EN / TH

เผยสเปค เรนเจอร์ PHEV วิ่งไฟฟ้า 4 โหมดเปิดตัวกลางปีหน้า

4 ตุลาคม 2567

โตโยต้า พลิกเกมกระบะเล็งวางเครื่อง 300 ม้าในรีโว่

30 กันยายน 2567

บีวายดี ย้ำแผนรุกยุโรป ประกาศความพร้อมแสดงรถ"ปารีส มอเตอร์โชว์ 2024"

29 กันยายน 2567

เชอรี่เปิดคลังอะไหล่พร้อมส่งทั่วประเทศ 3 วันทำการ

26 กันยายน 2567

เดโก้ เตรียมส่งรถใหม่ 10 รุ่นบุกตลาดไทย

26 กันยายน 2567

ดีลเลอร์จีนเสี่ยงปิดกิจการ เซ่นพิษสงครามราคา

25 กันยายน 2567

เปิดสเปคไฮลักซ์ ดีเซล Hybrid 48V จัดเต็มขุมพลังใหม่พร้อมลุยไทย

25 กันยายน 2567

กระบะไฟฟ้า"ริดดารา"เปิดจอง 1,000 สิทธิ วันนี้

25 กันยายน 2567

ห้างจีนแบนรถยนต์ไฟฟ้าห้ามจอดชั้นใต้ดินหวั่นไฟไหม้

18 กันยายน 2567

จีลี่ตั้ง"ริดดารา"ไทยแลนด์ จัดทัพกระบะบุกไทย ต.ค.67

17 กันยายน 2567

จับตาญี่ปุ่นเคลื่อนทัพอีวีด้วยระยะวิ่ง1000 กม.

8 กันยายน 2567

Mercedes-AMG CLE 53 4MATIC+ Coupé สปอร์ตคูเป้เบนซิน 6 สูบ เปิดราคาประกอบไทย 5,250,000 บาท

7 กันยายน 2567

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า รถยนต์

จับตาญี่ปุ่นเคลื่อนทัพอีวีด้วยระยะวิ่ง1000 กม.

8 กันยายน 2567| จำนวนผู้เข้าชม 173

 

รายงานข่าวจาก โตโยต้า มอเตอร์ ผู้ผลิตรถยนต์อันดับหนึ่งของโลก เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานของโตโยต้าที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า ล่าสุด คือ การประกาศเปลี่ยนชื่อ บริษัท ไพรม์เอิร์ธ อีวี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด( PEVE) ผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่ของญี่ปุ่น เป็น โตโยต้า แบตเตอรี่ จำกัด( TOYOTA BATTERY Co., Ltd.) พร้อมเผยแผนการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าหลากหลายรุ่นโดยเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 บริษัท ไพรม์เอิร์ธ อีวี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด( PEVE)ได้กลายเป็นบริษัทในเครือที่โตโยต้า มอเตอร์ ถือหุ้นทั้งหมด เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์หลายช่องทางของโตโยต้าในธุรกิจแบตเตอรี่ ทั้งนี้การเปลี่ยนชื่อใหม่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป

รายงานข่าวระบุว่า ชื่อของบริษัทใหม่นี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของโตโยต้า ในการใช้เทคโนโลยีและทักษะที่สั่งสมมาตั้งแต่ก่อตั้ง PEVE ในปี 2539 เพื่อสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันของแบตเตอรี่ญี่ปุ่น และก้าวขึ้นเป็นบริษัทที่จัดหาแบตเตอรี่ออนบอร์ดคุณภาพสูงและปลอดภัยสูง นอกจากแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEV) แล้ว โตโยต้า ยังมีแผนที่จะผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) และยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (PHEV)ที่หลากหลายสำหรับรถรุ่นใหม่ในอนาคต โตโยต้าจะติดตั้งแบตเตอรี่เจเนอเรชันใหม่และมีระยะการเดินทางได้ไกลถึง 1,000 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังจะใช้ชิปอินเวอร์เตอร์ชิป ซิลิคอนคาร์ไบด์( SiC) เพื่อลดระยะเวลาการชาร์จเร็ว DC ให้เหลือน้อยกว่า 20 นาที






มาสด้า ผนึกพานาฯ
ความเคลื่อนไหวทางด้านการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าของค่ายญี่ปุ่นแม้ช้ากว่าฝั่งจีน แต่ก็มีการวางรากฐานที่น่าสนใจ โดยค่ายที่เคลื่อนไหวของมาสด้าเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเนชั่น ได้ออกประกาศร่วมกับ บริษัท พานาโซนิค เอเนอร์จี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มพานาโซนิค ผู้ผลิตแบตเตอรี่รายสำคัญของโลก โดยระบุว่า ทั้งสองบริษัทได้เตรียมความพร้อมสำหรับการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน ชนิดรูปทรงกระบอกสำหรับยนตรกรรมแห่งอนาคตในเจเนอเรชั่นถัดไป ซึ่งคาดว่าจะติดตั้งในยานยนต์ไฟฟ้าของมาสด้า (BEVs) โดยมีกำหนดเปิดตัวนับตั้งแต่ปี 2027(พ.ศ.2570) หรืออีก 3 ปีข้างหน้า

การประกาศในครั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงของความร่วมมือก่อนหน้านี้ และสะท้อนถึงความมุ่งมั่นต่อความร่วมมือในระยะกลางถึงระยะยาวของทั้งสองบริษัท ทั้งนี้กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น ได้อนุมัติโครงการความร่วมของทั้งสองบริษัทในการขยายกำลังการผลิตแบตเตอรี่ และการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นที่เรียบร้อยแล้วในวันเดียวกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการสร้างแหล่งผลิตแบตเตอรี่ที่มั่นคงและยั่งยืนในอนาคต

สำหรับมาสด้า ภายในปี 2027 วางแผนเตรียมเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ (BEVs) ที่พัฒนาขึ้นจากแพลตฟอร์ม EV ที่ออกแบบเฉพาะขึ้นเป็นครั้งแรก ตามวิสัยทัศน์ระยะกลาง Sustainable Zoom-Zoom 2030
โดยบริษัท พาโนโซนิค เอเนอร์จี จำกัด ตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตและมีแผนที่จะผลิตแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน ชนิดรูปทรงกระบอกขึ้นที่โรงงาน ซูมิโนเอะ และ คาอิซูกะ ในเมืองโอซาก้า โดยแบตเตอรี่เหล่านี้จะถูกบรรจุเป็นโมดูลโดยมาสด้า และสำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ พานาโซนิค เอเนอร์จี ได้วางกำลังการผลิตในประเทศญี่ปุ่นที่ 10GWh ต่อปีภายในปี 2030 ถือเป็นการช่วยเสริมสร้างห่วงโซ่อุปทานแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน ชนิดรูปทรงกระบอกในประเทศ พร้อมทั้งขยายและเสริมสร้างฐานการผลิตของญี่ปุ่นอีกด้วย

นายมาซาฮิโระ โมโร่ ประธานและซีอีโอของมาสด้า กล่าวว่า จัดหาแบตเตอรี่โดยพานาโซนิค เอเนอร์จี จะทำให้มาสด้าสามารถนำเสนอรถยนต์ไฟฟ้าที่มีเอกลักษณ์มีความสมดุลระหว่างการออกแบบ ความสะดวกสบาย และระยะทางในการขับขี่ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดมากขึ้น

โตโยต้ายืนแผนเปิดตัวBEVแม้ตลาดชะลอตัว
สำหรับโตโยต้า มอเตอร์โดยผู้นำคนใหม่ โคจิ ซาโตะ ซึ่งนั่งในตำแหน่งซีอีโอในวันที่ 1 เมษายน 2566 และประกาศนโยบายการพัฒนาในอนาคตของโตโยต้า ที่เผยให้เห็นถึงทิศทางของกลุ่มโตโยต้าที่จะตามตลาดพลังงานไฟฟ้าอย่างแข็งขัน เป้าหมายที่ประกาศไว้ คือ ภายในปี 2569 โตโยต้าจะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า 10 รุ่น และตั้งเป้ายอดขายรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 1.5 ล้านคันภายในปี 2569 อย่างไรก็ตามตามรายงานล่าสุดจากสื่อต่างประเทศ โตโยต้ากำลังพิจารณาปรับเป้าหมายการขายรถยนต์ไฟฟ้าลดลงเหลือ 1 ล้านคันในปี 2569 หรือ ลดลง 30% เมื่อเทียบกับเป้าหมายที่วางแผนไว้ก่อนหน้านี้

ยอดขายปี 2569 แม้ตัวเลขจะลดลงแต่ยังเป็นก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของกลุ่มโตโยต้าที่ต้องการขายรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งสถิติของโตโยต้าทำยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าได้เพียง 1 แสนคันในปี 2566 อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงสภาพตลาดที่รถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกชะลอการเติบโต  และคาดว่าการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของกลุ่มโตโยต้าจะผลิตและจำหน่ายได้เพียง 4 แสนคันในปี 2568 แม้ว่าเป้าหมายการผลิตและการขายจะลดลงแต่แผนการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าของโตโยต้าก็ไม่ได้ล่าช้าโดยโตโยต้าจะเปิดตัวรถ 10 รุ่นภายในปี 2569 และจะสร้างรถยนต์ไฟฟ้า 2 รุ่นใหม่ ประกอบไปด้วยรถจากแพลตฟอร์มรถยนต์ไฟฟ้า 3 รุ่นในตลาดหรูหราและรถสปอร์ตไฟฟ้า 1 รุ่น

ตามรายงานของสื่อต่างประเทศ โตโยต้าไม่ได้ยืนยันการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายที่จะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า 30 รุ่นในปี 2573 และเป้าหมายการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 1.5 ล้านคันในปี 2569 โดยระบุเพียงว่าตัวเลขเหล่านี้เป็นเพียงเป้าที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกันสื่อต่างประเทศยังชี้ให้เห็นว่ากลุ่มโตโยต้าจะเพิ่มแผนการผลิตและการเปิดตัวรุ่น PHEVอีกจำนวนมาก โตโยต้าไม่ใช่ผู้ผลิตรถยนต์เพียงรายเดียวที่ชะลอการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น วอลโว่ได้ล้มเลิกเป้าหมายที่จะเปลี่ยนไปสู่การเป็นแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้า อย่างสมบูรณ์ในปี 2573 โดย วอลโว่ เน้นไปที่รถไฮบริดพลังงานไฟฟ้า-เบนซิน PHEV แทน - ฟอร์ดเพิ่งยกเลิกแผนการเปิดตัวรถยนต์SUV ไฟฟ้า ขนาดใหญ่และเลื่อนการเปิดตัวรุ่นต่อจากรถบรรทุกไฟฟ้า F-150 Lightning ไปจนถึงปี 2027

ยุคแบตเตอรี่โซลิดสเตตกำลังมา
ดูเหมือนว่าในระยะกลางของโลกยานยนต์ไฟฟ้ากำลังมุ่งหน้าไปที่การพัฒนาแบตเตอรี่โซลิดสเตต โดยโตโยต้า มอเตอร์ ระบุว่า บริษัท กำลังวิจัยและลงทุนในแบตเตอรี่โซลิดสเตตอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะมา”เปลี่ยนเกม”โดยเน้นไปที่เวลาในการชาร์จที่เร็วขึ้นและมีระยะทางวิ่งที่ยาวขึ้นอย่างมาก เป้าหมายของโตโยต้า คือ การนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ภายในปี 2570-2571 ซึ่งอาจทำให้โตโยต้า เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมแบตเตอรี่การมุ่งเน้นไปที่ แบตเตอรี่โซลิดสเตตนี้ เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของโตโยต้า ในการสำรวจเทคโนโลยีแบตเตอรี่ทางเลือก นอกเหนือจาก”ลิเธียมไอออน”แบบดั้งเดิม
สำหรับข้อจำกัดเดิมของแบตเตอรี่โซลิดสเตต (Sodium-sulfur Battery)มีข้อดีคือ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และมีประสิทธิภาพในการเก็บพลังงานสูง จุดด้อยอยู่ตรงที่ขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก และมีราคาสูงกว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน นอกจากนี้ การผลิตและการบำรุงรักษาก็มีความซับซ้อน


 


แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

เผยสเปค เรนเจอร์ PHEV วิ่งไฟฟ้า 4 โหมดเปิดตัวกลางปีหน้า

4 ตุลาคม 2567

โตโยต้า พลิกเกมกระบะเล็งวางเครื่อง 300 ม้าในรีโว่

30 กันยายน 2567

ดีลเลอร์จีนเสี่ยงปิดกิจการ เซ่นพิษสงครามราคา

25 กันยายน 2567

เปิดสเปคไฮลักซ์ ดีเซล Hybrid 48V จัดเต็มขุมพลังใหม่พร้อมลุยไทย

25 กันยายน 2567

Mercedes-AMG CLE 53 4MATIC+ Coupé สปอร์ตคูเป้เบนซิน 6 สูบ เปิดราคาประกอบไทย 5,250,000 บาท

7 กันยายน 2567

เกรทวอลล์ ลุยแหลกแต่ วินฟาสต์ไม่ไปต่อ

3 กันยายน 2567

เอ็มจีเปิดตัว MG3+ เคราะราคาเริ่มต้น 5.59แสน 1,000 คันแรก

20 สิงหาคม 2567

ฟอร์ด เปิดจำหน่ายชุดแต่งพิเศษ ‘แอดเวนเจอร์แพ็ค’

19 สิงหาคม 2567

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว+

ยอมรับ