจะมาถึงวันนี้

28 November 2023

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ Privacy Policy

Accept