EN / TH

เผยสเปค เรนเจอร์ PHEV วิ่งไฟฟ้า 4 โหมดเปิดตัวกลางปีหน้า

4 ตุลาคม 2567

โตโยต้า พลิกเกมกระบะเล็งวางเครื่อง 300 ม้าในรีโว่

30 กันยายน 2567

บีวายดี ย้ำแผนรุกยุโรป ประกาศความพร้อมแสดงรถ"ปารีส มอเตอร์โชว์ 2024"

29 กันยายน 2567

เชอรี่เปิดคลังอะไหล่พร้อมส่งทั่วประเทศ 3 วันทำการ

26 กันยายน 2567

เดโก้ เตรียมส่งรถใหม่ 10 รุ่นบุกตลาดไทย

26 กันยายน 2567

ดีลเลอร์จีนเสี่ยงปิดกิจการ เซ่นพิษสงครามราคา

25 กันยายน 2567

เปิดสเปคไฮลักซ์ ดีเซล Hybrid 48V จัดเต็มขุมพลังใหม่พร้อมลุยไทย

25 กันยายน 2567

กระบะไฟฟ้า"ริดดารา"เปิดจอง 1,000 สิทธิ วันนี้

25 กันยายน 2567

ห้างจีนแบนรถยนต์ไฟฟ้าห้ามจอดชั้นใต้ดินหวั่นไฟไหม้

18 กันยายน 2567

จีลี่ตั้ง"ริดดารา"ไทยแลนด์ จัดทัพกระบะบุกไทย ต.ค.67

17 กันยายน 2567

จับตาญี่ปุ่นเคลื่อนทัพอีวีด้วยระยะวิ่ง1000 กม.

8 กันยายน 2567

Mercedes-AMG CLE 53 4MATIC+ Coupé สปอร์ตคูเป้เบนซิน 6 สูบ เปิดราคาประกอบไทย 5,250,000 บาท

7 กันยายน 2567

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า รถยนต์

เกรทวอลล์ ลุยแหลกแต่ วินฟาสต์ไม่ไปต่อ

3 กันยายน 2567| จำนวนผู้เข้าชม 196

 

 

วินฟาสต์ (Vinfast) ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าค่ายเดียวของ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ต้องเผชิญหน้าความท้าทายอย่างสุดขั้ว หลังจากปูฐานเตรียมทำตลาดในไทยก่อนตัดสินใจดีเลย์งานใหญ่เปิดแบรนด์ปลายปี ซึ่งการเปิดตลาดประเทศไทยของรถยนต์เวียนตนนาม ต้องเผชิญการแข่งขันทางด้านราคาอย่างรุนแรงจากรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีน 

แหล่งข่าวจากวงการรถยนต์ เปิดเผยกับ Massautocar ว่า วินฟาสต์ ได้ตัดสินใจดีเลย์แผนการทำตลาดโดยรายงานล่าสุดจากแหล่งข่าวจากวงการรถยนต์บอกกับเราว่า วินฟาสต์ เลื่อนการออกงานแสดงรถยนต์ปลายปีซึ่งเป็นงานที่สำคัญของวงการรถยนต์ซึ่งส่งผลให้การดำเนินงานต่อในไทยมีอนาคตที่ไม่แน่นอน แม้จะยังไม่มีการออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการพอจะประเมินได้ว่าค่ายรถยนต์สัญชาติเวียดนามอย่างวินฟาสต์ มีโอกาสสูงที่จะพับแผนธุรกิจในประเทศไทยในช่วงเวลาที่ผ่านมาวินฟาสต์ ได้เริ่มปูทางการเข้าทำตลาดนับตั้งแต่การสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร ควบคู่ไปกับการสร้างการรับรู้ในแบรนด์โดยผ่านแผนการประชาสัมพันธ์ของเอเยนซี่ยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่างค่าย โอกิลวี่และก่อนหน้านี้ได้เปิดตัวบริษัทและพาสื่อมวลชนไทยไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตที่เวียดนาม
การปูทางสู่ไทยแลนด์นั้นเป็นไปตามขั้นตอนการเข้าสู่ตลาดอย่างมีระบบการใช้ตัวแทนประสานงานสร้างภาพลักษ์ระดับโลกแสดงถึงความตั้งใจของวินฟาสต์ต่อตลาดเมืองไทยและวินฟาสต์เลือกมืออาชีพเพื่อให้เกิด ความแตกต่างจากแบรนด์ รถค่ายใหม่โดยเฉพาะรถยนต์จากจีน ซึ่งมักใช้กลยุทธ์เข้าตลาดแบบเรียบง่าย ประหยัดต้นทุนซึ่งเป็นกลยุทธ์เปิดแบรนด์ที่ไม่ซับซ้อนแต่อาศัยช่วงที่ตลาดให้ความสนใจกับเทคโนโลยีใหม่ที่นำเสนอ  

"กลยุทธ์ของวินฟาสต์ค่อนข้างดีในแง่การสร้างสรรค์แบรนด์แต่ ค่ายจีนลุยหนักแบบขายยกเข่ง การตลาดที่เกิดผิดพลาดก็แก้ไขกันกลางเวทีแบบไม่เกรงว่าจะเสียแบรนด์แต่รถจีนกลับขายได้ เพราะค่ายรถจีนได้เปรียบในเรื่องต้นทุน โดยเฉพาะการผลิตจำนวนมากรวมถึงการใช้กลยุทธ์"ขาดทุนกำไร"เพื่อเปิดตลาด โดยเน้นการสร้างประชากรรถบนนถนนเพื่อให้ คนเห็นบ่อยทำให้การขายรถคันทีสองและสามง่ายขึ้น สำหรับการยอมรับแบรนด์จีนไม่เน้นเรื่องภาพลักษณ์ มากนักแม้แต่โชว์รูมต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นโชว์รูมชั่วคราวและมีรูปแบบยังไม่สมบูรณ์มาก ในขณะที่วินฟาสต์ แม้ชื่อจะเป็นรถที่แทบไม่มีใครรู้จัก แต่ก็พยายามแทรกภาพพจน์ของประเทศแม่อย่างเวียตนาม โดยหวังว่าจะแข็งแกร่งเท่ากับจีน"  

วิเคราะห์จุดอ่อนแบรนด์

จุดอ่อนของวินฟาสต์ ในการแข่งขันในระดับโลกและในไทยนั้นค่อนข้างชัดเจนมากในแง่ของความเสียเปรียบ  ได้แก่

1.ภาพพจน์นำด้านเทคโนโลยี
วินฟาสต์ เป็นรถมาจากเวียตนาม แต่ประเทศเวียตนามยังมีภาพลักษณ์ของประเทศเป็นผู้ใช้มากกว่าผู้พัฒนาเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จากรถที่วินฟาสต์พัฒนาขึ้นเกิดจากการจัดหา เทคโนโลยีมาเพื่อประกอบรถ แนวคิดเดียวกับการประกอบรถยุคกลางที่แจ้งเกิดแบรนด์ด้วยการประกอบเทคโนโลยีที่จัดหามา ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไทยมีภาพพจน์ที่ดีกว่าในแง่อุตสาหกรรมรถยนต์ การพัฒนารถยนต์สมัยใหม่ในตลาดปัจจุบันแม้มีรถยนต์หลายยี่ห้อพัฒนาแบรนด์ภายใต้แนวคิดการจัดหานี้  แต่แบรนด์เหล่านั้นมาจากประเทศที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี หรือ มีพื้นฐานที่เข้มแข็งเกี่ยวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ เช่น จีนมีเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่ดีที่สุด ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมความแข็งแกร่งในด้านภาพพจน์สินค้ามากกว่า 

2.ต้นทุน 
วินฟาสต์ต้องดิวกับซัพพลายเออร์เกือบทั้งหมด  ตัวเองไม่ได้มีเทคโนโลยีต้นทุนย่อมควบคุมได้ยากและหากจะได้สิ่งล้ำสมัยซึ่งจำเป็นทุกครั้งสำหรับการเปลี่ยนรุ่น วินฟาสต์ต้องจ่ายเพิ่ม 
มิฉะนั้นเทคโนโลยีที่ได้รับ คงไม่สามารถแข่งขันได้ในตลาด จังเห็นได้ชัดว่า"ราคารถ"ของวินฟาสต์สูงกว่าราคารถจากจีนและออฟชั่นใหม่ๆ ก็สู้แม้แต่รถราคาถูกๆ จากจีนไม่ได้ทั้งหมดคือกับดักต้นทุน

3.หน้าตา
หน้าตา"ของวินฟาสต์ ดูเหมือนตกยุคไปหนึ่งเจนเนอเรชั่นเทียบกับรถยนต์ไฟฟ้าในยุคเดียวกัน และในช่วงที่รถยังไม่ทันได้เปิดตลาดบางโมเดล กลับเข้าไทม์โซนที่ได้เวลาเปลี่ยนโฉม หากต้องการออกแบบรถใหม่ หน้าตาใหม่"คือ ต้นทุนที่ต้องจ่ายเช่นกัน เพราะการเปลี่ยนแต่ละครั้งนอกจาก ค่าพัฒนารถ เครื่องมือประกอบรถ ต้องซื้อใหม่ให้สอดคล้องกับวิศวกรรมสมัยของรถ 
"การที่วินฟาสต์เริ่มต้นในตลาดหลายๆ แห่งแต่ยังทำยอดขายไม่ได้ตามเป้าหมาย ที่วางไว้  การเปลี่ยน Look ของหน้าตาต้องเลื่อนออกไป ยิ่งปรับเปลี่ยนช้า ยิ่งขายน้อย"

4.แบรนด์เกิดใหม่ยังไม่แข็งพอ
 สำหรับวินฟาสต์ (
VinFast) เป็นบริษัทในเครือของวินกรุ๊ป ( Vingroup) ก่อตั้งขึ้นในปี 2017 หรือเมื่อ8ปีที่แล้ว และเริ่มพัฒนารถจริงจังในปี2019 หรือเมื่อ 6 ปีที่ผ่านมาโดยมีโรงงานผลิตรถยนต์ที่พร้อมรองรับการผลิตที่ซับซ้อนหลากหลายขนาดได้ ซึ่งใช้ระบบการผลิตอัตโนมัติสูงถึง 90% โรงงานตั้งอยู่ที่เมืองไฮฟอง ประเทศเวียดนาม การที่วินฟาสต์เพิ่งเริ่มสร้างชื่อเพียง 6 ปี ถือว่าใหม่มากสำหรับ อุตสาหกรรมยานยนต์ในขณะที่อุตสาหกรรมรถทั่วโลกกำลังเปลี่ยนถ่ายดังนั้น แบรนด์ที่ไม่แข็งแกร่งจึงไม่สามารถทนทานต่อแรงเสียดทานจากแบรนด์เดิมและแบรนด์ใหม่ๆ จากจีนที่ออกสู่ตลาดทุกวัน ขนาดแบรนด์ใหญ่ๆของญี่ปุ่นยังลำบาก แบรนด์ใหม่ยิ่งยากกว่าแน่นอน

ก่อนหน้านี้วินฟาสต์พยายามสร้างการรับรู้ในไทยเช่น  สื่อสารเรื่องการสร้างเครือข่ายตัวแทนจำหน่ายที่ครอบคลุมในประเทศไทย โดยวางแผนเปิดโชว์รูมประมาณ 30 แห่งภายในปี 2567 นี้ เริ่มต้นจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล จากนั้นจะขยายไปทั่วประเทศ นอกจากนั้น ยังเตรียมบริการจัดส่งอะไหล่ด่วน โดยจัดส่งในกรุงเทพฯ ภายใน 24 ชั่วโมง และจัดส่งในพื้นที่อื่น ๆ ภายใน 3 วัน และวินฟาสต์ได้ว่าจ้าง คิม ยูจอง ซูเปอร์สตาร์ของเอเชียชาวเกาหลีใต้ มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของรถรุ่น VF 5 แต่ทุกอย่างดูไม่ค่อยมีกระแสตอบรับ

5.หลุดเป้าหมายไทม์ไลน์
วินฟาสต์นั้นเคลื่อนไหวไม่ทันตลาดไทย เพราะ การแข่งขันที่รุนแรง เดิมนั้นวินฟาสต์กำหนดแผนเปิดตลาดไว้ดังนี้ รถที่จะออกจำหน่ายภายในไทยปี 2567 นี้ ประกอบด้วย รุ่น VF e34 ในเดือนมิถุนายน 2567 รุ่น VF 5 ในเดือนสิงหาคม หรือกันยายน 2567 และรุ่น VF 6 และ VF 7 ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งเป็นกลยุทธ์เชิงรุกที่กำหนดมาเพื่อแข่งขันกับแบรนด์ EV ของจีนที่เริ่มติดตลาดประเทศไทย 

 

เกรทวอลล์ลดราคายับ
ในขณะที่ตลาดรถยนต์ไทยยังคงอยู่ในสภาพอ่อนตัวทำให้ ค่ายรถต้องใช้กลยุทธ์ราคาเพื่อลดสต็อคและรักษาส่วนแบ่งตลาดโดยก่อนหน้านี้ BYD จากจีนทำการลดราคาขายปลีกลง ประมาณ 20% ล่าสุด ค่าย เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย) ผู้จำหน่ายรถเกรทวอลล์จากจีนประกาศลดราคาขายปลีกลงระหว่าง 10-22% สำหรับผู้ซื้อรถตั้งแต่วันที่ 1-30 กันยายน 2567 ภายใต้  แคมเปญ “The GREAT DEAL  โดยลดราคา  GWM New ORA Good Cat ทั้ง 3 รุ่นย่อยและ GWM HAVAL H6  2 รุ่นย่อย GWM HAVAL JOLION 1 รุ่นย่อยรวมรถทั้งหมด 6 รุ่นย่อย โดยมีส่วนลดเงินสดระหว่าง 100,000-450,000 บาท ซึ่งสงครามราคานี้สร้างแรกกดดันอย่างมาก สำหรับผู้มาใหม่ในตลาดอย่างวินฟาสต์

 

ในขณะที่รายละเอียดการลดราคาล่าสุดของเกรทวอลล์มีดังนี้ 

 ORA Good Cat รุ่น PRO จาก 799,000 บาท เหลือเพียง 629,000 บาท (ส่วนลด 170,000 บาท) หรือคิดเป็นส่วนลด 21.28%
 ORA Good Cat รุ่น ULTRA จาก 899,000 บาท เหลือเพียง 729,000 บาท (ส่วนลด 170,000 บาท) หรือคิดเป็นส่วนลด 18.91%
 ORA Good Cat รุ่น GT จาก 1,099,000 บาท เหลือเพียง 859,000 บาท (ส่วนลด 240,000 บาท) หรือคิดเป็นส่วนลด 21.84%
 GWM HAVAL H6 Plug-in Hybrid SUV จาก 1,699,000 บาท เหลือ  1,249,000 บาท (ส่วนลด 450,000 บาท) หรือคิดเป็นส่วนลด 21.28%

 GWM HAVAL H6 Hybrid SUV รุ่น ULTRA จาก 1,349,000 บาท เหลือ 1,099,000 บาท (ส่วนลด 250,000 บาท) หรือคิดเป็นส่วนลด 18.58%  
 GWM HAVAL JOLION Hybrid SUV รุ่น ULTRA จากราคา 999,000 บาท เหลือ 899,000 บาท (ส่วนลด 100,000 บาท) หรือคิดเป็นส่วนลด 10.01% 


ทั้งนี้สงครามราคาในตลาดไทยเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้วินฟาสต์ดีเลย์แผนซึ่งในเอกสารของวินฟาสต์ที่เคยเผยแพร่ต่อสื่อมวลชนที่เผยแพร่เมื่อ 2 สิงหาคม 2567 ให้ทัศนะในเรื่อง ผลกระทบของสงครามราคาในตลาดรถยนต์ไว้ด้วยโดยมีรายละเอียดดังนี้

เฉือนราคา ประโยชน์ของผู้บริโภคหรือเนื้อร้ายของแวดวงธุรกิจ?
สงครามราคาแม้จะดูเหมือนเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่สามารถซื้อสินค้าได้ในราคาที่ต่ำกว่า แต่มักจะปกปิดความสูญเสียบางอย่างไว้ซึ่งจะส่งผลทางลบต่อผู้บริโภคในระยะยาว แม้ว่าผลิตภัณฑ์ลดราคามักมีเสน่ห์ดึงดูดใจผู้ซื้อได้เสมอแต่หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนมักจะพบว่าผลประโยชน์ที่ได้รับในระยะสั้นจะตามมาด้วยผลเสียในระยะยาวสำหรับผู้บริโภค การที่ผู้ผลิตพยายามลดราคาสินค้าเพื่อดึงดูดลูกค้า ส่งผลให้อัตรากำไรลดลง จึงจำเป็นต้องตัดต้นทุนบางอย่างเพื่อความ อยู่รอด คุณภาพสินค้าอาจน้อยลง มาตรฐานการบริการลูกค้าอาจด้อยลง และมาตรฐานความปลอดภัยบางอย่าง อาจถูกมองข้าม ผลิตภัณฑ์ที่เคยน่าดึงดูดใจเนื่องจากราคาเข้าถึงได้ง่ายอาจกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีใครต้องการเพราะคุณค่าลดน้อยถอยลง เมื่อผู้ผลิตต้องห้ำหั่นกันด้วยการกดราคาสินค้าให้ได้ต่ำที่สุด นวัตกรรมจะกลายเป็นส่วนเกิน  งบประมาณการวิจัยและพัฒนาซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาทางเทคโนโลยีจะถูกตัดออกเพื่อผลประโยชน์ในระยะสั้นด้านราคา ผลที่ตามมาคือ ผลิตภัณฑ์ ที่ขาดความล้ำหน้า และทางเลือกอันจำกัดภายใต้ภาวะสงครามราคา ภาพรวมของอุตสาหกรรมอาจได้รับผลกระทบเช่นกัน ผู้เล่นที่อ่อนแอกว่าอาจไม่สามารถไปต่อได้ ส่งผลให้อัตราการแข่งขันลดลง และในระยะยาวสินค้าอาจกลับมีราคาสูงขึ้นไปอีกและตลาดก็อาจจะหดตัวลงส่งผลให้ผู้บริโภคมีทางเลือกและอำนาจต่อรองน้อยลง

สิ่งสำคัญคือ ผู้บริโภคต้องเข้าใจว่าราคาต่ำสุดไม่ได้หมายถึงคุ้มค่าคุ้มราคาที่สุดเสมอไป สำหรับวินฟาสต์ การมุ่งให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อมั่นและการนำเสนอบริการที่มีมูลค่าเพิ่มคือทางรอดของธุรกิจในอนาคต
วินฟาสต์ต้องการพิสูจน์ให้เห็นว่า ราคาเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในสมการแห่งความพึงพอใจของผู้บริโภคอันซับซ้อน ด้วยการมุ่งเน้นไปที่การมัดใจลูกค้า การมอบประสบการณ์เฉพาะบุคคล และมาตรฐานคุณภาพที่เหนือกว่า ทั้งนี้วินฟาสต์ ยังระบุด้วยว่า วินฟาสต์จะแข่งขันด้วยมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นวิถีของวินฟาสต์ เช่น  การพัฒนารถยนต์ที่มีรูปลักษณ์สวยงามและอัดแน่นด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำ  การมอบบริการหลังการขายที่เป็นเลิศ เช่น การรับประกันระบบส่งกำลังเป็นเวลา 7 -10 ปี / 160,000 - 200,000 กม. และการรับประกันแบตเตอรี่เป็นเวลา 8 - 10 ปี เป็นต้น
 

แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

เผยสเปค เรนเจอร์ PHEV วิ่งไฟฟ้า 4 โหมดเปิดตัวกลางปีหน้า

4 ตุลาคม 2567

โตโยต้า พลิกเกมกระบะเล็งวางเครื่อง 300 ม้าในรีโว่

30 กันยายน 2567

ดีลเลอร์จีนเสี่ยงปิดกิจการ เซ่นพิษสงครามราคา

25 กันยายน 2567

เปิดสเปคไฮลักซ์ ดีเซล Hybrid 48V จัดเต็มขุมพลังใหม่พร้อมลุยไทย

25 กันยายน 2567

จับตาญี่ปุ่นเคลื่อนทัพอีวีด้วยระยะวิ่ง1000 กม.

8 กันยายน 2567

Mercedes-AMG CLE 53 4MATIC+ Coupé สปอร์ตคูเป้เบนซิน 6 สูบ เปิดราคาประกอบไทย 5,250,000 บาท

7 กันยายน 2567

เอ็มจีเปิดตัว MG3+ เคราะราคาเริ่มต้น 5.59แสน 1,000 คันแรก

20 สิงหาคม 2567

ฟอร์ด เปิดจำหน่ายชุดแต่งพิเศษ ‘แอดเวนเจอร์แพ็ค’

19 สิงหาคม 2567

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว+

ยอมรับ