วินฟาสต์ ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าค่ายเดียวของ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องเผชิญหน้าความท้าทายอย่างสุดขั้ว ซึ่งการเปิดตลาดประเทศไทยแตกต่างไปจาก ตลาดรถยนต์ไฟฟ้า
แห่งอื่นๆ ที่วินฟาสต์ เข้าไปทำตลาดและรายงานล่าสุดแหล่งข่าวจากวงการรถยนต์ บอกกับเราว่า วินฟาสต์ ตัดสินใจดีเลย์ ในการเปิดตัวรถยนต์ในไทยออกไปไม่มีกำหนด
แม้จะยังไม่มีการออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ แต่ค่ายรถยนต์สัญชาติเวียดนามอย่างวินฟาสต์ (Vinfast)
ยอมที่จะพับแผน ธุรกิจในประเทศไทย
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา วินฟาสต์ ได้เริ่มปูทางการเข้าทำตลาดนับตั้งแต่ การสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร ควบคู่ไปกับ การสร้างการรับรู้ในแบรนด์โดยผ่านแผนการประชาสัมพันธ์ของเอเยนซี่ยักษืใหญ่
โอกิลวี่ และก่อนหน้านี้ได้เปิดตัวบริษัท และพาสื่อมวลชนไทยไปเยี่ยมชม โรงงานผลิตที่เวียดนาม
การปูทางสู่ไทยแลนด์นั้นเป็นขั้นเป้นตอน และมีระบบจากการใช้ตัวแทนประสานงานระดับโลก ซึ่งแตกต่างไปจากค่ายรถจีนหลายค่ายที่ไม่ ต้องอาศัยกลยุทธ์ใดๆ เข้ามาเปิดตัวกันง่ายๆ
แบบแบกเข่ง ขายของ ผิดก็แก้ แต่ก็ยังมีคนซื้อด้วยความที่จีนมีความได้เปรียบในแง่ ต้นทุนและปริมาณ การขายรถหรือการเปิดตัวรถ ทำได้ง่ายเหมือนขายของเล่น
แต่สำหรับ รถ วินฟาสต์ รถที่แทบไม่มีใครรู้จักรากเง่าของเทคโนโลยี "
เรามาดูจุดอ่อน ของรถวินฟาสต์ แบบนักวิเคราะห์กัน
1.เทคโนโลยี วินฟาสต์ พัฒนารถจากการซื้อเทคโนโลยีต่างๆ มาเพื่อประกอบรถ แนวคิดเดียวกับการประกอบคอมพิวเตอร์ หรือ รถที่ไม่ได้มาจากอุตสาหกรรมรถยนต์หลายยี่ห้อ
แบตเตอรี่ของใครดีก้ซื้อมา บีเอ็มเอส ค่ายชั้นนำของโลก หรือ แม่แต่โมดูล ADAS ที่มาจากซัพพลายเออร์ชั้นนำ แต่เมือ ตัวเองไม่ได้มีเทคโนโลยี ของตัวเองย่อม ต้นทุนย่อมสูงและหากจะได้ล้ำสมัยยิ่งต้องจ่ายเพิ่ม
ดังนั้นเทคโนโลยี จึงไม่สามารถเทียบไปแข่งขันได้ในตลาด แม้แต่รถราคาถูกๆ ของจีน
2.หน้าตา หน้าตาของ วินฟาสต์ ดูเหมือนตกยุคไปหนึ่งเจนเนอเรชั่น เทียบกับรถยนต์ไฟฟ้าในยุคเดียวกัน และเป็นแทบทุกรุ่น อายุของโมเดล ยังไม่ทันได้เปิดตลาดหลักก็เข้าโซนต้อง หยุดและเปลี่ยนรุ่น
หน้าตาคือต้นทุนที่ต้องจ่าย เพราะ การเปลี่ยนแต่ละครั้งนอกจาก แบบรถใหม่ที่ต้องพัฒนาแล้ว เครื่องมือต่างๆ ในการผลิตต้องสอดคล้องในความทันสมัยด้วย
การเริ่มต้นในตลาดที่ไม่สำเร็จมากนัก ทำให้ การเปลี่ยน Look การขาดทุนยิ่งขายน้อย ยิ่งปรับเปลี่ยนได้ช้า